ReadyPlanet.com


เจ้าหนี้นอกระบบใช้เช็คที่เขียนเพื่อค้ำเงินกู้แจ้งความจับ


ดิฉันได้กู้เงินนอกระบบ ครั้งแรกจำนวน 10000 บาทโดยส่งดอกรายวันๆละ 100 บาท ซึ่งทำสัญญาไว้โดยมีคนค้ำประกัน แต่ต่อมาขอกู้เพิ่มจนเป็นเงิน 100000 เจ้าหนี้บอกต้องมีการเขียนเช็คค้ำ โดยแนะนำให้ไปเปิดกระแสรายวันและซื้อสมุดเช็คมาเขียน ค้ำ และล่าสุดยอดเงินกู้ 380000 ต้องจ่ายวันละ 3800 บาท เขียนเช็คจำนวนเงิน 200000 บาทสั่งจ่ายวันที่ 7 เมษา 56 แต่เมื่อวันที่ 3 เราจ่ายเงินสด 100000 บาทคำให้เจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้จะให้จ่ายหมดเราไม่จ่ายเราขอผ่อนจ่ายเขาไม่ยอม และต่อมาก็ได้รับหมายเรียกจากสถานีตำรวจ ระบุความอาญามาตรา 52   ฉบับที่ 2 ระบุว่าถ้าไม่มาจะออกหมายจับ

ดิฉันอยากทราบว่าจะต้องทำอย่างไรดีกับหมายเรียกค่ะ รบกวนให้คำแนะนำ



ผู้ตั้งกระทู้ ธัญ :: วันที่ลงประกาศ 2013-05-18 13:38:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2358647)

เบื้องต้นแนะนำให้ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกก่อนครับ ส่วนจะต่อสู้คดีหรือไม่ก็ค่อยไปว่ากันในชั้นศาลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2013-05-18 18:43:55


ความคิดเห็นที่ 2 (2359003)

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 56 นายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกลุ่มบุคคลที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยกลุ่มบุคคลพวกนี้ จะทวงหนี้ด้วยวิธีการข่มขู่ หรือใช้กำลังหมายจะเอาชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการกระทำของกลุ่มบุคคลที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบนี้ เป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลและเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ กรมการปกครองได้เน้นย้ำให้ศูนย์อำนวยความเป็นธรรมระดับอำเภอทั่วประเทศเป็นศูนย์กลาง ในการให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและลดความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถขอรับความช่วยเหลือจากทางราชการหากเกิดปัญหาและข้อพิพาทต่างๆ ได้

นายชวนกล่าวด้วยว่า เพื่อให้ข้าราชการฝ่ายปกครองเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง จะให้ทุกอำเภอมีแนวทางในการกวดขันบุคคลที่ปล่อยเงินกู้นอกระบอบที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  คือ 1.การสืบหาข่าว กลั่นกรองและตรวจสอบข้อมูลบุคคลที่มีพฤติการณ์ปล่อยเงินกู้นอกระบบและรับจ้างทวงหนี้ จากที่ได้รับเบาะแสจากประชาชน 2.การป้องกัน ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น จากการกระทำของบุคคลที่ปล่อยเงินกู้ 3.ปราบปราม สืบสวนติดตามพฤติการณ์เครือข่าย อย่างไรก็ตาม หากพบการกระทำความผิดในกรณีดังกล่าว เบื้องต้นให้ทำการไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้ตามแนวทางของกฏกระทวง และให้ดำนินการตามกฏหมายอย่างเฉียบขาดต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับจ้างทวงหนี้ที่วิธีข่มขู่หรือใช้กำลัง พร้องทั้งให้สอดส่องเฝ้าระวังพฤติการณ์ของเจ้าหนี้ ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนมีปัญหาความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถติดตามขอรับความช่วยเหลือได้ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
แหล่งข้อมูล-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1368171276&grpid=03&catid=03

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-05-20 11:26:58


ความคิดเห็นที่ 3 (2359374)

สำนักข่าวเนชั่น โดย วิศิษฏ์ ชวนพิพัฒน์พงศ์
     
      เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 25 มี.ค. ที่ บก.ป. น.ส.ณัฏฐิณี ดวงดำรงศักดิ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค พาลูกหนี้เงินกู้นอกระบบจาก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.โกมล สืบจาคลี พงส.(สบ3) กก.3 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มนายทุนเงินกู้ 5 ราย ซึ่งเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 150 ต่อปี รวมยอดหนี้สินของผู้เสียหายทั้งหมดเกือบ 2 ล้านบาท เมื่อไม่ใช้หนี้ก็ถูกข่มขู่ คุกคามเพื่อบังคับให้ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยด้วยวิธีการต่างๆจนทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะได้รับอันตรายถึงขั้นต้องหนีออกจากบ้าน
     
      น.ส.นันทิยา ใจจริง อายุ 28 ปี หนึ่งในผู้เสียหาย เปิดเผยว่า เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิด เช่น เครื่องสำอางค์ ส่งตามร้านค้าต่างๆ ซึ่งต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนจึงไปกู้เงินจาก น.ส.ณัฏฐนิชา บัวใหญ่ หรือ น้ำ เพื่อนสมัยเป็นนักเรียน โดยเริ่มกู้ที่ 4.5 แสนบาท เมื่อวันที่ 26 เม.ย.51 ช่วงแรกก็ใช้หนี้และกู้เงินมาใหม่โดยไม่มีปัญหาอะไร ต่อมาหมุนเงินไม่ทันทำให้ดอกเบี้ยทบเงินต้นเป็นเงิน 1.2 ล้านบาทซึ่งตนก็หาเงินมาใช้หนี้ได้ 7 แสนกว่าบาทแต่หลังๆส่งดอกเบี้ยไม่ไหวจึงถูกเจ้าหนี้ข่มขู่คุกคามด้วยวิธีต่างๆ ที่สำคัญมีการเปลี่ยนสัญญาใหม่อีกหลายครั้งจนทำให้ยอดเงินต้นรวมดอกเบี้ยเพิ่มจาก 1.2 ล้านบาทเป็น 1.8 ล้านบาท
     
      “เมื่อหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยไม่ได้เจ้าหนี้ก็โทรมาขู่ว่ามีญาติเป็นตำรวจ และบีบให้ทำสัญญาใหม่ซึ่งที่ผ่านมามีการเปลี่ยนเจ้าหนี้เงินกู้ไปแล้ว 4 คน จากยอด 1.2 ล้านบาทเพิ่มไปเป็น 1.8 ล้านบาท โดยหนึ่งในเจ้าหนี้ก็มีนายตำรวจยศ ร.ต.ท. สังกัดสถานีตำรวจภูธรแห่งหนึ่งใน จ.อุบลราชธานีรวมอยู่ด้วย ส่วนปัจจุบันนี้เจ้าหนี้เป็นเพื่อนหนุ่มของ น.ส.ณัฏฐนิชา ที่เขาอ้างว่าเป็นลูกผู้มีอิทธิพลในพื้นที่หาดใหญ่ เขาบอกจะไม่พูดมากแต่จะทำมากและเคยอุ้มฆ่ามาแล้วหลายราย” น.ส.นันทยา กล่าว
     
      ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบรายนี้ ยังกล่าวอีกว่า เจ้าหนี้กลุ่มนี้ยังพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ตนใช้หนี้แต่แค่ดอกเบี้ยที่คิดร้อยละ 10 ต่อเดือน แล้วยังมีการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 และ8 ต่อสัปดาห์ ซึ่งแค่นำเงินมาใช้หนี้ดอกเบี้ยไม่รวมเงินต้นก็ไม่มีวันหมดแล้ว นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังบอกว่าถ้าไม่มีเงินใช้หนี้ก็ให้ไปดาวน์รถยนต์มาให้พวกเขา 2 คัน หากเงินดาวน์ 6 แสนบาทก็จะหักจากยอดหนี้ไป 3 แสนบาท หรือถ้าดาวน์รถจักรยานยนต์ก็ต้องหามาให้พวกเขาถึง 10 คัน เพื่อจะนำรถไปขายประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อตนไม่ทำตามก็จะให้ลูกน้องเขามาตามตัวถึงบ้านหากไม่เจอก็ทำลายทรัพย์สินที่อยู่หน้าบ้านทำให้ตอนนี้กลับไปที่บ้านไม่ได้ และเป็นห่วงครอบครัวว่าจะได้รับอันตรายจึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
     
      ด้าน น.ส.ณัฏฐิณี กล่าวว่า ขณะนี้รวบรวมผู้เสียหายจากเจ้าหนี้กลุ่มนี้ได้ประมาณ 4-5 รายแต่ละรายถูกข่มขู่ บีบบังคับในลักษณะเดียวกัน ที่สำคัญคือมีการเปลี่ยนสัญญาจากเจ้าหนี้รายหนึ่งไปอีกรายหนึ่งทำให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้พาผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อสำนักช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุดแล้วซึ่งอัยการได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาช่วยเหลือฟ้องร้องคดีแพ่งให้สัญญาเป็นโมฆะเนื่องจากเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ต่อปี และให้มาแจ้งความที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินคดีอาญา
     
      เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้เสียหายทั้งหมดไว้เป็นหลักฐานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งว่าการกระทำของเจ้าหนี้กลุ่มนี้เข้าข่ายความผิดในข้อหาใดบ้าง.
แหล่งข้อมูล- http://77.nationchannel.com/video/31597/

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-05-21 18:55:26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล