ReadyPlanet.com


พ่อของเด็กกีดกันไม่ให้พบและดูแลบุตร ไม่ได้จดทะเบียน


ดิฉันแยกทางกับแฟนเก่าเมื่อปี 2551 ลูกอายุ 1 ขวบ 7 เดือน เป็นลูกชาย และหลังจากที่แยกทางกันดิฉันก็มีแฟนใหม่ โดยปจุบันได้จดทะเบียนสมรสเป็นที่เรียบร้อย หลังจากแยกทางกัน ดิฉันพยายามหลายครั้งที่จะเข้าไปรับบุตรคืน แต่โดนฝายชาย ขู่ฆ่า ไม่ใช่แค่ขู่ฆ่าตัวดิฉัน แต่ขู่ฆ่าทั้งครอบครัวถ้ายังพยายามที่จะมารับบุตรคืน และตามหาเรื่องและโทรขู่อยู่ประมาณ 2 ปี ในระหว่างช่วง 2 ปีหลังจากแยกทางกันดิฉันแอบโทรหาลูกชายโดยทำเป็นแกล้งให้น้องสาวไปรับมาเล่นด้วยที่บ้าน พอมาปี 2553 ในช่วงเดือน พย ดิฉันได้พาผู้ใหญ่ไปเจรจา และได้ตกลงสัญญาปากปล่าวกันไว้ว่าดิฉันสามารถมารับบุตรคืนได้โดยไม่ขัดข้อง และตกลงกันว่าระหว่างนี้จะไม่โทรหรือยุ่งเกี่ยงกันใดๆ ทั้งสิ้น จนกว่าบุตรจะครบ 7  ขวบ และดิฉันได้รับลูกชายกลับมาพักด้วยที่กรุงเทพประมาณ 2 อาทิตย์ในช่วงปิดเทมอหลังจากทำข้อตกลงกัน และวันนี้เดือน มิย ดิฉันได้โทรไปเพื่อสอบถามการเรียนลูกเพราะต้องการที่จะย้ายลูกไปเรียนที่ต่างประเทศเมื่อครบอายุ 7 ขวบ แต่กลับโดนฝ่ายชายด่าเสียๆ หายๆ และยังบอกอีกว่ายังไงก็ไม่ให้คืน และไม่ต้องโทรติดต่อมาอีก ดิฉันจึงโทรติดต่อแม่ของแฟนเก่าเพื่อคุยเรื่องข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ แต่เค้าก็ทำเป็นบ่ายเบี่ยง ไม่สนใจ และขู่ดิฉันว่าถึงขึ้นโรงขึ้นศาลไป ดิฉันก็ไม่มีทางได้ลูกเพราะลูกไม่รู้จักดิฉัน และศาลต้องขอดูบัญชีว่าเคยส่งเสียเลี้ยงดูลูกใหม ซึ่งดิฉันก็ไม่มีเพราะโดนขู่และกีดกันมาโดยตลอด โดยตอนนี้ลูกชายอายุ 5 ขวบ 7 เดือนแล้วค่ะ

 

แล้วอย่างนี้ถ้าดิฉันจะฟ้องขอบุตรคืน จะมีโอกาสได้บุตรคืนมาใหมคะ? เพราะลูกแทบบจะไม่รู้จักดิฉันเลย ถ้าลูกบอกกล่าวต่อศาลว่าเค้าอยากจะอยู่กับพ่อ ศาลจะมองอนาคตเด็กหรือดูตามความต้องการของเด็กคะ? ช่วยตอบปัญญาทีนะคะ ไม่รู้จะทำยังไง อยากได้ลูกคืนมามากๆ อ้ออ ลืมบอกไปคะ ลูกชายของดิฉันใช้นามสกุลแฟนเก่าและเข้าสำเนาของแฟนเก่าค่ะ ถ้าต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันจริงๆ ดิฉันต้องการให้สามีรับลูกเป็นบุตรบุญธรรมและเปลื่อนนามสกุล ย้ายสำเนาใหม่หมดเลย จะสามารถทำได้ใหมคะ?



ผู้ตั้งกระทู้ AA :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-20 16:11:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2288394)

ข้อเท็จจริงที่ให้มา พอเข้าใจได้ว่า สามีเก่า (พ่อของบุตร) ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคุณ ดังนั้นในทางกฎหมาย เขาจึงเป็นบิดานอกกฎหมาย และบุตรไม่ได้อยู่ในอำนาจปกครองของบิดา ผมแนะนำให้ 2 วิธีคือ 1. คุณรับบุตรมาโดยไม่ส่งคืน วิธีนี้อาจเกิดปัญหาทะเลาะกันในภายหลัง 2. ฟ้องเรียกบุตรคืน ซึ่งวิธีนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งคดีอาจใช้เวลานานเพราะเขาเองก็อาจมีทางแก้ หรือมีทางต่อสู้คดีอยู่บ้าง แต่เป็นวิธีที่ศาลจะช่วยไกล่เกลี่ยให้ บิดา มารดา และบุตร ได้มีโอกาสที่จะอยู่ร่วมกันได้มากขึ้น ข้อเสียเปรียบของคุณก็คือ การที่บุตรไม่รู้จักคุ้นเคยกับคุณ ถ้าศาลถามเด็กก็เป็นไปได้สูงว่า เด็กจะตอบศาลว่าต้องการอยู่กับบิดา อย่างไรก็ตาม ในข้อกฎหมายแล้วขณะนี้คุณแต่เพียงผู้เดียวที่เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร และมีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ครับ

มาตรา 1567  ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-07-21 17:56:58


ความคิดเห็นที่ 2 (2288396)

ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3950/2529
 
          บุตรโจทก์เกิดกับท. สามีซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสท.ตายแล้วแม้โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้บุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยแต่อำนาจปกครองก็ยังคงอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเมื่อโจทก์ประสงค์จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรเองย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรกรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าได้มีการผิดข้อตกลงกันหรือไม่.

มาตรา 1566  บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องเรียกบุตรผู้เยาว์สามคนคืนจากจำเลย อ้างว่าเป็นบุตรของโจทก์เกิดแต่นายเท่งเชียง แซ่ลิ้ม โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และนายเท่งเชียง แซ่ลิ้ม ถึงแก่กรรมไปแล้ว
          จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงยกเด็กทั้งสามคนให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดู โดยจำเลยยอมให้เงินแก่โจทก์กับยอมยกหนี้ที่บิดาโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ให้ด้วย ขอให้ยกฟ้อง
          วันนัดชี้สองสถาน จำเลยแถลงรับว่าผู้เยาว์ทั้งสามคนเป็นบุตรของโจทก์จริง
          ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยคืนบุตรผู้เยาว์ทั้งสามแก่โจทก์
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้อง คำให้การและคำแถลงรับของจำเลยว่า เด็กชายสิงห์หา แซ่ลิ้ม เด็กหญิงหงษ์หยกแซ่ลิ้ม และเด็กหญิงรุ้งดาว แซ่ลิ้ม เป็นบุตรโจทก์ซึ่งเกิดกับนายเท่งเชียง แซ่ลิ้ม สามีที่มิได้จดทะเบียนสมรส เมื่อนายเท่งเชียงแซ่ลิ้ม ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้บุตรทั้งสามคนอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลย ปัญหามีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยส่งบุตรทั้งสามคนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์หรือไม่เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติว่าเด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1566 วรรคท้าย บัญญัติว่า อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายและยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 และมาตรา 1567บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตรและ (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกับบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายดังนั้น แม้โจทก์จะได้ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสามคนนั้นก็ตาม แต่อำนาจปกครองไม่ได้อยู่กับจำเลย อำนาจปกครองยังคงอยู่กับโจทก์ผู้เป็นมารดา เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรของโจทก์เองย่อมมีอำนาจกระทำได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร กรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าได้มีการผิดข้อตกลงกันหรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษาไปตามรูปคดีนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น"
          พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.
 
 
( ไพจิตร วิเศษโกสิน - ไพรัช วงศ์วัฒนะ - สมบูรณ์ ฤกษ์สำราญ )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-07-21 18:02:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล