ReadyPlanet.com


บันดาลโทสะ


สามีจัดการเรื่องแบ่งวัน อยู่กับภรรยาหลวงและภรรยาน้อย โดยที่ภรรยาไม่ได้ยินยอม แต่ทำอะไรสามีไม่ได้ เพราะไม่ต้องการฟ้องชขู้เพราะไม่กลัวสามีพาลไม่มาหาลูก  ต้องทนอยู่แบบจำใจและขื่นขม

หากต่อมาเกิดบันดาลโทสะสามีที่ทิ้งบ้านไปโดยไม่กลับมาบ้าน ภรรยาหลวงไปเจอรถสามีจอดหน้าบ้านที่สามีซื้อให้เมียน้อยอยู่ แล้วเอาขวานจามรถเสียหายหน้าบ้าน 

อยากทราบว่า การกระทำของภรรยาหลวงนี้ อ้างว่าเป็นบันดาลโทสะได้ไหมคะ และมีความผิดหรือไม่อย่างไร

ท่านลีนนท์ช่วยให้ความเห็นด้วยค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ แอน :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-21 22:07:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1867768)

การที่จะอ้างเหตุบันดาลโทสะ นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และได้กระทำต่อผู้ที่มาข่มเหงทันที

กรณีของคุณเป็นเรื่องที่ไปพบรถยนต์แต่ไม่พบคนแล้วทำให้เสียทรัพย์ จะเป็นบันดาลโทสะหรือไม่คงอยู่ที่ดุลพินิจของศาล แต่ผมเห็นว่าไม่น่าจะเข้าเหตุบันดาลโทสะนะครับ

มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะ ลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-23 08:21:38


ความคิดเห็นที่ 2 (1867771)

จำเลยมีและพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปในหมู่บ้าน และใช้อาวุธปืนกระบอกนั้นยิง ผู้ตาย 1 นัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงตามพยานว่าขณะที่ผู้ตายและจำเลยกับพวกตั้งวงดื่มสุรากันที่บ้านนางยุพา จำเลยซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตายได้พูดตักเตือนผู้ตายว่าขับรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านอย่าขับรถเร็วเกรงว่าจะชนเด็ก เป็นเหตุให้ผู้ตายไม่พอใจพูดโต้ตอบว่าเป็นรถของตนเองจะยังขับเร็ว กับได้พูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา พร้อมกับลุกขึ้นยืน จำเลยจึงลุกขึ้นและชักอาวุธปืนออกมายิงใส่บริเวณหัวไหล่ของผู้ตายแล้วเดินลงจากบ้านนางยุพาที่เกิดเหตุไป ดังนี้ เห็นว่า กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด กล่าวคือจะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเองเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าร้ายแรงหรือไม่ไม่ได้ หากแต่จะต้องถือเอาตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์แห่งการพิจารณาว่าในสถานการณ์อย่างนั้นผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายถูกจำเลยกล่าวตักเตือนเรื่องขับรถจักรยานยนต์เร็วในหมู่บ้านแล้วพูดโต้ตอบจำเลยว่าเป็นรถของตนเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา เช่นนี้ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปจะถือได้ว่าผู้ตายได้พูดจาแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่ผู้ตายจะกระทำอย่างนั้นต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่หาใช่ว่าผู้ตายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ทั้งนี้เพราะคุณธรรมทางกฎหมาย ที่ลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น กฎหมายจะยอมลดหย่อนโทษให้ก็แต่เฉพาะกรณีที่การกระทำความผิดของจำเลยนั้น ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปเห็นว่าผู้ที่อยู่ในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์อย่างเดียวกับจำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-23 08:26:51


ความคิดเห็นที่ 3 (1868420)

เรียนถามเพิ่มค่ะ

 

แต่หากไปพบรถจอดหน้าบ้าน พร้อมกับเจอคน (คือสามีและภรรยาน้อยอยู่ด้วยกัน)  จึงโกรธ และทำลายรถที่อยู่ใกล้มือ และวิ่งหนีไป

ลักษณะอย่างนี้ ถือว่า บันดาลโทสะหรือเปล่าคะ

(และยังมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือเปล่าคะ)

 

และในทำนองเดียวกัน

สมมติว่า ไม่ทำลายรถ  แต่เดินเข้าไปตบภรรยาน้อย

จะถือว่า ทำร้ายร่างกาย หรือไม่ หรือใช้เหตุ ทำไปด้วยบันดาลโทสะ ได้หรือไม่คะ

หรือจะมีความผิดฐานใดบ้างคะ

ขอคุณลีนนท์ ช่วยตอบให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แอน วันที่ตอบ 2008-11-24 20:28:12


ความคิดเห็นที่ 4 (1868452)

การที่จะบันดาลโทสะหรือไม่ เป็นข้อต่อสู้ของจำเลย เวลาจำเลยจะต่อสู้คดีก็คงจะอ้างบันดาลโทสะอยู่แล้ว

คำว่าโกรธ กับบันดาลโทสะไม่เหมือนกัน การบันดาลโทสะ เป็นไปในลักษณะของการเกิดความโกรธอย่างรุนแรงในขณะนั้นอันมีแรงกระตุ้นเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง การที่ไปพบสามีและเมียน้อยอยู่ด้วยกันแล้วโกรธ ผมเห็นว่าน่าจะไม่เข้าเหตุที่ว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงครับ แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดี ศาลจะใช้ดุลพินิจเองครับ เพราะถือเป็นข้อกฎหมายเพราะกฎหมายเขียนไว้เพียงว่า

บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น

แต่ถ้าจำเลยไม่ได้กระทำต่อผู้ถูกข่มเหงแต่กระทำต่อรถยนต์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ครับ

ส่วนไปตบภรรยาน้อยก็มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่แล้ว แต่กฎหมายบอกว่า ถ้าเป็นบันดาลโทสะแล้ว ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ดังนั้นการบันดาลโทสะ ไม่ใช่เหตุยกเว้นโทษ คือยังมีโทษอยู่ครับ

เคยมีคดีทำนองนี้ครับ คือภรรยาไปพบสามีกับภรรยาน้อยหลับนอนอยู่ด้วยกัน ภริยาหลวงเห็นภาพบาดใจไม่ได้เลยฆ่าทั้งสองคน แต่สามีรอดตาย องค์คณะศาลมีความเห็นเป็นสองแนวคือบางท่านบอกว่าไม่เป็นบันดางโทสะเพราะไม่ได้ข่มเหงในขณะนั้น เพราะสามีไปมีเมียน้อยมานานแล้ว ดังนั้นภรรยาหลวงก็ทราบมานั้นแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งท่านมีความเห็นว่าอย่างนั้นแหละเป็นการถูกข่มเหงใจอย่างร้ายแรงแล้วครับ

ตัวบทเขียนไว้กว้าง ๆ ครับ แนวทางตีความคงอาจมีการกลับไปกลับมาครับ

มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-11-24 21:26:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล