ReadyPlanet.com


คดี พรากผู้เยาว์ กระทำชำเรา รุมโทรม เด็ก อายุ ไม่เกิน15 ปี


 ชาย3 คน คนแรก อายุ18 ปี คนที่2 อายุ23 ปี คนที่ 3 อายุ 27 ปี โดนข้อหา กระทำชำเรา พรากผู้เยาว์ และรุมโทรม ทำให้ศาลชั้นต้น พิพากษาจำเลยที่ 1 จำคุก 18 ปี จำเลย ที่2 และ3 จำคุก 27 ปี อยากทราบว่า เราจะสามารถอุทรธ์ได้หรือไม่ และถ้าได้ จะต้องมีการทำสำนวนใหม่ ผู้เสียหายต้องให้ปากคำใหม่หรือไม่ ฝ่ายจำเลย จะมีโอกาสชนะบ้างหรือไม่ ค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ Toily :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-16 18:45:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2301072)

การยื่นอุทธรณ์เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีนี้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้เพราะมีอัตราโทษและไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การอุทธรณ์ไม่มีการทำสำนวนใหม่ ศาลอุทธรณ์จะถือข้อเท็จจริงที่ได้สืบพยานกันมาในศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงขอให้ศาลองค์คณะอื่นในศาลอุทธรณ์พิพากษาชี้ขาดในข้อเท็จจริงอันเดียวกันนั้นใหม่เท่านั้นครับ ไม่มีการสืบพยานใหม่ จะแพ้ ชนะ ในชั้นอุทธรณ์ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ครับ ตอบไม่ได้ครับ

มาตรา 193ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลง โทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ ไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-09-14 12:26:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล