ReadyPlanet.com


ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด


ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ยและกรมบังคับคดีดำเนินการจนจ่ายเงินให้ได้ตามคำพิพากษา เงินได้ดังกล่าวถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา.42(13)ประมวลรัษฎากรหรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ สมชาย :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-11 12:10:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1913465)

"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง.........

จากคำนิยามของคำว่า "ค่าจ้าง"  ดังกล่าว ดังนั้นค่าจ้างจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-13 09:35:12


ความคิดเห็นที่ 2 (1918492)

จากที่ถาม  เงินที่เป็นค่าจ้าง หรือเรียกว่าเงินเดือน เป็นเงินที่ลูกจ้าง และนายจ้างได้ทำสัญญาต่อกันว่าจะให้เป็นค่าตอบแทนที่ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้าง  และเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามที่สัญญากันไว้ก็จะได้รับค่าจ้างเป็นสิ่งตอบแทน  ส่วนค่าสินไหมทดแทนนั้น ตามหลักของกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ว่า  อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น  ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะการละเมิด  หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น  รวมค่าเสียหายอันจะบังคับได้ให้ใช้เพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น รัชนีวรรณ วันที่ตอบ 2009-03-24 16:43:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล