ReadyPlanet.com


การตัดหนี้สูญ


อยากทราบว่าการตัดหนี้สูญของบริษัทเอกชน ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้นต้องฟ้องทุกกรณีเลยหรือเปล่าค่ะ ถึงแม้ว่ามูลหนี้เป็นยอดน้อย ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายดำเนินคดีด้วยหรือค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ จารุรัตน์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-11 17:00:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1913500)

บทความที่เกี่ยวข้องที่หามาให้อ่านนี้น่าจะตอบคำถามคุณได้นะครับ

http://www.geocities.com/acc_rest/a1.html

 

การตัดบัญชีหนี้สูญของกิจการ ใช่ว่าจะได้ตัดได้ทันทีทันใด อยากตัดก็สามารถตัดได้ทันทีนะคะ มีเกณฑ์อะไรบ้างที่เราต้องคำนึงก่อนการตัดบัญชีหนี้สูญ ก็เป็นข้อควรทราบไว้ เพื่อรักษาสิทธิทางภาษีค่ะ


ขั้นแรก
ต้องพิจารณาก่อนนะคะว่าลูกหนี้นั้นเป็นลูกหนี้ที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโดยตรงหรือไม่ ถ้าเป็นลูกหนี้ที่ไม่เกี่ยวข้องก็หมดสิทธิ์...เช่น ลูกหนี้กรรมการ ลูกหนี้พนักงาน อย่างนี้ หมดสิทธิ์แน่นอนค่ะ

ขั้นต่อมา ก็ต้องพิจารณาว่าหนี้นั้นขาดอายุความแล้วหรือยัง
อายุความของลูกหนี้ที่สามารถตัดหนี้สูญได้ตามหลักเกณฑ์ของสรรพากรนั้นคือ 2 ปีนะคะ ไม่ใช่ 10 ปีอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ ถ้าเข้าหลักเกณฑ์แล้วไปพิจารณาตามข้อ 3 ได้เลยค่ะ

พิจารณามูลหนี้ว่ามีจำนวนเท่าใด
กรณีที่มูลหนี้ในแต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ได้ติดตามทวงถามตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถาม...ก็คือจดหมายทวงหนี้นั่นแหละค่ะ การส่งจดหมายทวงหนี้ควรใช้ไปรษณีย์ตอบรับด้วยนะคะ จะได้ทราบว่ามีคนรับแน่นอน และคนรับนั้นคือใคร และเมื่อติดตามแล้วปรากฎว่า ลูกหนี้เสียชีวิต, เป็นคนสาบสูญ, หรือลูกหนี้เลิกกิจการ แล้วมีเจ้าหนี้รายอื่นที่มีบุริมสิทธิ์เหนือกว่าเราค่ะ
ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ และได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะชำระหนี้ได้ หรือ ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกลูกหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย
ข้อสังเกตง่าย ๆ ก็คือ ศาลจะต้องมีคำพิพากษาแล้วเท่านั้นนะคะ


ในกรณีที่มูลหนี้ในลูกหนี้แต่ละรายไม่จำนวนไม่เกิน 500,000 จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ค่ะ
ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง และไม่ได้รับชำระหนี้
ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว
ข้อสังเกตุในข้อนี้ก็คือ เพียงศาลรับคำฟ้องนั้นแล้วก็สามารถตัดบัญชีได้เลยค่ะ โดยต้องให้กรรมการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้อนุมัติรายการหนี้สูญ ภายใน 30 วัน นับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นค่ะ

ในกรณีที่มูลหนี้ในลูกหนี้แต่ละรายไม่จำนวนไม่เกิน 200,000 สำหรับกิจการธนาคาร บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ค่ะ และจำนวนไม่เกิน 100,000 สำหรับนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนค่ะ
ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง และไม่ได้รับชำระหนี้ หากฟ้องแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่ได้รับชำระ
มูลหนี้แค่นี้ก็ตัดหนี้สูญได้เลย โดยไม่ต้องฟ้องค่ะ

ขั้นต่อไปก็ลงบัญชีค่ะ
ถ้าเราได้ดำเนินการตามเกณฑ์กฎหมายภาษีอากร กรณีนี้เราจะบันทึกบัญชีโดย Debit หนี้สูญ Debit ภาษีขาย (ถ้ามี) และ Credit บัญชีลูกหนี้ เป็นรายการที่หนึ่ง
และ Debit ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ Credit หนี้สงสัยจะสูญ จำนวนเท่ากับหนี้สูญเท่ากับที่ตัดจำหน่าย เป็นรายการที่สองค่ะ (ม.การบัญชีฉบับที่ 11 ย่อหน้าที่ 20)
แต่ถ้าเราตัดหนี้สูญแบบไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของภาษีอากร เช่น หนี้ขาดอายุความ เราก็สามารถบันทึกบัญชีได้โดยไม่ผิดหลักทฤษฎีบัญชีแต่อย่างใดนะคะ (แต่อย่าลืมบวกกลับใน ภงด.50 ด้วยล่ะ) เราจะใช้วิธีการตัดหนี้สูญโดยลดกับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญโดยตรง โดย Debit ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ Credit ลูกหนี้ (ม.การบัญชีฉบับที่ 11 ย่อหน้าที่ 21)

กรณีหนี้สูญได้รับคืน
หากลูกหนี้รายใดเราตัดบัญชีหนี้สูญไปแล้วถือว่าความสัมพันธ์กับลูกหนี้รายนั้นสิ้นสุดแล้วนะคะ ถ้าได้รับชำระเงินภายหลังถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่ได้คาดหวังไว้ ก็ควรจะถือเป็นรายได้อื่น ๆ ค่ะ กรณีนี้ถ้าเราตัดหนี้สูญตามเกณฑ์ทางภาษีอากร ให้บันทึกบัญชีโดย Debit ลูกหนี้ Credit หนี้สูญได้รับคืน และ Debit เงินสด Credit ลูกหนี้ ค่ะ
หากลูกหนี้รายใดที่เราตัดบัญชีหนี้สูญแบบไม่เป็นไปตามเกณฑ์ภาษีอากร ให้บันทึกบัญชีโดย Debit ลูกหนี้ Credit ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และ Debit เงินสด Credit ลูกหนี้ ค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-13 10:27:39


ความคิดเห็นที่ 2 (1914022)

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยแก้ข้อข้องใจให้ แต่มีอีกรายหนึ่งค่ะที่มูลหนี้จำนวน 129,170.00 บาท แต่ถ้าทำการฟ้องดูแล้วว่าค่าใช้จ่ายจะไม่คุ้ม เพราะลูกหนี้รายนี้ไม่มีเงินจ่ายแน่เลย ถ้าต้องยึดทรัพย์ก็ไม่รู้ว่าจะเหลืออะไรให้ยึดอีก แล้วกว่าจะตัดสินก็คงไม่เหลืออะไรแล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดีค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น จารุรัตน์ วันที่ตอบ 2009-03-14 15:27:09


ความคิดเห็นที่ 3 (1914053)

ถ้าตามหลักเกณฑ์มูลหนี้ที่เกิน 100.000 บาท จะต้องฟ้องก็คงต้องดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ และถ้าลูกหนี้คิดว่าไม่มีทรัพย์สินให้ยึดก็คงไม่ต่อสู้คดี ระยะเวลาน่าจะไม่เกิน 3 เดือนก็จบครับ ค่าดำเนินการในกรณีนี้ไม่น่าจะสูงมากนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-14 17:13:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล