ReadyPlanet.com


สอบถามการจดทะเบียนรับรองบุตร


ผมมีบุตรอายุ 2 เดือนกับภรรยาชาวกัมพูชา เข้ามาถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ควรทำอย่างไรดี คือผมมีทะเบียนสมรสกับภรรยาคนเก่าแต่ไม่ได้หย่ากัน ควรทำอย่างไรดีครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง



ผู้ตั้งกระทู้ สมชาย :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-11 13:11:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3735327)

ตามข้อเท็จจริงของคุณที่บอกว่าคุณมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ต่อมาได้เกิดบุตรกับหญิงชาวกัมพูชาซึ่งเป็นคนต่างด้าว เด็กที่เกิดมากับหญิงชาวกัมพูชาจึงเป็นบุตรนอกกฎหมายของคุณ ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ มาตรา 7 ให้บุคคลที่เกิดโดยบิดามีสัญชาติไทยหรือเด็กที่เกิดจากบิดาที่มีสัญชาติไทยได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ตามกฎหมายดังกล่าว บิดาของเด็กต้องเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ในกรณีของคุณเด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นเท่านั้น และตาม มาตรา 1547 บอกว่า เด็กที่เกิดจากบิดา มารดา ที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ 3 วิธี คือ 1. บิดา มารดาสมรสกันในภายหลัง  2. บิดาจดทะเบียนรับเด็กนั้นเป็นบุตร  3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้นกรณีของคุณไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสมรสกับมารดาเด็กได้ก็คงต้องจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร หรือให้ศาลมีคำสั่งก็ได้ การจดทะเบียนรับรองบุตร หรือจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร มีเงื่อนไขว่า มารดาเด็ก และตัวเด็กจะต้องให้ความยินยอมด้วย เมื่อบุตรของคุณมีอายุเพียง 2 เดือนจึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ความยินยอมได้ ดังนั้นจึงต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จดทะเบียนรับรองบุตรได้เท่านั้น

สรุป-  ให้คุณไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยยื่่นคำร้องต่อศาล เมื่อนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วย่อมมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิด บุตรของคุณก็ได้สัญชาติไทยแล้วครับ

 

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย**
(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิวรรคหนึ่ง
* ความเดิมถูกยกเลิกและให้ใช้ความที่พิมพ์ไว้แทน โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
**บทบัญญัติมาตรา 7

(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยเพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นไป)
(1) ได้ความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
(2) เป็นบุตรหรือภริยาของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย
(3) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้การสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาติให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
*มาตรา 7 ทวิ เพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

*บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่ง อาจได้สัญชาติไทยได้ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้รัฐมนตรีจะสั่งให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะรายก็ได้ เพิ่มเติมโดยมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับตั่งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นไป)

ให้ถือว่าผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เว้นแต่จะมีการสั่งเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

มาตรา 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-11-15 11:23:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล