ReadyPlanet.com


ทำไมชื่อผู้ถูกฟ้องร้องร่วมจึงหายไป


เนื่องจากพ่อถูกฟ้องร้องถูกยึดรถจากทางบริษัท ซื่อมี

พ่อ  ผู้ซื่อ เป็นจำเลยที่ 1 

พี่สาว ผู้คำที่ 1 เป็นจำเลยที่ 2

พี่เขย  ผู้คำที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3

สามี  ผู้คำที่ 3 เป็นจำเลยที่ 4

ศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้ จำเลยชดใช้ตามกฎหมาย  จากนั้นพี่สาวบอกว่าจะไปยื่นอุทรณ์ กับศาลอีกครั้งเพื่อขอลดจำนวนเงินที่จะใช้คืนให้บริษัท  แต่ปัจจุบันมีหนังสือให้ชำระเงินตามจำนวนเพราะศาลได้ตัดสินไปแล้วแต่ทางจำเลยยังไม่ติดต่อเพื่อชำระคืน

หนังสือที่ทวงถามออกจากบริษัทตัวแทนเรียกเก็บหนี้ โดยมีเพียงชื่อของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เท่านั้น หนังสือได้ออกมา 2 ครั้งแล้ว (ครั้งที่ 2 จดหมายลงวันที่ 24 พ.ค. 2555)และแจ้งว่าให้ติดต่อกลับภายใน 7 วัน 

จึงเรียนถามดังนี้

1.ถ้าทางจำเลยไปขอยื่นอุทรณ์แล้วยังจะมีหนังสือทวงหนี้ออกมาด้วยหรือเปล่า

2. ทำไมจึงมีชื่อ แค่จำเลยที่ 1 กับ จำเลยที่4  แล้วจำเลยที่ 2 กับ 3 หายไปไหน

  (จำเลยที่ 4 ไม่เคยไปขึ้น ศาล  แต่เป็นตัวแทนไปแทน)

3. ถ้าในกรณีนี้จะมีการยึดทรัพย์หรือไม่

รบกวนช่วยตอบด้วยคะ เพราะไม่มีใครรู้เรื่อง  ที่สำคัญ พี่สาวกับพี่เขยไม่ยอมบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคดีเลย  ไม่ให้เบอร์ทนาย  บอกแต่ว่ายื่นอุทรณ์ไปแล้ว ที่มีหนังสืออกมาเพราะบริษัทรับทวงหนี้ทำตามหน้าที่เท่านั้น

ขอแสดงความนับถือ



ผู้ตั้งกระทู้ อัญธิกา :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-02 13:01:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2282466)

 1.ถ้าทางจำเลยไปขอยื่นอุทรณ์แล้วยังจะมีหนังสือทวงหนี้ออกมาด้วยหรือเปล่า

ตอบ - กฎหมายบอกว่า การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี คือแม้จะอุทธรณ์ก็บังคับคดีได้ แต่ในทางปฏิบัติเมื่อมีการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ส่วนใหญ่จำเลยที่อุทธรณ์ก็จะขอทุเลาการบังคับคดี ส่วนศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะในบางคดีถ้าศาลเห็นว่าหากให้โจทก์บังคับคดีไปแล้วอาจเกิดผลเสียหายหากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชนะคดี แต่อย่างไรก็ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องการทุเลาการบังคับคดีนั้น ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อประกันความเสียหายให้โจทก์ หากนำเงินมาวางตามคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้ว ก็จะให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ก่อน รอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป แต่หากว่าจำเลยไม่นำเงินมาวางศาล ก็ให้โจทก์ หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดียึดทรัพย์ต่อไปได้เลย

2. ทำไมจึงมีชื่อ แค่จำเลยที่ 1 กับ จำเลยที่4  แล้วจำเลยที่ 2 กับ 3 หายไปไหน

ตอบ - ต้องไปตรวจดูสำนวนที่ศาล อาจถอนฟ้อง หรือเจ้าหนี้ปลดหนี้ให้ก็ได้ ในเรื่องนี้น่าจะสอบถามเอาจากเจ้าหนี้ได้ไม่ยากครับ ผมไม่เห็นเอกสารตอบไม่ได้จริง ๆ 

3. ถ้าในกรณีนี้จะมีการยึดทรัพย์หรือไม่

ตอบ - น่าจะยึดได้นะครับ อ่านคำตอบตามข้อ 1 น่าจะตอบคำถามนี้ได้แล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-06-25 19:28:37


ความคิดเห็นที่ 2 (2282468)

 มาตรา 231  การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆก่อนพิพากษา โดยทำเป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้
คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่งคำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น
ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 (1)
เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้ โดยมิต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สินของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ต้องใช้ตามคำพิพากษาหรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ ถ้าปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็นและสมควร เพราะทรัพย์สินนั้นมีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยากหรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-06-25 19:32:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล