ReadyPlanet.com


มาตรา309


คำพิพากษาศาลฎีกา8649/2549ทำไมจำเลยที่สองต้องรับโทษในความผิดมาตรา309ด้วยเมื่อจำเลยที่2จำตัองกระทำด้วยความจำเป็นตามข้อ2เมื่อภัยตรายนั้นตนตนมิได้ก่อเกิดขึ้นเพราะความผิดของตนและการกระทำนั้ไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ  และกรณีที่จำเลยมิได้ยกขึนเป็น้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์หมายถึงว่าศาลฎีกายกขึ้นพิจารณาโดยที่จำเลยที่2มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่างทั้งสองเป็นข้อต่อสู้ใช่หรือไม่  อยากจะให้ช่วยอธิบายให้แจ่มแจ้งด้วยในกระบวนการพิจารณาชั้นฎีกาเพราะผมไม่เข้าใจครับ


ผู้ตั้งกระทู้ เด็กๆๆ :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-02 22:41:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1897365)

เข้าใจว่า ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาย่อนั้น ไม่มีรายละเอียดครบถ้วนในบางประเด็น เช่น ขณะที่มีการบังคับให้ผู้เสียหายขึ้นรถจักรยานยนต์ อาจมีข้อเท็จจริงว่า กรณีไม่ไม่เข้าเหตุกระทำด้วยความจำเป็น จึงไม่มีเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับโทษครับ

มาตรา ๑๘๕ ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิด และไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด แต่เมื่อเห็นสมควรศาลจะปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

 

มาตรา ๒๑๕ นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นมาบังคับในชั้นศาลอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลม

 

มาตรา ๒๒๕ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความเห็นแย้ง

การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่างทั้งสองศาลก็ตาม แต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลย

แต่ตามฎีกาศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ จึงมีสิทธิยกฟ้องโดยอาศัยวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 และมาตรา 225 ครับ

ไม่แน่ใจว่า วิธีการอธิบายข้างต้นจะทำให้คุณเข้าใจดีขึ้นหรือไม่ครับ สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง นั้นไม่ทราบครับ แต่คิดว่าคงมีข้อเท็จจริงมากกว่าที่ย่อมาให้อ่านครับ ผู้อ่านเลยสับสนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-02-04 18:57:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล