ReadyPlanet.com


มรดก


นายเอ. เป็นบิดา มีบุตร 4 คน คือ ก ข ค และง นายเอไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ต่อมานาย ก. ตาย ก่อน นายเอ ขณะที่นายก. ตาย มีบุตร 2 คน คือ x และ y อยากทราบว่า (1) เมื่อนายก. ตาย นายก. มีบ้าน 1 หลัง ราคา 2 ล้านบาท ถามว่า ผู้มีสิทธิรับมรดก มีใครบ้างและคนละเท่าไร (2) ต่อมานายเอ ตาย มีมรดก รวม 10 ล้านบาท โดยนายเอ ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ถามว่า ผู้มีสิทธิรับมรดก มีใครบ้างและคนละเท่าไร (นาย เอ ไม่มีภรรยาและไม่มีบิดามารดา) รบกวนตอบให้ด้วยค่ะ อยากให้ตอบตามคำถามนี้ค่ะ เพราะอ่านจากกระทู้อื่นไม่เข้าใจค่ะ ขอบคุณค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ จิ๋ว :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-27 16:15:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1909134)

เมื่อนาย เอ,   ตายมรดก 10 ล้าน ตกแก่ทายาทของนาย เอ, คือ นาย ก, นาย ช.  นาย ค.  นาย ง.

เมื่อมีมรดก  10 ล้านบาท จึงได้คนละ 2.500.000 บาท(สองล้านห้าแสน)

แต่นาย ก. ทายาทโดยธรรมของ นาย เอ. ตายก่อนนาย เอ  ทายาทของนาย ก. จึงเข้ามารับมรดกของนาย เอ (2.500.000 บาท) แทนนาย ก.(เป็นการรับมรดกแทนที่)

ดังนี้ นาย เอ็กซ์ , และนาย วาย จึงได้รับมรดกคนละ 1.250.000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนห้าหมื่นบาท)ครับ

สำหรับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นบ้านของนาย ก. ราคา 2 ล้านบาท ก็ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมโดยผลของกฎหมาย มีทรัพย์ 2 ล้าน ก็แบ่งกันคนละ 1 ล้านบาทครับ

ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสนให้แบ่งมรดกของนาย เอ ก่อน เมื่อจบแล้ว ค่อยมาแบ่งมรดกของนาย ก. ซึ่งเป็นมรดกคนละส่วนกันไม่นำมาปะปน และมรดกของนาย ก. ควรได้แบ่งกันนับแต่นาย ก. เสียชีวิตแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-03 12:16:30


ความคิดเห็นที่ 2 (1909742)
คุณลีนนท์คะ และหากนายเอ มิได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ แต่เคยพูดด้วยวาจาว่า จะให้มรดกส่วนใดแก่นาย ก. แต่เนื่องจากนายเอ. ตายก่อน นายก. และนายเอ. มิรู้ว่า นายก. ได้ตายไปแล้ว ถามว่า ทรัพย์มรดกทั้งหมดจะต้องนำมาขายทั้งหมดแล้วหารสี่ หรือไม่ หรือสามารถระบุมรดก (ที่เคยกล่าวด้วยวาจาไว้ว่า ส่วนใดให้แก่นาย ก. ได้หรือเปล่าคะโดยที่พี่น้องอีกสามคนยินยอมคะ) และถามว่า การรับมรดกแทนที่นั้น ใช้สำหรับทายาทโดยธรรมหรือทายาทพินัยกรรม คะ ในมาตรา 1630 นี้ สามารถใช้สำหรับกรณีได้หรือไม่ ตีความตามมาตรา เข้าใจว่า นายเอ็กซ์ และนายวาย ไม่มีสิทธิรับมรดก หรือเปล่าคะ เพราะทายาทยังมีบุตรของนายเอ คือนายข นายค และนายง. ดังนั้น นายเอ็กซ์และนายวาย ซึ่งเป็นหลานไม่มีสิทธิใช่หรือไม่คะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2009-03-04 16:43:51


ความคิดเห็นที่ 3 (1909776)

คุณหมายถึงนาย ก. บุตรของนาย เอ ตายก่อนใช่หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงคุณเริ่มสับสนแล้วครับ

เมื่อไม่มีการทำพินัยกรรม และเจ้ามรดกตาย มรดกของผู้ตายตกแก่ทายาททันที โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้ามรดกจะรู้หรือไม่ว่าทายาทโดยธรรมของตนผู้ใดได้ตายไปแล้วหรือไม่

การพูดด้วยวาจา ในพฤติการณ์ปกติ ไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรม ดังนั้นจึงใช้บังคับกันไม่ได้ครับ จึงไม่มีประเด็นเรื่องจะให้มรดกด้วยวาจา

การแบ่งมรดก เบื้องต้นก็ให้ตกลงกันเองก่อน  เช่น มีการประมูลซื้อขายทรัพย์มรดก แต่หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องขายนำเงินมาแบ่งกันครับ 

ถ้าทายาทยินยอมให้ ก็อาจทำได้ 2 วิธี คือ

การสละมรดก แต่จะสละบางส่วนไม่ได้ หรือการโอนให้โดยเสน่หา ถ้าทายาทอื่น (พี่น้อง) ยินยอมตามที่ได้ตกลงกันหรือให้ด้วยวาจาไว้ก่อนตาย

ทายาทของผู้รับพินัยกรรมเข้ารับมรดกแทนที่ไม่ได้ครับ

เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม ทรัพย์ตามพินัยกรรม กลับไปสู่กองมรดกของผู้ตายและตกได้แก่ทายาทโดยธรรม เสมือนไม่มีพินัยกรรม

มาตรา 1630 - ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

จากมาตรา 1630 วรรคแรก

1. ตราบใดที่ยังมีทายาทของนาย เอ ยังมีชีวิตอยู่ (คือ นาย ข. , นาย ค.  ,  นาย ง. )

2.  มาตรา 1630 บัญญัติต่อไปว่า "หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย"

กรณีนาย ก. ซึ่งเป็นทายาท และมีนาย เอ็กซ์ , และ นาย วาย เป็นผู้รับมรดกแทนที่อยู่  ดังนั้น ทายาทในลำดับอื่นภายหลังจากทายาทชั้นบุตรไม่ได้รับมรดก ****ยกเว้นทายาทที่เป็นบิดามารดา และคู่สมรส****

ถ้าจะสมมุติให้เข้าใจ ลึกลงไปอีกว่า นาย เอ็กซ์ และ นายวาย ก็ตายก่อน นาย เอ แต่ตายหลัง นาย ก

แต่นาย เอ็กซ์ มีบุตรชื่อนายสม, และนาย วาย มีบุตร ชื่อ นาย สา  จะเห็นได้ว่า นายสม, กับ นายสา ก็เป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาย ก เช่นกัน เพราะยังไม่ขาดสาย

สรุปใ นายเอ็กซ์ และนาย วาย มีสิทธิรับมรดกของนาย เอ  ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-04 18:09:23



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล