ReadyPlanet.com


การซื้อที่ดินของผู้ถือสองสัญชาติ


สวัสดีค่ะ... ดิฉันอาศัยอยู่ประเทศออสเตรเลีย และได้รับสัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งก็ถือว่าเป็นประชากรของออสเตรเลีย..และในขณะเดียวกันก็ยังมิได้สละสัญชาติไทย นั้นก็หมายความว่าดิฉันถือสองสัญชาติ.. ปัญหา คือ ถ้าหากดิฉันต้องการที่จะซื้อทึ่ดินในประเทศไทยมีข้อจำกัดอะไรบ้างค่ะ สิทธิในการซื้อที่ดินเพื่อธุรกิจมีข้อห้ามไม่ค่ะ สิทธิในการรับมรดกมีผลอะไรบ้าง... ขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ไกลบ้าน :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-10 20:58:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2369006)

การถือสองสัญชาติ

พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขโดย พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่2 และฉบับที่3) พ.ศ. 2535 มิได้มีบทบัญญัติกำหนดเกี่ยวกับผู้มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันไว้โดยตรง และไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดว่าให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันต้องเสียสัญชาติไทยเพราะข้อเท็จจริงที่บุคคลนั้นมีสัญชาติอื่นอยู่ด้วย ดังนั้น หากบุคคลผู้ถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันมิได้แสดงเจตนาสละสัญชาติไทย หรือกระทำการใดที่อาจเป็นเหตุให้องค์กรของรัฐถอนสัญชาติ และไม่มีสถานการณ์ที่บุคคลอาจเสียสัญชาติ หรือกระทำการใดที่เป็นการยอมรับว่าตนเป็นคนต่างด้าว บุคคลนั้นจึงสามารถถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นได้ในขณะเดียวกัน ส่วนบุคคลนั้นจะเสียอีกสัญชาติหนึ่งหรือไม่ประการใดก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของประเทศนั้น ทั้งนี้ คุณดวงใจฯ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและข้อมูลในทางปฎิบัติได้จากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้รักษาการพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508

กรณีผู้มีสัญชาติไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือที่ มท. 0710/ว. 792 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติ โดยได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิผู้ถือที่ดินของบุคคลสัญชาติไทย ที่มี หรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว ที่มีสัญชาติไทย ขอได้มาซึ่งที่ดินโดยระเบียบ ใหม่ซึ่งใช้บังคับในปี 2542 มีสาระดังนี้

1. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดิน ในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หากเจ้าพนักงานสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ได้ยืนยันเป็น ลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัว ของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอ ต่อไปได้ แต่ถ้าหากคนต่างด้าว ที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยัน ตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายกลักษณ์อักษรว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดิน ทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นสินสมรส เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดิน เพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

2. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว โดยมิชอบด้วย กฎหมาย ขอซื้อ ที่ดินหรือขอรับโอนที่ดิน ในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกัน ในระหว่างที่ อยู่กันฉันท์สามี ภรรยากับคนต่างด้าว หากพนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์ อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทย นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นทรัพย์สิน ส่วนตัวของบุคคล สัญชาติไทยแต่เพียง ฝ่ายเดียว มิใช่ ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ ร่วมกัน ก็ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอ ต่อไปได้ แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็น คู่สมรสของบุคคล สัญชาติไทย ไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์ อักษรว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด หรือบางส่วน เป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดิน เพื่อขอคำสั่ง รัฐมนตรีตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

3. กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ทั้งที่ชอบ และมิชอบ ด้วยกฎหมาย ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันท์ สามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้ว เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัว ของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าว มีส่วนเป็นเจ้าของ ในที่ดินร่วมด้วย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ ในฐานะที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็นคน ต่างด้าว มีส่วน เป็นเจ้าของ ร่วมด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดิน เพื่อเสนอขอคำสั่งรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

4. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว แต่ได้หย่าขาด จากกัน หรือ เลิกร้างกันแล้ว ขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้ว ไม่ปรากฎ พฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอต่อไปได้

5. กรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทย ขอทำนิติกรรม ให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้ว ไม่ปรากฎพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

มาตรา 74
ในการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมของพนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม มาตรา 71 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสอบสวนคู่กรณี และเรียกบุคคล ที่เกี่ยวข้องมา ให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องได้ ตามความจำเป็น แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการไปตามควรแก่กรณี

ถ้ามีกรณีเป็นที่ควรเชื่อได้ว่า การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น จะเป็นการ หลีกเลี่ยงกฏหมาย หรือเป็นที่ควรเชื่อได้ว่า บุคคลใดจะซื้อที่ดิน เพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ให้ขอคำสั่งต่อรัฐมนตรี คำสั่งรัฐมนตรีเป็นที่สุด

เมื่อคุณยังเป็นคนสัญชาติไทย ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เหมือนคนไทยทุกประการครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-06-10 21:00:40


ความคิดเห็นที่ 2 (2369007)

บุคคลใดมีสองสัญชาติ และมีสัญชาติหนึ่งเป็นสัญชาติไทย โดยบุคคลนั้นยังมิได้สละสัญชาติไทย สามารถซื้อที่ดินในประเทศไทยเพื่อเป็นสินส่วนตัวได้ โดยบุคคลสัญชาติไทยและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวต้องบันทึกยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินว่า เงินที่คนไทยนำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส หรือถ้าคนไทยสามารถแสดงหลักฐานได้ว่าเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัว ก็สามารถซื้อที่ดินได้ โดยไม่ต้องบันทึกถ้อยคำของคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวแต่อย่างใด
หรือดูเว็บไซด์ของกรมที่ดิน หัวข้อ ความรู้เกี่ยวกับที่ดิน หัวข้อย่อย ข้อมูลทีดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว ในเรื่อง การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว
 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-06-10 21:01:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล