ReadyPlanet.com


เช็คครับ


อยากให้ท่านช่วยในการให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเช็คด้วยครับ

1. พนักงานสอบสวนนอกท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ว่าท้องที่ใด มีอำนาจในการรับคำร้องทุกข์ได้หรือไม่ ถ้าได้และไม่รับ มีความผิดหรือไม่อย่างไร

2. พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่จำเลย/ผู้ต้องหา ออกสั่งจ่ายเช็คที่ปัตตานี แต่ท้องที่ที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินอยู่ที่กาญจนบุรี มีอำนาจในการสอบสวนได้หรือไม่

3. ท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นทั้งทางอาญาและทางแพ่ง นอกจากจังหวัดที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังรวมถึงท้องที่หรือจังหวัดที่ผู้ต้องหา/จำเลยออกเช็คได้หรือไม่ โดยถือว่าเป็นท้องที่หรือจังหวัดที่มูลความผิดเกิดขึ้นเกี่ยวกันหรือเกี่ยวเนื่องกับท้องที่/จังหวัดที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่

4. อายุความในการฟ้องทางแพ่งกี่ปี และอายุความในการฟ้องอาญากี่ปี(หมายถึงฟ้องเอง) ไม่ผ่านกระบวนการของรัฐ และถ้าไม่มีคำร้องทุกข์ไว้จะฟ้องได้หรือไม่

ขอขอบคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ยี :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-31 23:20:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1858400)

คำถาม

1. พนักงานสอบสวนนอกท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ว่าท้องที่ใด มีอำนาจในการรับคำร้องทุกข์ได้หรือไม่ ถ้าได้และไม่รับ มีความผิดหรือไม่อย่างไร

คำตอบ

คดีอาญาทุกประเภทสามารถร้องทุกข์ได้ทั่วราชอาณาจักรตามมาตรา 123 โดยไม่ต้องคำนึงถึงอำนาจสอบสวนตามมาตรา 18 และ มาตรา 19

มาตรา 123 ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อ และที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ลักษณะ แห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความ เสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้
คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็น หนังสือต้องมีวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้อง ด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวัน เดือน ปี และลงลาย มือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น

มาตรา 18 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้


สำหรับในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้


ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน


ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

 

มาตรา 19 ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน ระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจ สอบสวนได้
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวน
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการ กระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ

*****

ดังนั้นเมื่อรับร้องทุกข์แล้วก็ส่งไปให้พนักงานสอบสวนที่อยู่ในเขตอำนาจทำการสอนต่อไป

การที่พนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่มีอำนาจมีผลให้การสอบสวนไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนปฏิเสธย่อมมีความผิดตามกฎหมาย แต่เหตุที่ไม่รับอาจเห็นว่า ไม่มีอำนาจสอบสวนและไม่อยากให้เรื่องยุ่งยากเพราะต้องส่งให้พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนดำเนินการต่ออีก ถ้าให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนจะเป็นการดีกว่าครับ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่คดีจะขาดอายุความก็อาจต้องรับไว้ก่อนได้ครับ

คำถาม

2. พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่จำเลย/ผู้ต้องหา ออกสั่งจ่ายเช็คที่ปัตตานี แต่ท้องที่ที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินอยู่ที่กาญจนบุรี มีอำนาจในการสอบสวนได้หรือไม่

คำตอบ

ทั้งสองแห่งถือเป็นสถานที่เกิดเหตุ แต่สถานที่สั่งจ่ายเช็คนั้นพิสูจน์ยาก ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้สั่งจ่ายที่นั่นและศาลเชื่อว่าไม่ได้สั่งจ่ายที่ปัตตานี จะทำให้พนักงานสอบสวนที่ปัตตานีไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องได้ครับ

ดังนั้นการฟ้องคดี ผู้เสียหายจึงควรร้องทุกข์ที่เขตอำนาจสอบสวนที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครับ แน่นอนกว่า

คำถาม

3. ท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นทั้งทางอาญาและทางแพ่ง นอกจากจังหวัดที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังรวมถึงท้องที่หรือจังหวัดที่ผู้ต้องหา/จำเลยออกเช็คได้หรือไม่ โดยถือว่าเป็นท้องที่หรือจังหวัดที่มูลความผิดเกิดขึ้นเกี่ยวกันหรือเกี่ยวเนื่องกับท้องที่/จังหวัดที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่

คำตอบ

ได้ครับ แต่ตามเหตุผลที่ตอบไว้ในข้อ 2 ครับ

 

คำถาม

4. อายุความในการฟ้องทางแพ่งกี่ปี และอายุความในการฟ้องอาญากี่ปี(หมายถึงฟ้องเอง) ไม่ผ่านกระบวนการของรัฐ และถ้าไม่มีคำร้องทุกข์ไว้จะฟ้องได้หรือไม่

คำตอบ

คดีตั๋วเงินมีอายุความ 1 ปีครับ

คดีอาญาต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนครับ แต่ถ้าได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ผู้เสียหายอาจฟ้องร้องเองได้ภายใน ห้าปีครับ

ถ้าไม่มีคำร้องทุกข์ต้องฟ้องภายในสามเดือนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-01 14:44:17


ความคิดเห็นที่ 2 (1858914)

1. อายุความฟ้องร้องคดีเช็ค สำหรับความผิดอาญาตาม พรบ.เช็ค คุณจะต้องฟ้องต่อศาล หรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก

2. อายุความฟ้องร้องคดีแพ่งสำหรับเช็ค (ตั๋วเงิน) คุณจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชำระหนี้ตามเช็ค ภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ลงในเช็ค ซึ่งต่างกับคดีอาญาที่นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก

3. ส่วนอายุความห้าปีนั้นเป็นกรณีที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีมีมูล แต่ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิดมาศาลภายในห้าปี คดีย่อมขาดอายุความ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-11-03 11:34:08


ความคิดเห็นที่ 3 (1858921)

ความผิดที่ยอมความได้ เมื่อมีการร้องทุกข์แล้ว อายุความจะเป็นไปตามบททั่วไปนะครับ ดังนั้นคดีความผิดจากการใช้เช็ค เมื่อมีการร้องทุกข์แล้ว ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีเองได้ภายใน 5 ปีครับ ขอยืนยัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1209/2531
ย่อสั้น
ข้อความในบันทึกการร้องทุกข์ของโจทก์มีว่า "...มาร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายตามกฎหมาย จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ในชั้นนี้ขอรับเช็คคืนไปเก็บรักษาไว้เพื่อ จะได้ติดต่อกับผู้สั่งจ่ายอีกทางหนึ่ง" ดังนี้เป็นการแจ้งความ กล่าวหาโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การขอรับเช็คคืน ไปเพื่อติดต่อกับผู้สั่งจ่ายมิใช่เป็นข้อความที่แสดงว่ายังไม่มอบคดี ให้ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) แล้ว เมื่อโจทก์ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-11-03 11:40:26


ความคิดเห็นที่ 4 (1858922)

เพิ่มเติม

ตัวอย่างคดีความผิดที่ยอมความได้ เมื่อร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว อายุความจะเป็นไปตามบททั่วไปใน ปอ.มาตรา 95
ตัวอย่างคดีความผิดที่ยอมความได้ เมื่อร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว อายุความจะเป็นไปตามบททั่วไปใน ปอ.มาตรา 95

คำพิพากษาฎีกาที่ 1880/2519
ย่อสั้น
เมื่อจำเลยที่ 1 ร่วมกับนายสมานฉ้อโกงโจทก์ แม้คำร้องทุกข์ ของโจทก์จะไม่ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 แต่ระบุให้ดำเนินคดีอาญาฐาน ฉ้อโกงกับนายสมานกับพวก ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดี ฐานฉ้อโกงภายในสามเดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 แล้ว แม้จะนำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เกินกว่าสามเดือน แต่อยู่ภายในสิบปีนับแต่วันกระทำผิดคดีไม่ขาดอายุความ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-11-03 11:45:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล