ReadyPlanet.com


ขอปรึกษาครับ(พินัยกรรม)


***ขอปรึกษาท่านทนาย หน่อยนะครับ     **คือ พ่อ-แม่ แต่งงานกันมีบุตร 3 คน โดยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินของ พ่อตา-แม่ยาย (ท่านยินยอมให้ปลูก ) และได้เลี้ยงดูครอบครัวมาเป็นเวลานานร่วม 50 ปี (ลูกทั้ง 4 ก็เกิดและโตจากบ้านหลังนี้ )   ต่อมา  ตา+ ยาย ได้เสียชีวิตลง และพี่ชายของแม่ เป็นผู้รับจัดการมรดก โดยยกที่ดินแปลงที่ พ่อ+แม่ ปลูกบ้านอยู่ ให้กับน้องสาวของผมทั้งหมด  ซึ่งก่อนหน้านั้น พ่อ+แม่  และลูก ๆ (หมายถึงพวกผม ) ได้ตกลงกันภายในครอบครัวว่าให้น้องสาว(ตอนนั้นยังโสต) รับไว้ก่อนแล้วค่อยมาแบ่งกันภายหลัง (ไม่มีหลักฐานการบันทึกเพียงแต่พูดด้วยวาจา) (  ลืมบอกไปว่า ตา+ยาย มีบุตรด้วยกัน 4 คน แม่ผมเป็นคนที่ 2 )  ต่อมาน้องสาวผู้ที่ได้มอบที่ดิน ได้แต่งงาน และไปอยู่บ้านอื่นกับสามีเขา ซึ่งไม่ได้อยู่บ้านหลังนี้ราว 10 ปีแล้ว ( คงมีแต่รายชื่อครอบครองที่ดิน)  และต่อมา พ่อ +แม่ ได้เสียชีวิตลง ก่อนตายท่านได้ทำพินัยกรรมเมืองไว้ให้กับผม และเวลาต่อมาน้องสาวผู้ถือครอบครองที่ดิน ได้มาฟ้องขับไล่ผม และให้รื้อถอนบ้านหลังดังกล่าวออกจากที่ดินของเขาไป      **อยากถามว่า เขามีสิทธิ์ขับไล่และให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของเขาใหม๊ และ ผมจะมีส่วนสู้คดีเพื่อครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องจาก พ่อ+แม่ ตามพินัยกรรมได้หรือใหม๊  และจะมีส่วนแบ่งที่ดินให้เป็นของผมด้วยได้หรือไม่  อย่างไร  ช่วยหน่อยน่ะครับ  ทนาย



ผู้ตั้งกระทู้ ชาติชัย :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-11 14:19:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2215175)

การที่พ่อ+แม่นำที่ดินที่มีชื่อน้องสาวคุณไปทำพินัยกรรม ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาว่า พ่อ+แม่ ได้กรรมสิทธิในที่ดินนั้นแล้วนั้น จึงเป็นการนำทรัพย์สินที่ตนเองไม่มีสิทธิที่จะทำพินัยกรรมไปทำพินัยกรรมจึงไม่ผูกพันน้องสาวเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

สำหรับการอ้างการครอบครองปรปักษ์ก็ต้องได้ความว่าครองครองที่ดินดังกล่าวโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาอย่างเป็นเจ้าของเกิน 10 ปี การอยู่ในที่ดินของพ่อแม่ตามพฤติการณ์ที่เล่ามานั้น น่าจะเป็นการอยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิของน้องสาวมากกว่าซึ่งก็เป็นการยากที่จะชี้ขาดคงต้องมีพยานหลักฐานประกอบอีกมาก

หากได้ความว่า พ่อ+แม่ อยู่ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว การนับระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่องสามารถกระทำได้ครับ

มาตรา 1373 ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-09-11 18:31:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล