ReadyPlanet.com


พินัยกรรม


พินัยกรรมที่ใช้พิมพ์้ข้อความโดยเครื่องพิมพ์ดีด และมีลายเซ็นผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น และไม่มีพยาน จะสมบูรณ์หรือไม่ และ หากผู้ทำพินัยกรรมเป็นบิดา มีพิมพ์ไว้สำหรับให้มารดาลงนามเป็นพยาน แต่ไม่ได้ลงนาม (ภายหลังเสียชีวิต) --- และมีลายเซ้นพี่+น้องกันเองลงนาม (โดยที่คนที่เซ็นไม่ได้รับสำหรับพินัยกรรมนั้นๆ) ถามว่า สมบูรณ์หรือไม่คะ


ผู้ตั้งกระทู้ แจ๋ม :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-05 13:06:02


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1910250)

มาตรา ๑๖๕๖ พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

**

ตามข้อเท็จจริงที่ให้มานั้นไม่มีพยานลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับเป็นพินัยกรรม ครับ

การที่พี่น้องมาลงนามในภายหลังจึงไม่มีผลบังคับเช่นกัน เพราะกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-05 16:53:04


ความคิดเห็นที่ 2 (1910278)
และกรณีที่ถามไว้ค่ะว่า ส่วนที่พิมพ์ไว้ให้มารดาลงนาม แต่ไม่ได้ลงนาม เพราะภายหลังเสียชีวิต แต่มีการลงนามของพี่น้องอื่นๆ ที่มิใช่ผู้ีมีชื่อระบุในพินัยกรรมนั้น ถือว่า พินัยกรรมฉบับนั้นมีผลสมบูรณ์หรือไม่คะ (ช่องที่ให้มารดาลงนามไม่ได้มีลายเซ็นแต่อย่างใดเพราะเสียชีวิตในภายหลัง)
ผู้แสดงความคิดเห็น แจ๋ม วันที่ตอบ 2009-03-05 17:28:47


ความคิดเห็นที่ 3 (1910307)

เนื่องจากไม่เข้าใจว่าช่องที่ให้มารดาลงนามนั้นเป็นช่องที่ลงชื่อในฐานะของพยานหรือผู้ทำพินัยกรรม เพราะการทำพินัยกรรมก็คือ

1. ทำเป็นหนังสือ***คือตัวข้อความพินัยกรรม

2. ช่องลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม

3. ช่องของพยานที่รับรองว่า ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อต่อหน้าตนอีก อย่างน้อยสองชื่อ (สาม สี่ชื่อก็ไม่ทำให้พินัยกรรมเสี่ย)

ตามคำถามไม่ทราบว่า มารดามาเกี่ยวข้องอย่างไรกับพินัยกรรม ถ้าช่องพยาน พยายามเขียนชื่อมารดาในวงเล็บข้างล่างเพื่อเตรียมให้ลงชื่อ แต่เสียชีวิตเสียก่อน ก็แสดงว่า ผู้ทำพินัยกรรม ไม่ได้ลงชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน

สำหรับ พี่น้องที่ลงชื่อในพินัยกรรม ลงนามในฐานะใด และเป็นการลงนามในฐานะพยานรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่ หากลงชื่อเป็นพยาน ในขณะลงชื่ออายุบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ หากไม่ได้เป็นผู้รับพินัยกรรมก็สามารถลงชื่อเป็นพยานได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-05 18:30:48


ความคิดเห็นที่ 4 (1910516)
ช่องลงลายมือชื่อของมารดา เป็นช่องสำหรับให้มารดาลงลายมือเป็นพยาน (เตรียมไว้) แต่บังเอิญ ขณะนั้น ท่านไม่อยู่ ก็มีพี่น้องอีก 2 คนอยู่ในขณะบิดาพร้อมที่จะทำพินัยกรรม จึงมีชื่อของพี่น้อง 2 คนที่มิได้มีชื่อในฐานะผู้รับพินัยกรรมฉบับนั้น ส่วนมารดาต่อมาภายหลังเสียชีวิต ช่องนั้นก็เลยมิได้มีลายเซ็น เรียนถามว่า พินัยกรรมฉบับนี้ใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่คะ
ผู้แสดงความคิดเห็น แจ๋ม วันที่ตอบ 2009-03-06 10:59:01


ความคิดเห็นที่ 5 (1910734)

ถ้าพี่น้องยืนยันว่าได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรมก็ใช้บังคับได้ครับ เพราะกฎหมายต้องการพยานสองคน เมื่อครบสองคน แม้จะมีช่องเหลืออยู่ไม่ทำให้พินัยกรรมเสียไป (ตอบตามข้อเท็จจริงที่ให้มาครับ)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-06 16:37:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล