ReadyPlanet.com


ทรัพย์พิพาท


 เรียนพี่ศิริ

       ขอเรียนถามปัญหาดังนี้ครับ

        1. ในกรณีศาลยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แต่คู่สมรสของเจ้ามรดกทำการถอนเงินทรัพย์พิพาทออกจากบัญชีเจ้ามรดกเป็นจำนวนมากก่อนและหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต(เนื่องจากเจ้ามรดกป่วยไม่มีสติ เป็นเจ้าชายนิทรา) เมื่อทายาทอื่นตรวจพบ แต่คู่สมรสผู้ตายอ้างว่าผู้ตายสั่งให้กระทำการดังกล่าว ในทางกฎหมายถือเป็นการยักย้ายทรัพย์หรือไม่ ทายาทสามารถเอาผิดคู่สมรสของผู้ตายได้หรือไม่

        2. ในเรื่องเดียวกัน ถ้าคู่สมรสของผู้ตายนำเงินพิพาทไปทำการลงทุนในการซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์หลังจากวันที่เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้วมีการอ้างว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นสินสมรส และไม่นำมาแบ่งให้ทายาท ทายาทสามารถฟ้องร้องเป็นคดีอาญาได้หรือไม่

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้เกี่ยวข้องกับทายาท :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-19 19:35:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2295746)

1. ในกรณีศาลยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แต่คู่สมรสของเจ้ามรดกทำการถอนเงินทรัพย์พิพาทออกจากบัญชีเจ้ามรดกเป็นจำนวนมากก่อนและหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต(เนื่องจากเจ้ามรดกป่วยไม่มีสติ เป็นเจ้าชายนิทรา) เมื่อทายาทอื่นตรวจพบ แต่คู่สมรสผู้ตายอ้างว่าผู้ตายสั่งให้กระทำการดังกล่าว ในทางกฎหมายถือเป็นการยักย้ายทรัพย์หรือไม่ ทายาทสามารถเอาผิดคู่สมรสของผู้ตายได้หรือไม่

ตอบ - การถอนเงินก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิต หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้ตายไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะให้อนุญาตได้ ถือว่าเป็นการลักทรัพย์หรือยักยอกได้ครับ การถอนเงินภายหลังเจ้าของทรัพย์เสียชีวิตไม่สามารถทำได้ครับ จะอ้างว่าผู้ตายสั่งให้กระทำนั้นฟังไม่ขึ้นครับ

2. ในเรื่องเดียวกัน ถ้าคู่สมรสของผู้ตายนำเงินพิพาทไปทำการลงทุนในการซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์หลังจากวันที่เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้วมีการอ้างว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นสินสมรส และไม่นำมาแบ่งให้ทายาท ทายาทสามารถฟ้องร้อง

ตอบ - ทรัพย์ที่เป็นสินสมรส เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตตกเป็นมรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง (ตายแล้วไม่ถือว่าเป็นสินสมรส)  เมื่อยังไม่มีการแบ่งปันให้ทายาทย่อมยังคงเป็นมรดกของผู้ตายแม้จะได้เปลี่ยนเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ต้องคืนแก่กองมรดกของผู้ตายครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-08-22 17:59:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล