ReadyPlanet.com


ซื้อที่ สค.1


ที่ดินแปลงหนึ่งมีเนื้อที่โดยประมาณ 25 ไร่เป็นเอกสาร สค.1 ชื่อเอกสารเป็นของนาย ก ซึ่งภายในระบุว่าได้แจ้งสิทธิ์การครอบครอง พ.ศ 2498 ได้มาจากนาย ดำ เมื่อปี 2482 ต่อมานาย ก ตายและมีลูกคือ นาย ข กับ ค โดยนาย ข ได้แบ่งขายที่ดินแปลงนี้จำนวน  13 ไร่ ทำสัญญาซื้อขายให้กับนาย ง แต่เอกสาร สค.1 นาย ค เป็นผู้ถือครองไว้ อยากทราบว่า 1) ถ้าหากนาย ง จะยื่นขอทำโฉนดเฉพาะเนื้อที่ 13 ไร่ โดยใช้เอกสาร สค.1 ที่มีอยู่ในมือนาย ค และใบสัญญาซื้อขายได้หรือไม่   2) จากการดูปี พ.ศ.ในการแจ้งการครอบครองสิทธิ์ที่ดินถือว่าอยู่ก่อนหรือหลังประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และน่าจะออกโฉนดที่ดินผืนนี้ได้หรือไม่ 3) ถ้าหากออกโฉนดไม่ได้เป็นไปได้ไหมที่นาย ง จะไปขอแจ้งแยกทำเป็น สค.1 อีก 1 ใบ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับคำตอบนะคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าคะ



ผู้ตั้งกระทู้ yjaideaw2 :: วันที่ลงประกาศ 2012-07-05 22:57:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2291620)

1. แนะนำให้นำ สำเนา ส.ค. 1 ไปปรึกษาสำนักงานที่ดินครับ เพื่อทำการไต่สวนขอออกโฉนดที่ศาลต่อไป

2. เมื่อมีการออกหนังสือแสดงสิทธิครอบครองให้ (ส.ค. 1) จึงเข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานควรออกหนังสือให้ แสดงว่าเป็นการเข้าครอบครองทำประโยชน์ก่อนปี พ.ศ. 2497 ซึ่งครอบครองต่อจากนาย ดำ นั่นเอง มีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินได้ครับ

3. ออกโฉนดได้ตามคำตอบข้อ 2. แต่จะออก ส.ค. 1 แยกอีกใบไม่ได้แล้วครับ ตอนนี้ไม่มีการออก ส.ค. 1 แล้วครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-08-05 09:53:53


ความคิดเห็นที่ 2 (2291621)

ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้


1. ที่ดินที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

คือ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส. 3ก., น.ส. 3ข.)ได้ จะต้องเป็นที่ดินที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 กล่าวคือ

จะต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
ไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบที่ชายตลิ่ง ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์
ไม่เป็นที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินพุทธศักราช 2478
ไม่เป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาที่ดินเพื่อจัดให้แก่ประชาชน
ไม่เป็นที่ดินของรัฐที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนหรือหวงห้ามเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ไม่เป็นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น

2. ที่ดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้จะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้

ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศหวงห้ามตาม มาตรา 9 (2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่เกาะ จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) ใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, น.ค. 3, ก.ส.น. 5 หรือเป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดิน แห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือเป็นที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และ 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดย คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่ที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) หรือได้ออกใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, ตราจอง ไว้ก่อนการสงวนหรือ หวงห้ามที่ดิน
ที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1), ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือมีใบจอง, ใบเหยียบย่ำ หรือมีหลักฐาน น.ค. 3, ก.ส.น. 5 ก่อนประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
พื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ยร้อยละ 35 ขึ้นไป ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายป่าไม้ แห่งชาติ ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองมาก่อน การบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน (ก่อน 1 ธันวาคม 2497) หรือมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1)

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-08-05 09:56:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล