ReadyPlanet.com


เรื่องมรดก


  คือว่ามารดาของผมมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน 

ด้วยแต่เดิมมารดาของผมเป็นบุตรบุญธรรมของนาย ก

แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม  โดยนาย ก มี

พี่น้องทั้งหมด 5คน เสียชีวิตแล้ว2คนรวมนายก

ในบรรดาพี่น้องทั้ง5คนมี คือนายก นายข นายค นายง

และ คุณยายผมอยู่ด้วย

และเมื่อ นายก เสียชีวิตลง ก็ไม่ได้ทำพินัยกรรม

ก็ได้ตั้งผู้จัดมรดกเป็นคุณยายผมดูแลแบ่งมรดกเป็น

ที่ดินจำนวน สองแปลง โดยใช้เกณการแบ่ง

ตามที่นายก ได้ระบุไว้ด้วยวาจา  โดยแบ่งส่วนหนึ่ง

ให้ แม่ของผม  และส่วนที่เหลือ จะแบ่งให้พี่น้องร่วม

มารดานายก ตามเจตนารมณ์ นายก  แต่เกิดปัญหา

ตรงที่  บุตรของนายข  ได้ยืนคำร้องต่อศาลให้เพิก

ถอน ยายผมออกจากผู้จัดการมรดกและ กล่าวหาว่า

คุณยายผมเผิกเฉยและยักยอกทรัพย์มรดก ในส่วน

แปลงที่โอนแล้ว   อีกอย่างหนึ่งคือนาย ข ขณะมี

สถานะเป็นภิกษุอยู่ 

   ไม่ทราบว่าจะมีทางแก้ไขอย่างไรบ้างขอคำชี้แนะ

หน่อยครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ tiger :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-16 00:37:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1837528)

ถ้าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทของนาย ก.  เมื่อมารดาของคุณไม่ได้เป็นทายาทของ นาย ก. แต่ผู้จัดการมรดกได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ใดโดยมิชอบ ทายาทของเจ้ามรดกย่อมต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพย์สินโดยมิชอบครับ

มีคำถามต่อจากนี้ก็ถามมาใหม่นะครับเพราะคุณถามมากว้าง ๆ เลยไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไร

จะแก้ไขอย่างไรนั้นคงไม่มีทางแก้ไขครับ เพราะเจ้ามรดกเขาไม่ได้ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือก็ไม่ผูกพันทายาทโดยธรรมครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-09-16 10:51:45


ความคิดเห็นที่ 2 (1837871)

เมื่อ นายก ไม่มีบุตรหรือภรรยา ทายาทโดยธรรมของ

นายก ก็ต้องเป็นทายาทโดยธรรม ที่3 คือพี่น้องร่วม

บิดามารดาเดียวกัน    เพียงอย่างเดียวใช่ไหมครับ

แล้วทายาทโดยธรรม ที่เป็นภิกษุและ เสียชีวิต  จะมี

ส่วนเกี่ยวข้องหรือไหม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น tiger วันที่ตอบ 2008-09-16 20:09:34


ความคิดเห็นที่ 3 (1837874)

  เมื่อ ผู้จัดการมรดกได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก

ให้ของผู้ใดโดยมิชอบ  แล้ว  ในจุดนี้จะแก้ไขอย่างไร

แล้ว หน้าที่รับผิดชอบส่วนนี้อยู่ในมาตราใด

ผู้แสดงความคิดเห็น tiger วันที่ตอบ 2008-09-16 20:15:46


ความคิดเห็นที่ 4 (1839945)

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

เมื่อนาย ก.  ไม่มีบุตรหรือบุตรของบุตรในอันดับที่ 1 และไม่มีบิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ในอันดับที่ 2. แต่ยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ในอันดับที่ 3. จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ถามเข้าใจนั้นถูกต้องแล้วครับ

สำหรับทายาทที่เป็นพระภิกษุ ถ้าได้ทรัพย์มาในขณะที่เป็นสมณเพศแล้วมรณภาพลงต้องเป็นไปตาม

มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

ดังนั้นเมื่อพระภิกษุได้ทรัพย์มาระหว่างที่บวชเป็นพระและไม่ได้ขายหรือจำหน่าย โอนให้บุคคลใด เมื่อมรณภาพ ก็จะต้องตกเป็นของวัดครับ

เมื่อผู้จัดการมรดกจัดการทรัพย์มรดกไม่ชอบ ผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมที่ไม่ชอบ โดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ และอาจมีความผิดตามกฎหมายอาญา เช่นยักยอกทรัพย์มรดกด้วยก็ได้ หรือถ้าเป็นทายาทอาจถูกตัดไม่ให้ได้รับมรดกตามที่กฎหมายกำหนดก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-09-22 08:31:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล