ReadyPlanet.com


ใช้หนี้แทนพ่อ


พ่อของดิฉันได้แยกทางกับแม่ไปประมาณ 7 ปีได้ โดยที่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือ พ่อได้ติดหนี้กับทางสินเชื่อ หรือธนาคารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แล้วมีหมายศาลมาเรียกเก็บเงิน ที่บ้าน แล้วเราจะต้องชดใช้หนี้แทนพ่อหรือเปล่าคะ เพราะเป็นนามสกุลเดียวกัน และไม่ทราบว่าพ่ออยู่ที่ไหน  แม่กลัวว่าถ้าหากติดต่อเจ้าหน้าที่ไปจะหาว่าเราโกหกและจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนพ่อ เพราะชื่อที่อยู่ของพ่อยังใช้ที่อยู่เดิม จึงไม่กล้าติดต่อหรือแจ้งเจ้าหน้าที่  และถ้าหากเขาจะมายึดบ้านได้ไหมคะ แต่ชื่อบ้านเป็นของลูกสาวซึ่งแต่งงานไปแล้ว รบกวนขอข้อแนะนำที่ถูกต้องด้วยค่ะว่าต้องทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย  เหนื่อยมากค่ะที่จะต้องมารับใช้หนี้แทนทั้งที่ไม่ได้ดูแลเราเลย  ขอบคุณค่ะจะรอคำตอบนะคะ 



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกสาว :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-04 10:23:02


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1872891)

เมื่อไม่ได้หย่าขาดจากกัน จึงมีผลให้ทรัพย์สินของแม่หรือของพ่อเป็นสินสมรสที่ต่างมีสิทธิคนละกึ่งหนึ่ง เช่น แม่ซื้อบ้านมาในขณะที่พ่อไม่อยู่ก็ถูกสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสระหว่างพ่อกับแม่ ดังนั้นถ้าเจ้าหนี้จะยึดบ้านแม่ก็ยึดได้ครึ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นส่วนของพ่อ

แต่ในกรณีที่บ้านเป็นของลูก ๆ ก็ไม่เกี่ยวกับหนี้สินของพ่อ เพราะหนี้ใครก่อ ผู้นั้นก็รับผิดชอบไปเอง

เราไม่ต้องใช้หนี้แทนพ่อครับ แม้จะมีนามสกุลเดียวกันก็ไม่มีผลผูกพันต้องชดใช้หนี้แทนแต่อย่างใด

เมื่อไม่ใช่หนี้ของแม่ ก็ไม่ต้องติดต่อเจ้าหนี้ไปหรอกครับ ถ้าเจ้าหนี้เขาสอบถามก็บอกไปตามความจริงครับ

สรุปว่า ถ้าบ้านเป็นของลูก ๆ จริง ๆ ก็ยึดไม่ได้ เว้นแต่มีการโอนหนีหนี้ หรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบก็อาจถูกเพิกถอนการโอนได้ แต่ถ้าได้โอนมาหลายปีแล้วก็คงตรวจสอบยากหน่อยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-04 20:21:35


ความคิดเห็นที่ 2 (1873477)

ในกรณีนี้เจ้าหนี้ของพ่อไม่สามารถยึดทรัพย์สินภายในบ้านหรือว่าอายัดเงินเดือนของแม่ได้ใช่ไหมคะ

และกรณีนี้แม่สามารถทำเรื่องหย่ากับพ่อได้หรือไม่ ในเมื่อไม่สามารถติดต่อพ่อได้ (หย่าฝ่ายเดียว) แต่ได้รับความเดือดร้อน เพราะเมื่อ 4 ปีก่อน ดิฉันได้ชดใช้ค่าบ้านแทนพ่อไปกับธนาคาร ประมาณ 150,000 บาท เนื่องจากแม่ซื้อบ้านใหม่เป็นชื่อร่วมกับพ่อและพ่อขาดการจ่ายค่าบ้านทำให้ธนาคารนำบ้านใหม่ขายทอดตลาดแต่ว่าเงินไม่พอใช้หนี้จึงสืบได้ว่าแม่มีบ้านอยู่จึงจะนำบ้านแม่ขายทอดตลาด ดิฉันจึงขอประนอมหนี้ จากเกือบ500,000 บาท เหลือแค่ประมาณ 150,000 บาท เพราะธนาคารทราบว่าทางครอบครัวดิฉันไม่มีเงินมากมายขนาดนั้นและพ่อไม่ได้อยู่ด้วยจริง(เจ้าหน้าที่เขามาสืบ) พอจบเรื่องนี้แม่จึงยกบ้านและที่ดินเป็นชื่อของดิฉันนับจากนั้นเป็นต้นมา เพื่อตัดปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก    เราสามารถใช้ข้อ ค ได้ไหมคะ หรือจะต้องทำอย่างไรขอข้อแนะนำด้วยค่ะ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

ขอบคุณมากค่ะที่กรุณาตอบคำถาม

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาว วันที่ตอบ 2008-12-07 09:54:39


ความคิดเห็นที่ 3 (1873481)

ในกรณีที่พ่อมีทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน ทางเจ้าหนี้อาจนำยึดทรัพย์ภายในบ้านได้ แต่เจ้าของที่แท้จริงก็มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ โดยให้เหตุผลว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไปนั้นไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ของพ่อ)

แต่อย่างไรก็ตาม การยึดทรัพย์สินภายในบ้านก็มีเงื่อนไขตามกฎหมายอยู่ตามสมควรเช่น

มาตรา 285 ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เครื่องนุ่งห่มหลับนอนหรือเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินห้าหมื่นบาท ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินห้าหมื่นบาท ให้เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(2) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตยึดหน่วง และใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อดำเนินการเลี้ยงชีพหรือการประกอบวิชาชีพ อันมีราคาเกินกว่าจำนวนราคาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไข ตามที่ศาลเห็นสมควร
(3) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทน หรือช่วยอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(4) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตาม กฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัว โดยแท้เช่นหนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือ สมุดบัญชีต่าง ๆ นั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับ คดีได้ ถ้าจำเป็นแต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด

ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ให้ขยายไปถึง ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง อันเป็นของภริยาหรือของบุตรผู้เยาว์ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจถือได้ ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจ บังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

 

มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำ หนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
(3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(4) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตาย ของบุคคลอื่นเป็นจำนวน ตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่ศาลเห็นสมควร ในกรณีที่ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่ น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น และไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย

ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตาม มาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินตาม (1) (3) และ (4) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้

ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ใหม่ก็ได้

คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาล
อุทธรณ์ได้และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

 

สำหรับเรื่องหย่านั้นสามารถทำได้ตามที่คุณเข้าใจและอาจมีสาเหตุอื่นอีก เช่น ทิ้งร้างเกินหนึ่งปีครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-07 10:49:56


ความคิดเห็นที่ 4 (1873519)

กรณีนี้แม่สามารถทำเรื่องหย่าที่อำเภอได้เลย โดยที่ไม่มีพ่อไปด้วยได้ใช่ไหมคะ ดิฉันเข้าใจถูกต้องใช่ไหมคะ

 และขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไรต่อคะ ต้องขอร้องต่อศาล,รอสืบเรื่องก่อน,รอศาลสั่งหรือว่าเรื่องจบที่อำเภอเลยคะ

และมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ ต้องเดินเรื่องกี่วัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาว วันที่ตอบ 2008-12-07 12:51:21


ความคิดเห็นที่ 5 (1873528)
ต้องมีเอกสารอะไรไปยื่นบ้างคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาว วันที่ตอบ 2008-12-07 12:59:56


ความคิดเห็นที่ 6 (1873715)

ต้องยื่นฟ้องต่อศาลครับ

ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ 085-960-4258 ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-12-07 22:23:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล