ReadyPlanet.com


อยากถามเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ของสามีที่เสียชีวิต


ภรรยาออกจากงาน และได้เงินเกษียณก่อนอายุ และนำเงินก้อนนี้มาซื้อทาวเฮ้าส์ชื่อของตนเอง 

ต่อมา สามีเสียชีวิต และมีหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หลังจากนั้นเจ้าหนี้มีคำฟ้องภรรยาในฐานะคู่สมรส 
คำถาม - เจ้าหนี้มีสิทธิ์บังคับคดีเอาทาวเฮ้าส์ของภรรยาไปได้หรือไม่ อย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ ภรรยาผู้ตาย :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-14 22:56:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2225448)

เงินเกษียนก่อนอายุได้มาในระหว่างสมรสและก่อนที่สามีจะเสียชีวิต จึงเป็นสินสมรสที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ครึ่งหนึ่ง เจ้าหนี้ฟ้องคู่สมรสในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินทุกชนิดที่ผู้ตายเป็นเจ้าของ รวมถึงบ้านทาวเฮ้าส์ครึ่งหนึ่งด้วยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-15 14:31:06


ความคิดเห็นที่ 2 (2225449)

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 มีบุตรด้วยกัน 2 คน จำเลยทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ส่วนโจทก์เป็นแม่บ้าน ต่อมาปี 2526 โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ ปี 2544 จำเลยลาออกจากการไฟฟ้านครหลวงและได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวงจำนวน 1,020,000 บาท เงินชดเชย 6 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 172,890 บาท เงินตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออกจากโครงการร่วมใจจากการไฟฟ้านครหลวง 30 เท่าของเงินเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 864,450 บาท เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด จำนวน 186,000 บาท เงินโบนัส 1 เดือนจำนวน 28,815 บาท รวมเป็นเงิน 2,272,155 บาท ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่าเงินพิพาทที่จำเลยได้รับเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์และเงินโบนัส รวมเป็นเงิน 2,272,155 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทดังกล่าวร่วมกับจำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3392/2548

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-15 14:32:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล