ReadyPlanet.com


ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นชื่อผู้จัดการมรดกได้หรือไม่


ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นชื่อผู้จัดการมรดกได้หรือไม่

ถ้าศาลได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว จากนั้นผู้จัดการมรดกจะโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้ตายมาใส่ชื่อผู้จัดการมรดกได้หรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ ดิเรก :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-02 13:10:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1762197)

หน้าที่ตามกฎหมายของผู้จัดการมรดก

ตามมาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

ดังนั้นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกคือการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน

ในกรณีที่ทรัพย์มรดกเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในสารบบทะเบียน ผู้จัดการมรดกมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ดินนั้นมาเป็นของผู้จัดการมรดกแล้วจัดการแบ่งปันโดยการโอนให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิต่อไปได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 15:20:41


ความคิดเห็นที่ 2 (1762201)

การที่ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของตนเอง จึงเป็นการกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดก

ตัวอย่าง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่นายลับกับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อจำเลยและนายลับแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งมีสิทธิรับมรดกเช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง และเงินจำนวน 200,000 บาท ที่จำเลยได้รับไปได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363

ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่นายลับยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดกและจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่านายลับสละมรดก เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า เจ้ามรดกยังมีนายลับเป็นคู่สมรส นายลับย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) อีกกึ่งหนึ่งคงตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยคนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้ง 4 แปลง และเงินสดให้โจทก์ทั้งสามคนละ 1 ส่วน ใน 8 ส่วน จึงชอบแล้ว

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

( เกษม วีรวงศ์ - ชวลิต ตุลยสิงห์ - สุรพล เอกโยคยะ )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 15:24:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล