ReadyPlanet.com


ฟ้องหย่า


หากสามีและภรรยาทะเลาะกันบ่อยๆ มานาน และเริ่มมีพฤติกรรมต่างคนต่างอยู่ หากแต่ยังอยู่บ้านเดียวกันเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นฝ่ายชายก็ได้ย้ายออกไปอยู่กับภรรยาใหม่ มีบุตรด้วยกัน1 คน เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี โดยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับภรรยาเก่า แต่ก็ยังส่งเสียและไปมาหาสู่ลูกที่เกิดกับภรรยาเก่าอยู่เป็นครั้งคราว หากสามีต้องการกลับมาหย่ากับภรรยาเก่า แล้วภรรยาเก่าไม่ยอมหย่าจะสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้หรือไม่ และจะมีฝ่ายใดต้องรับผิดชอบบ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ กนิษฐ์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-27 12:07:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1920032)

สามีคงฟ้องภริยาไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุที่จะฟ้องได้ สามีเป็นฝ่ายทิ้งร้างภริยาไปเอง

แต่ภริยามีสิทธิฟ้องสามีได้ เช่น ฟ้องหย่า, เรียกค่าทดแทนจากสามี และหญิงอื่น (เมียน้อย),เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1530 " ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดขอร้อง ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภรรยา และการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร "

 

 

ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่ากัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยายังคงมีอยู่ ดังนั้นการอุปการะเลี้ยงดูยังเป็นหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาที่มีต่อกัน ดังนั้นหากฝ่ายใด ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้จ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตนเอง ย่อมมีสิทธิที่จะให้ศาล มีคำสั่งให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างคดีได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-27 21:38:46


ความคิดเห็นที่ 2 (1920108)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/searchlist.jsp

 

 

อ่านฉบับเต็มได้ที่

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538621692&Ntype=3

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-28 09:14:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล