ReadyPlanet.com


บิดาทำนิติกรรมขายที่ดิน แก่บุตรชาย เป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่


บิดา ได้เรียกบุตร 4 คน มารับฟังเรื่องการโอนที่ดินเนื้อที่ 37 ไร่ ให้กับ บุตรชายคนโต และ แจ้งบอกกล่าวให้บุตรชายคนโต แบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ ให้กับน้องชายคนเล็ก  ซึ่งแจ้งบอกกล่าวบุตรทั้ง 4 คน แต่ไม่ได้มีใครคัดค้าน เพราะเป็นความประสงค์ของบิดา   ภายหลังบุตรชายคนโต ได้ไปติดต่อทำนิติกรรมซื้อขายที่กรมที่ดิน โดยเจ้าของทรัพย์ไม่ได้เดินทางไปที่กรมที่ดินด้วย เนื่องจากพิการ ไม่สามารถเดินทางไปได้  และ พี่น้องอีก 3 คน ไม่มีใครรับทราบการทำนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดิน สามารถทำนิติกรรมดังกล่าวจนเสร็จสิ้น  จึงเรียนสอบถามว่าการนิติกรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ และเป็นโมฆะหรือไม่  หากจะดำเนินการคดีทางแพ่งเพื่อทวงสิทธิ ตามความยุติกรรม สามารถทำได้ และไม่โอกาสชนะคดีความหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ คนโลภมาก :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-01 21:35:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2258587)

เป็นการจำหน่ายทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต ย่อมเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน ข้อตกลงด้วยวาจาคงยากต่อการพิสูจน์ ไม่ถือว่าเป็นนิติกรรมอำพราง และไม่เป็นโมฆะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-06 20:32:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล