ReadyPlanet.com


บริษัทเบิกความเท็จในศาลต้องทำอย่างไรค่ะ


เนื่องจากลูกจ้างฝ่ายบุคคลไปร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานว่าบริษัทเกิดเหตุไฟไหม้ในวันที่ 2 มีนาคม 2550 ใช้มาตรา 75 ให้ลูกจ้างฝ่ายบุคคลหยุดงานชั่วคราวแค่คนเดียว และเจ้าหน้าที่แรงงานชี้ว่าต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง  ต่อมาบริษัทฟ้องศาลข้อเพิกถอนคำสั่งเจ้าหน้าที่แรงงาน  ศาลแรงงานตัดสินให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าหน้าที่แรงงานในวันที่ 28 กพ. 51  แต่ในคำพิพากษาของศาลพบว่าบริษัทเบิกความเท็จ ซึ่งเรามีพยานบุคคล(ผอ. ทรัพพยากรมนุษย์คนเก่าและพนักงานทั้งบริษัทและพยานเอกสาร) 

1. กรณีบริษัทเบิกความเท็จใครเป็นผู้เสียหายค่ะ

2.  กรณีนี้เราต้องร้องกับใครค่ะ  และต้องภายในระยะเวลากี่วัน  และเราสามารถอุทธรณ์ศาลฎีกาในข้อเท็จจริงได้รึเปล่าค่ะ    ขอบคุณค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ พนักงานบริษัท (prayonghom_p-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-05 10:02:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1794320)

ผมไม่ค่อยเข้าใจคำถามคุณเท่าไรครับ และได้ตอบตามความเข้าใจคำถาม

มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณา คดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท

กรณีเบิกความเท็จใครเป็นผู้เสียหาย ก็ต้องดูว่าใครได้รับความเสียหายก็เป็นผู้เสียหายได้ครับ

ต้องร้องกับใคร ภายในกี่วัน นั้นตามมาตรา 177 เป็นความผิดทางอาญาก็แจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องเองได้ครับ

อุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลง โทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ ไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่น ด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาล อุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จำเลยในกรณีที่ศาล อุทธรณ์พิพากษาแก้ใขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-07-05 10:51:49


ความคิดเห็นที่ 2 (1794324)

อ่านประกอบครับ

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=peesirilawcom&thispage=5&No=321039

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-07-05 10:55:08


ความคิดเห็นที่ 3 (1794858)

ขอบพระคุณนะค่ะสำหรับวิทยาทาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงานบริษัท (prayonghom_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-06 00:36:29


ความคิดเห็นที่ 4 (1796126)

*ขอแจมด้วยครับ

*บริษัทไม่ใช่บุคคล แต่เป็นนิติบุคคล  ซึ่งหมายถึงก็เป็นคนเหมือนกันแต่จะต้องมีผู้กระทำการแทน ดังนั้นบริษัทไม่ใช่คนจะเบิกความไม่ได้ครับ

*ที่คุณบอกว่าบริษัทเบิกความ บริษัทไม่ได้เบิกความครับ แต่มีผู้อื่นกระทำการแทน ก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง อย่างที่คุณลีนนท์ตอบนั่นแหละครับ ว่าใครเป็นผู้เบิกความแทนบริษัท จะได้ตอบคำถามของคุณให้กระจ่างครับพี่น้อง!!!

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2008-07-07 20:22:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล