ReadyPlanet.com


การขอรับหลานเป็นบุตรบุญธรรม มีขั้นตอนอย่างไร


ขอทราบเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม มีหลานอยู่คนนึง เป็นลูกน้องชายร่วมสายเลือดคือร่วมบิดามารดา พ่อแม่ของหลานยังมีชีวิตอยู่ แต่อยากทราบว่า เราสามารถอุปการะหลานคนนี้ให้เป็นบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ครับ เพราะตั้งใจว่าจะไม่มีลูกของตัวเองอยู่แล้ว เลยอยากให้กรรมสิทธิ์หรือมรดกทั้งหลายตกเป็นของหลาน ก็พอทราบว่า สามารถเขียนมรดกยกให้หลานได้อยู่แล้ว ถึงไม่ต้องรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่ก็อยากทราบว่า สามารถรับเป็นบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ แล้วถ้าได้ เราจะมีกรรมสิทธิ์ใดในตัวหลานบ้าง

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปราจีน :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-02 07:14:22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1791291)

การขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

หลักเกณฑ์คือ

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายีสิบห้าปีบริบูรณ์ นอกจากนั้นจะต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี

มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่น เป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อยสิบห้าปี

2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าปีต้องให้ความยินยอมด้วย

มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบปีห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย

3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาที่แท้จริง

มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง

ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดา หรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน ไม่สามารถแสดงเจตนาให้ ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควร และเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์ขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอ ต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม

4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน

มาตรา 1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่ สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มี คำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้

มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็น บุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

 

ขั้นตอนการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว

1.ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานทะเบียนเขต

2.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมที่มีคู่้สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยอม

 

ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

1.ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร หรือที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห็ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม

2.ในการณีที่เป็นชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม

3. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญูธรรมแล้วก็ให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าวข้างต้น

4.ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม

5.เด็กที่จะเป็นบุตรบุญููธรรม อายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียน

 

ผลของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

1.ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลและมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม

มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว

มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตร บุญธรรมนั้น

2.ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบขด้วยกฎหมายนับแต่วันจดทะเบียน

3.บิดามารดโดยกำเนิหมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดาและบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา

 

หลักฐานประกอบ

1.บัตรประจำตัวประชาชน

2.หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-07-02 12:01:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล