ReadyPlanet.com


ช่วยตอบ ข้อสงสัย ก.ม.แพ่ง มาตรา 1606 หน่อยคับ


ช่วย ตอบให้หายสงสัยหน่อยนะคับ มาตรา 1606 ไม่ว่าจะโดนกำจัดมิให้รับ มรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย หรือหลังเจ้ามรดกตาย ก็ตาม ในกรณี ที่ ผู้ที่โดนกำจัดมิให้รับมรดกนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2สถานะ คือ ทายาทโดยธรรม กับผู้รับพินัยกรรม หลังจากโดนตกำจัดมิให้รับมรดกแล้ว ไม่ว่าจะโดนกำจัดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายเนีย จะตัดสิทธิ์ในการ รับมรดก เฉพาะ ทายาทโดยธรรม หรือ ตัด ทั้ง ส่วนทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมด้วย อ่ะคับ ปล.ช่วยหาฎีกา เกี่ยวกับ เรื่องนี้ให้หน่อยนะคับ


ผู้ตั้งกระทู้ กั๊ก-นิติราม (warui_lenook-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-15 22:00:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1914779)

คำถามคุณกว้างไปหน่อยจึงตอบยาก อยากให้ยกตุ๊กตามาจะได้เห็นภาพของคำถาม แต่ขอตอบสั้น ๆ ว่า

มาตรา 1606  เป็นบุคคลที่ถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร

มาตรา ๑๖๐๖ บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น

(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2533

 

ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวมิได้อ้างว่าเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย หากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลให้ผู้ตายทำขึ้น ผู้ร้องอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร และอาจเป็นเหตุให้ไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ตรงกันข้ามถ้าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์ ทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายย่อมตกได้แก่ผู้ร้องแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านย่อมไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิคัดค้านปัญหาว่าพินัยกรรมตามคำร้องมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยประกอบประเด็นที่ว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-16 21:12:31


ความคิดเห็นที่ 2 (1914899)
ขอบคุณนะคับคุณ ลีนนท์ งั้นผมยก ตุ๊กตาให้ข้อนึงแล้วกันเป็น ข้อสอบ กฎหมาย มรดก (ราม) 2/51 ------------------------------ นายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คนคือนายโทและนายตรี โดยนายตรีได้จดทะเบียนรับเด็กชายโตเป็นบุตรบุญธรรม นายเอกมีเงินจำนวน 20 ล้านบาทและที่ดินอีกจำนวน3แปลง นายเอกได้ทำพินัยกรรมยกเงินจำนวน20ล้านบาทให้กับนายโทและยกที่ดินจำนวน3แปลงให้นายตรี ก่อน นายเอกตาย ปรากฎว่านายตรีได้สอบเอาพินัยกรรมของนายเอกมาปลอมเป็นว่านายเอกยกเงินจำนวน 10 ล้านบาทกับที่ดิน3แปลงเป็นของตน ต่อมานายเอกตายและไม่มีทายาทอื่นอีก ขอให้ท่านแบ่งมรดกของนายเอก... ----------------------------------- คำถาม 1.นาย ตรี ได้โดนกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ในกรณีนี้นาย ตรี มีอยู่ 2ฐานะ คือทั้งทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม การที่นายตรีโดนกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรนั้น ตายตรี จะโดนตัดทั้ง 2สถานะเลย หรือเปล่าึคับ...? 2.ถ้าโดน กำจัดแล้ว พินัยกรรมตัวจริงที่ เจ้ามรดก ตั้งใจยกให้ นายตรี คือที่ดิน3แปลงก่อนตาย นั้น ยังมีผลใช้บังคับได้ อยู่หรือเปล่าคับ พินัยกรรมจะกลับคืน สู้สภาพเดิมคือ นายโท ได้เงิน 20 ล้าน นายตรีได้ ที่ดิน 3แปลง หรือว่านายตรี จะไม่ได้อะไรเลยแล้ว ทั้งเงิน 20ล้าน+ที่ดิน3แปลง ตกเป็นของนายโท หมดเลย อ่ะคับ ปล.ผมถามเองผมยัง งงเลยคับ - -ถ้าไงก็ขออภัยด้วยนะคับ
ผู้แสดงความคิดเห็น กั๊ก-นิติราม วันที่ตอบ 2009-03-17 06:19:44


ความคิดเห็นที่ 3 (1915447)

ในกรณีของนายตรีตามคำถาม ต้องบังคับตามมาตรา 1605 วรรคสอง เพราะทรัพย์มรดกของนายเอกได้จำหน่ายไปหมดแล้วโดยพินัยกรรม

มาตรา 1605 วรรคสอง

"มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น"

การที่นายตรีนำพินัยกรรมของนายเอกมาปลอมถ้าพินัยกรรมยกทรัพย์สินเป็นที่ดินสามแปลงเป็นพินัยกรรมคนละฉบับกันก็จะไม่มีผลถึงพินัยกรรมฉบับนี้

แต่ถ้าพินัยกรรมมีฉบับเดียว และนายตรีนำมาปลอมให้ตนรับมรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับแล้วย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5)  ---(ความเห็น)

เมื่อพิจารณาดี ๆ แล้ว เมื่อทรัพย์มรดกของนายเอก จำหน่ายไปโดยพินัยกรรมหมดแล้ว ย่อมมีแต่ทายาทผู้รับพินัยกรรม เมื่อนายตรีถูกตัดแล้วส่วนของนายตรีก็กลับไปสู่กองมรดกของนายเอก

มาตรา 1607  การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำนัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว

มาตรา 1627 " บุตร..........บุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย"

ดังนั้นที่ดิน 3 แปลงที่กลับเข้าสู่กองมรดกของนายเอกตกได้แก่นายโท และ นายโต บุตรบุญธรรม คนละกึ่งหนึ่ง ครับ  (ความเห็น)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-17 18:48:31


ความคิดเห็นที่ 4 (1915456)
ม.1606(5) มัน มีได้2กรณี นิคับ คืออาจจะโดนตัดมิให้รับมรดกก่อน หรือหลัง เจ้ามรดกตายก็ได้ เหมือนกับ 1606(1) แต่ในกรณี นี้ นายตรี ปลอมพินัยกรรมก่อน นายเอกเจ้ามรดก ตาย น่าจะกลายเป็นโดน ตัดมิให้รับมรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย รึป่าว คับ ตามความคิดผมนะ ถ้าถูกตัดก่อนเจ้ามรดกตาย เนีย ผู้สืบสันดานที่สืบสายโลหิตโดยตรงเท่านั้นที่สามารถ เข้ารับมรดกแทนที่ได้ ถ้าเกิด พินัยกรรมของนายตรีโดน ตัด ด้วยนั้น มรดก ทั้งหมดก็ต้องตกเป็นของนาย โท หมดเลย สิ ใช้มั้ย คับ
ผู้แสดงความคิดเห็น กั๊ก-นิติราม วันที่ตอบ 2009-03-17 19:28:09


ความคิดเห็นที่ 5 (1915560)

ถูกต้องครับ ผู้ที่จะรับมรดกแทนที่ได้ต้องเป็นผู้สืบสันดานที่สืบสายโลหิตโดยตรง  ดังนั้นเมื่อเมื่อนายโต รับมรดกแทนที่ไม่ได้ ทรัพย์มรดกก็ตกเป็นของนายโท ทั้งหมด

ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-03-18 00:23:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล