ReadyPlanet.com


ทอมฟ้องทวงเงินที่เคยใช้ด้วยกัน? ได้มั้ยครับ...



สวัสดีครับพี่ทนาย

  ผมมีเรื่องอยากจะขอคำปรึกษาครับคือว่ามันเป็นเรื่องของแฟนผมครับ
คือว่าก่อนที่แฟนของผมจะคบกับผมนั้นนะครับเค้าเคยคบอยู่กับทอมครับซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันครับเงินทองเค้าก็ใช้ด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นเงินส่งกลับบ้านให้แม่ของแฟนผม เงินสร้างบ้าน (สร้างยังไม่เสร็จ) และบ้างทีก็ไปกู้มาพวกบัตรเครดิตนะครับ
จนกระทั่งเค้าจะเลิกกัน(พ่อ แม่ ใครก็คงไม่อยากได้ลูกเขยเป็นทอมหรอก...ไช่ไม่ครับ) แฟนผมกับแม่ของเค้าก็อยากให้
ย้ายออกมา แต่ทอมเค้าไม่ยอมอ้างทวงเงินที่เคยใช้ของเค้า ซึ่งที่จริงแล้วต่างคนต่างทำงานด้วยกันทั้คู่... ทอมเค้าเลยบอกว่า
ถ้าจะย้ายออกให้ใช้หนี้เงินที่เคยใช้ร่วมกันมาแต่แฟนผมเค้าไม่มีเงิน ทอมก็เลยทำหนังสือ " รับสภาพหนี้" ด้วยความที่อยาก
ย้ายออกมาแฟนผมก็เซ็นเป็นผู้รับสภาพหนี้  มิหน่ำซ้ำแม่ของแฟนผมยังเซ็นเป็นพยานอีก 
            สัญญามีย่อดังนี้ครับ
1. ลูกหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้ เป็นเงิน 141,060 บาท
1.1 ค่าใช้จ่ายจากการกู้ยืมจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา  30000
1.2 ค่าใช้จ่ายจากการยืมจากบัตรอิออน  5000
1.3 เงินยืมจากเจ้าหนี้ 106060
       แล้วก็ตามด้วยเงื่อนไขการชำระโดยแบ่งเป็นสามงวดครับงวดแรก 35000 บาท งวดที่ 2 50000 งวดที่ 3 56060 บาท
รายระเอียดสัญญาย่อ ๆ ก็ประมาณนี้หละครับ แต่ว่าแฟนผมจ่ายงวดแรกเค้าไปแล้ว 25000 ครับ
แต่ตอนนี้แฟนผมเค้าไม่มีเงิน(ตอนนี้คบกับผมแล้ว)จ่ายเค้าเลย(ทอม)
     ให้ทนายโทรมาทวง,ส่งหนังสือไปที่บ้านแต่ไม่ไช่หมายศาลนะครับเป็นหนังสือจากทนายนะครับ ผมก็แปลกใจเหมือนกัน
ว่าในเมื่อสัญญาเค้าก็มีทำไมไม่ไปฟ้องศาลซะที
             ท้ายนี้ผมขอคำปรึกษาจากพี่ทนายหน่อยนะครับเพราะผมเห็นแฟนผมเครียดแล้วผมไม่สบายใจเลยครับ
                                                                                   


                                                                                       ด้วยความเคารพครับ
                                                                                           ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ภาคภูมิ เกียงภา :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-31 23:27:33


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2223263)

ผมอ่านจบแล้วยังไม่รู้ว่าจะปรึกษาเรื่องอะไรครับ ไม่เห็นมีคำถามเลยครับ แต่พอสรุปได้ว่า สัญญารับสภาพหนี้ฟ้องร้องได้หรือไม่ ตอบว่าฟ้องได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-06 17:36:13


ความคิดเห็นที่ 2 (2223269)

ฟ้องให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้
  
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6289/2552
 

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ ทั้งได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชำระหนี้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระนี้จำเลยที่ 2 ยอมโอนที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองบิดพลิ้วก็ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดิน ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้ขับไล่ก็มิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนเพียง 200,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จเป็นค่าเสียหายในอนาคต ซึ่งไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
________________________________

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท หากจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ยอมโอนที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว

          จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำสัญญากู้และไม่ได้รับเงินกู้จากโจทก์ จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้เนื่องจากถูกข่มขู่ หนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 8,000 บาท
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นให้ยก ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 10,000 บาท สำหรับค่าขึ้นศาลให้จำเลยทั้งสองใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์

          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ ทั้งได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชำระหนี้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ยอมโอนที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองบิดพลิ้วก็ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยทั้งสองต่างให้การต่อสู้ทำนองเดียวกันว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำสัญญากู้และไม่เคยรับเงินกู้จากโจทก์ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินก็มิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แต่เป็นเรื่องที่คู่ความมีข้อพิพาทโต้เถียงกันเกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญากู้และตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแต่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนเพียง 200,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยนัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จเป็นค่าเสียหายในอนาคตซึ่งไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า แม้สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยท่ 1 มีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์และรับเงินไปแล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินกู้จากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้และหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ล้วนเป็นการโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมาก็เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้”

          พิพากษายกฎีกาของจำเลยทั้งสอง คืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากนี้ให้เป็นพับ

( กำพล ภู่สุดแสวง - สถิตย์ ทาวุฒิ - พงษ์ศักดิ์ วีระเสถียร )

 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-06 17:41:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล