ReadyPlanet.com


ผ่อนรถแต่ชื่อไม่ได้เป็นผู้ครอบครอง


 ดิฉันผ่อนรถ ซึ่งมีชื่อเพื่อนเป็นผู้ครอบครอง แค่ใช้ชื่อผู้ถือครองแทนเท่านั้น ต่อมาภายหลังเค้าต้องการจะซื้้อรถเอง แต่ด้วยเหตุผลบางประการที่ไม่สามารถไปทำการเปลี่ยนชื่อรถได้ ทำให้เพื่อนไปทำการแจ้งความข้อหายักยอกทรัพย์ ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะ 



ผู้ตั้งกระทู้ นัน :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-29 18:35:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2209929)

ควรต่อสู้คดีไปตามความจริงครับ เพราะคุณไม่ได้ยักยอกทรัพย์ตามที่เขากล่าวหาครับ ติดต่อทนายความต่อสู้คดีได้ครับ

กรณีดังกล่าวไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรอกครับเพราะทางผู้ให้เช่าซื้อส่งมอบการครอบครองให้ทางคุณ

การยักยอกต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไว้เป็นของตน

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-27 12:24:13


ความคิดเห็นที่ 2 (2209941)

 ยืมรถยนต์จากผู้เช่าซื้อ มาไว้ในครอบครองแล้วร่วมกันเบียดบังไปเป็นของจำเลยและพวกโดยทุจริต เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิดผู้เช่าซื้อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เช่าซื้อได้รับความเสียหายโดยตรง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3254/2552

 พนักงานอัยการจังหวัดแพร่          โจทก์
 

          จำเลยยักยอกรถที่เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ดังนั้น แม้ผู้เช่าซื้อจะแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อก็ตาม ก็ถือได้ว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้เสียหายเองด้วยเช่นกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในฐานะที่เป็นผู้เสียหายด้วยคนหนึ่งได้
________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 352 ให้จำเลยคืนรถยนต์คันที่จำเลยร่วมกันยักยอกไปให้แก่ผู้เสียหายหรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 330,000 บาท แก่ผู้เสียหาย

          จำเลยให้การรับสารภาพ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 352 วรรคแรก จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้จำเลยคืนรถยนต์คันที่จำเลยร่วมกันยักยอกไปแก่ผู้เสียหาย หรือใช้ราคาแทนเป็นเงินจำนวน 330,000 บาท แก่ผู้เสียหาย

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
          ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา นายประเวศน์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์และขอถอนฟ้อง

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า   นางภัทราพรพวกของจำเลยยืมรถยนต์หมายเลขทะเบียน บต 873 สุโขทัย ของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อไปจากผู้เช่าซื้อ มาไว้ในครอบครองของนางภัทราพรและจำเลย แล้วร่วมกันเบียดบังไปเป็นของจำเลยและนางภัทราพรโดยทุจริต เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิดผู้เช่าซื้อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เช่าซื้อได้รับความเสียหายโดยตรง    แม้ผู้เช่าซื้อจะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายก็ตาม ก็ถือได้ว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เช่าซื้อเป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้และย่อมมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกตามฟ้องเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)

          จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ


( พิทักษ์ คงจันทร์ - ตรีวุฒิ สาขากร - เฉลียว พลวิเศษ )

 ศาลจังหวัดแพร่ - นางศิริพร ลีฬหะบำรุง

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 - นางณณัฏฐ์ ธีราทรง
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-27 13:02:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล