ReadyPlanet.com


เมียน้อยพ่อจ้องจะหุบสมบัติพ่อเป็นของตัวเองเพียงคนเดียว


 ช่วยตอบผมด้วยครับ

ผมเป็นลูกเมียหลวงซึ่งแม่กับพ่อผมไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วพ่อกับแม่ผมก็แยกกันอยู่โดยผมอยู่กับพ่อ ต่อมาพ่อมีเมียใหม่แล้วได้จดทะเบียนสมรสกัน(เหมือนโดนเมียน้อยบังคับจด) ซึ่งถ้าในกรณีนี้ถ้าพ่อผมเสียชีวิตผมจะได้มรดกเพ่อไหมครับ แล้วเมียน้อยที่จดทะเบียนสมรสจะมีสิทธิรับมรดกไหม เพราะมรดกแทบทุกชิ้นพ่อผมสร้างคนเดียว เมียน้อยไม่มีส่วนร่วมกันสร้าง

 

ช่วยบอกผมด้วยครับ เพราะตอนนี้ ของทุกอย่างที่เป็นของพ่อผม ผมแตะต้องไม่ได้เลย เมียน้อยพ่อคอยยุให้พ่อห้ามผมตลอด



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกเมียหลวง :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-14 11:10:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3740391)

กฎหมายบัญญัติให้ทรัพย์สินของคนตายตกทอดได้แก่ทายาท แต่การตกทอดแก่ทายาทมีได้ 2 ช่องทางคือตกทอดโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือตกทอดโดยเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้ไว้ก่อนตาย

ตามที่เล่ามาคุณเป็นบุตรของภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่โดยพฤติการณ์บิดาของคุณรับรอง หรือยอมรับว่าเป็นบุตร เนื่องจากอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาให้เรียกว่า "พ่อ" คุณจึงเป็นบุตรนอกฏหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว กฎหมายให้ถือว่าคุณเป็นผู้สืบสันดาน มีสิทธิรับมรดกเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนมารดาของคุณไม่ได้จดทะเบียนสมรสจึงไม่มีความสัมพันธ์ในทางกฎหมายจึงไม่ถือว่าเป็นทายาทที่จะรับมรดกได้ คำถามว่า เมื่อพ่อคุณเสียชีวิต คุณมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อหรือไม่?  และภรรยาน้อยที่จดทะเบียนสมรสมีสิทธิได้รับมรดกพ่อหรือไม่?

แน่นอนว่าคุณเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยว่าเป็นบุตรจึงมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อ ส่วนภรรยาน้อยเมื่อได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายย่อมเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย และมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อคุณได้ครับ สำหรับทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายนั้นมีลำดับก่อนหลังตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 1629 กรณีที่ผู้ตายยังมีบิดา มารดา ยังมีชีวิตอยู่ กฎหมายให้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม มาตรา 1630 วรรคสอง ส่วนคู่สมรสหากคุณซึ่งเป็นบุตรมีชีวิตอยู่ ให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม มาตรา 1635

คำตอบข้างต้นเป็นกรณีที่เจ้ามรดก หรือบิดาคุณไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะก็ให้ทายาทได้รับสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้

มาตรา 1599  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

มาตรา 1603  กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

มาตรา 1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน
(2)  บิดามารดา
(3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
(6)  ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1630  ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา 1635  ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1)  ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

 

การรับรองว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายนั้นทำให้บุตรเกิดสิทธิเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2529)

 

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ในทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 บัญญัติว่า "ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน



 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-11-27 16:35:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล