ReadyPlanet.com


ที่ดินยกให้วัด


สวัสดีครับ ผมเป็นคณะกรรมการวัดมหายานแห่งหนึ่ง เดิมทีมีหลวงท่านหนึ่งได้ยกที่ดินแก่เจ้าอาวาสเพื่อเปิดเป้นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2500  แต่ได้โอนเป็นชื่อคุณประเวศ เพื่อไปดำเนินการขอจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ นับแต่นั้นมาเจ้าอาวาสได้ครอบครองที่ดินแปลงพิพาทในการเป็นสำนักสงฆ์ จนกระทั่งนายประเวศตายไปโดยยังมิได้โอนที่ดินมาเป็นของสำนักสงฆ์ ในปีพ.ศ. 2529  ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ขอเปิดเป็นวัดพุทธมาหยาน และเจ้าอาวาสต้องการที่ดินแปลงนี้โอนให้วัด แต่ทายาทของนายประเวศไม่ยอมโอนให้  อย่างนี้เราจะฟ้องขอครอบครองได้หรือไม่ และวัดจะฟ้องได้ไหม เข้าข่ายในการครอบครองปรปักษ์หรือไม่อย่างไร ถ้าวัดฟ้องไม่ได้ เจ้าอาวาสฟ้องได้หรือไม่ หรือจะมีวิธีอย่างไรครับ ขอความกรุณาด้วยครับ เป็นกุศลแก่วัดครับ


ผู้ตั้งกระทู้ วัดมหายาน :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-06 08:53:22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1923507)

วัดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคล ดังนั้นจึงมีสิทธิฟ้องได้ครับ

 

อ่านคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องครับ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835 - 4836/2538

 

การขออนุญาตสร้างวัดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรมหรือกฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้บุคคลไปขออนุญาตสร้างวัดได้ กฎกระทรวงฉบับที่1(พ.ศ.2507)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา6,32หมายความว่าบุคคลใดประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดและเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วก็ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดหากไม่ดำเนินการนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนได้ส่วนการกล่าวด้วยวาจายกที่ดินให้สร้างวัดหามีผลอย่างใดไม่เมื่อโจทก์ที่2และที่3ไม่ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2ซึ่งมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่1ได้

 

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา และ พิพากษา เข้า ด้วยกันโดย ให้ เรียก นาย มนตรี คงสกุลถาวร โจทก์ ใน สำนวน แรก ซึ่ง เป็น จำเลย ที่ 3 ใน สำนวน หลัง เป็น โจทก์ ที่ 1 นาง นรรัตน์ เรียบร้อยเจริญ จำเลย ที่ 1 ใน สำนวน หลัง เป็น โจทก์ ที่ 2 นาย เทพ อู่ไพจิตร จำเลย ที่ 2 ใน สำนวน หลัง เป็น โจทก์ ที่ 3 และ พระครู สุทธิธรรมสาคร จำเลย ใน สำนวน แรก ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน สำนวน หลัง เป็น จำเลย

สำนวน แรก โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดิน รวม 3 แปลง คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2602, 7961 และ 11860 ต่อมาโจทก์ ที่ 1 ตรวจ พบ ว่า จำเลย ได้ บุกรุก เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1ดังกล่าว ทั้ง สาม แปลง โดย จำเลย นำ ป้าย 2 แผ่น เข้า ไป ปัก ไว้ ใน ที่ดินซึ่ง มี ข้อความ เชิญ ร่วม บริจาค เงิน ซื้อ ดิน ถม ที่ เพื่อ สร้าง วัด ใหม่และ จำเลย ได้ ปลูกสร้าง ศาล พระ ภูมิ หรือ ศาลเจ้า 1 หลัง ขน ดิน มา ถม ใส่ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 นำ รถยนต์ แทรก เตอ ร์เข้า ไป เกลี่ยดิน เพื่อ ให้ผิว ดิน เสมอกัน ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ต่าง ๆออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ที่ 1 ทั้ง สาม แปลง และ ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 210,000 บาท และ อีก เดือน ละ30,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ รื้อถอน และ คืน สิทธิ ใน ที่ดินแก่ โจทก์ ที่ 1

จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น สามี ภริยา กันได้ ตกลง ยก ที่ดิน จำนวน 4 แปลง ให้ เป็น ศาสนสมบัติ เพื่อ สร้าง วัดใช้ ชื่อ ว่า " สำนักสงฆ์เคหะชุมชนมหาชัย " คือ ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8533 อีก หนึ่ง แปลง ซึ่ง อยู่ ติดต่อ กัน โดย ให้จำเลย เป็น ผู้ดำเนินการ สร้าง วัด โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จะ จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ทั้ง สี่ แปลง ให้ เป็น ของ วัด จำเลย จึง ได้ เข้า ไป ใน ที่ดินทั้ง สี่ แปลง และ ดำเนินการ ต่าง ๆ เพื่อ สร้าง วัด โจทก์ ทั้ง สาม ทำการฉ้อฉล จำเลย การ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง ระหว่างโจทก์ ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น มิได้ เสีย ค่าตอบแทน และไม่สุจริต เป็น ทาง ให้ จำเลย และ วัด ซึ่ง อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ จดทะเบียน สิทธิได้ ก่อน เสียเปรียบ ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 1

สำนวน หลัง จำเลย ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ตกลง ยก ที่ดินจำนวน 4 แปลง ให้ เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อ สร้าง วัดแล้ว โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ร่วมกัน ทำการ ฉ้อฉล โดย โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง ใน สำนวน แรก ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็น การ ทำให้ จำเลย เสียเปรียบ และ โจทก์ ที่ 1รับโอน ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง โดย รู้ ข้อความ จริง ใน ข้อตกลง ระหว่างจำเลย กับ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดินพิพาททั้ง สาม แปลง ใน สำนวน แรก ให้ โจทก์ ทั้ง สาม ไป จดทะเบียน แก้ไข ที่ดินพิพาททั้ง สาม แปลง กลับมา เป็น ชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2 มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ไป ดำเนินการ ขออนุญาตสร้าง และ ตั้ง วัด ที่ จำเลย สร้าง ขึ้น ต่อ ทางราชการ ให้ ถูกต้อง ตาม กฎหมายมิฉะนั้น ให้ จำเลย กระทำการ แทน โดย ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เป็นผู้รับผิด เสีย ค่าใช้จ่าย ทั้งหมด และ ห้าม โจทก์ ทั้ง สาม จำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพิพาท ทั้ง สี่ แปลง ดังกล่าว ไป เป็น ของ บุคคลอื่น

โจทก์ ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ซื้อ ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลงโดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ที่ จำเลยอ้างว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ยก ที่ดินพิพาท ให้ เป็น สาธารณสมบัติเพื่อ สร้าง วัด นั้น การ ยกให้ ไม่ได้ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ขอให้ ยกฟ้อง ของ จำเลย

โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ เป็น ใจความ ทำนอง เดียว กัน ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สี่ แปลง เป็น ชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2 แต่ ผู้เดียว โจทก์ ที่ 3ไม่ได้ ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม ด้วย จำเลย ได้ ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ลงชื่อ ใน เอกสาร ฉบับ หนึ่ง เกี่ยวกับ การ ขอ ตั้ง วัด ใหม่ ใน ที่ดินพิพาทของ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 2 แปลง คือ โฉนด เลขที่ 2602 และ 7961และ ตกลง กัน ว่า เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ที่ จะ ต้อง ดำเนินการ ขออนุญาต ตั้งวัด ขึ้น เอง ขณะที่ ยัง ไม่ได้ รับ อนุญาต ให้ ก่อสร้าง วัด ขึ้น ใหม่ จำเลยก็ ได้ บุกรุก เข้า ไป ก่อสร้าง อาคาร ถาวร และ สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆใน ที่ดินพิพาท ขอให้ ยกฟ้อง และ โจทก์ ที่ 2 ขอ ถือเอา คำให้การ ของโจทก์ ที่ 2 เป็น ฟ้องแย้ง ขอให้ บังคับ จำเลย ขนย้าย บริวาร และ รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆ ออก ไป จาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8533ของ โจทก์ ที่ 2 ด้วย

จำเลย ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง ของ โจทก์ ที่ 2

ศาลชั้นต้น พิพากษา ขับไล่ จำเลย และ บริวาร กับ ให้ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ต่าง ๆ ออก ไป จาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2602, 7961 และ 11860ตำบล นาดี (บางปิ้ง) อำเภอ เมือง สมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8533 ตำบล นาดี (บางปิ้ง) อำเภอ เมือง สมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร ของ โจทก์ ที่ 2 ห้าม จำเลยและ บริวาร เกี่ยวข้อง รบกวน สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 คำขอ อื่น ให้ยกและ ยกฟ้อง ของ จำเลย ใน สำนวน หลัง

จำเลย อุทธรณ์ ทั้ง สอง สำนวน

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ ขอให้ขับไล่ จำเลย และ บริวาร รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ต่าง ๆ ออกจาก ที่ดินโฉนด เลขที่ 2602 และ 7961 ตำบล นาดี (บางปิ้ง) อำเภอ เมือง สมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร ของ โจทก์ ที่ 1 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น

โจทก์ ทั้ง สาม และ จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ว่าโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ได้ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2602 และ 7961ตำบล นาดี (บางปิ้ง) อำเภอ เมือง สมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร ให้ สร้าง วัด นั้น สำหรับ เรื่อง การ สร้าง วัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ อาศัย อำนาจ ตาม ความใน มาตรา 6 และ มาตรา 32แห่ง พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ออก กฎกระทรวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2507) มี ข้อความ ระบุ ไว้ ว่า ข้อ 1 บุคคล ใด ประสงค์ จะ สร้าง วัดให้ ยื่น คำขอ อนุญาต ต่อ นายอำเภอ ท้องที่ ที่ จะ สร้าง วัด นั้น พร้อม ด้วยรายการ และ เอกสาร ดัง ต่อไป นี้ (1) หนังสือสำคัญ แสดง กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ที่ จะ ยกให้ สร้าง วัด และ ที่ดิน นั้น ต้อง มี เนื้อที่ไม่ น้อยกว่า 6 ไร่ (2) หนังสือ สัญญา ซึ่ง เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินหรือ ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม กฎหมาย ทำ กับ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงานที่ดิน อำเภอ แสดง ความจำนง จะ ให้ ที่ดิน ดังกล่าว ใน (1) เพื่อ สร้าง วัดฯลฯ ข้อ 5 เมื่อ ได้ ประกาศ ตั้ง เป็น วัด แล้ว ให้ ผู้ได้รับ อนุญาตสร้าง วัด ทายาท หรือ ผู้แทน ดำเนินการ โอน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างให้ แก่ วัด นั้น ตาม กฎหมาย และ ให้ เจ้าอาวาส บันทึก ประวัติ ของ วัด นั้นไว้ เป็น หลักฐาน และ ตาม แบบ หนังสือ สัญญา ยก ที่ดิน ให้ สร้าง วัด (สถ.2)เอกสาร หมาย ล. 1 มี ข้อความ ระบุ ไว้ ว่า หาก ทางราชการ อนุญาต ให้ สร้าง วัดและ ตั้ง วัด แล้ว ข้าพเจ้า จะ จัดการ โอน ที่ดิน ให้ แก่ วัด ภายใน เวลา ที่นายอำเภอ กำหนด หาก ข้าพเจ้า ไม่ โอน ที่ดิน ให้ แก่ วัด ตาม สัญญา นี้ยอม ให้ นายอำเภอ เมือง สมุทรสาคร และ เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอเมือง สมุทรสาคร บังคับ ฟ้องร้อง ข้าพเจ้า ต่อไป จาก บทบัญญัติ ของกฎกระทรวง ดังกล่าว ย่อม หมายความ ว่า บุคคล ใด มี ความ ประสงค์ จะ ให้ ที่ดินเพื่อ สร้าง วัด จะ ต้อง ทำ สัญญา กับ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงาน ที่ดินอำเภอ ท้องที่ ที่ จะ สร้าง วัด และ เมื่อ ทางราชการ อนุญาต ให้ ตั้ง วัด แล้วบุคคล ดังกล่าว ต้อง ดำเนินการ โอน ที่ดิน ให้ แก่ วัด หาก ไม่ ดำเนินการ โอนก็ ให้ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ ฟ้องบังคับ ให้ โอน ได้สำหรับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2602 และ 7961 ที่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 ยกให้ สร้าง วัด ตาม หนังสือ สัญญา ยก ที่ดิน ให้ สร้าง วัดเอกสาร หมาย ล. 1 นั้น โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เบิกความ ว่า จำเลย นำหนังสือ ฉบับ ดังกล่าว ไป ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ลงชื่อ ที่ บ้านส่วน จำเลย เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ ทั้ง สาม ถาม ค้าน ว่า โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 เป็น ผู้ จัดทำ หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1 ไป มอบ ให้ จำเลย จำเลยไม่เคย นำ เอกสาร ดังกล่าว ไป ยื่น ต่อ นายอำเภอ เมือง สมุทรสาคร และ ปรากฏตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ว่า ไม่มี ลายมือชื่อ ของ นายอำเภอ เมือง สมุทรสาครลงชื่อ ไว้ ส่วน ใน ช่อง เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ เมือง สมุทรสาคร แม้ จะ มีลายมือชื่อ ลง ไว้ แต่ จำเลย ไม่ได้ นำสืบ ว่า เป็น ลายมือชื่อ ของเจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ เมือง สมุทรสาคร จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ว่าลายมือชื่อ ดังกล่าว เป็น ของ เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ เมือง สมุทรสาครเห็นว่า แม้ จะ ฟัง ไม่ได้ แน่ชัด ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 หรือ จำเลยเป็น ผู้ทำ เอกสาร หมาย ล. 1 ขึ้น แต่ ก็ ฟังได้ ยุติ ว่า โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 ไม่ได้ ทำ เอกสาร ดังกล่าว กับ นายอำเภอ เมือง สมุทรสาคร และเจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ เมือง สมุทรสาคร เอกสาร หมาย ล. 1 จึง ไม่มี ผลเป็น หนังสือ สัญญา ยก ที่ดิน ให้ สร้าง วัด ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ดัง ที่ กล่าว ข้างต้น ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงดังกล่าว ยัง คง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2 อยู่ โจทก์ ที่ 2 จึง มีสิทธิ โดย สมบูรณ์ ที่ จะ โอน ขาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ได้ โจทก์ ที่ 1ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2602 และ 7961 จึง มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า หนังสือ ยก ที่ดิน ของโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 มีผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย โจทก์ ที่ 1 ไม่มี สิทธิยึดถือ เอา ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว เป็น ของ ตน และ ไม่มี อำนาจฟ้องขับไล่ จำเลย ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ทั้ง สามฟังขึ้น

ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ เปล่ง วาจา ยก ที่ดินโฉนด เลขที่ 11860 และ 8533 ตำบล นาดี (บางปิ้ง) อำเภอ เมือง สมุทรสาคร ให้ สร้าง วัด ย่อม มีผล สมบูรณ์ นั้น โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 นำสืบ ว่า ไม่เคย ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ สร้าง วัด ส่วน จำเลยคง มี แต่ จำเลย ปาก เดียว เบิกความ ลอย ๆ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3กล่าว ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ สร้าง วัด ด้วย วาจา โดย ไม่มี พยานหลักฐานอื่น ใด สนับสนุน จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ อย่างไร ก็ ตาม แม้ จะ ฟัง ว่าโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ กล่าว ด้วย วาจา ยก ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าวให้ สร้าง วัด ก็ หา มีผล เป็น การ ยก ที่ดิน ให้ สร้าง วัด ตาม ที่ ระบุ ไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ไม่ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าวจึง ยัง คง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2 อยู่ โจทก์ ที่ 2 จึง มีสิทธิโอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 11860 ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ เมื่อ โจทก์ ที่ 1ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์ จาก โจทก์ ที่ 2 แล้ว ก็ ย่อม มีอำนาจ ฟ้องขับไล่จำเลย ได้ และ โจทก์ ที่ 2 ก็ มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ให้ ออกจากที่ดิน โฉนด เลขที่ 8533 ได้ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น

ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย จึง ชอบ ที่ จะ ฟ้องขอ เพิกถอน นิติกรรม การ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ และ ชอบ ที่ จะ ฟ้อง ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ไป ดำเนินการ ขออนุญาต สร้าง วัด ต่อ ทางราชการ นั้น ได้ วินิจฉัย มา แล้วข้างต้น ว่า ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ระบุ ไว้ ว่า หากทางราชการ อนุญาต ให้ ตั้ง วัด แล้ว และ บุคคล ที่ แสดง ความจำนง ยก ที่ดินให้ สร้าง วัด ซึ่ง ได้ ทำ สัญญา กับ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอไว้ แล้ว ไม่ โอน ที่ดิน ให้ แก่ วัด บุคคล ที่ มีอำนาจ ฟ้องบังคับ ให้โอน ที่ดิน ให้ แก่ วัด คือ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงาน ที่ดิน อำเภอ ส่วน จำเลยหา มี บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ฉบับ ใด ให้ อำนาจ ให้ กระทำ ได้ไม่โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ไม่ได้ ทำ สัญญา ยก ที่ดิน ให้ สร้าง วัด กับ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงานที่ดิน อำเภอ ไม่ได้ ยื่น คำขอ อนุญาต เพื่อ สร้าง วัด และ ทางราชการก็ ยัง ไม่ได้ อนุญาต ให้ ตั้ง วัด ดังนั้น แม้ แต่ นายอำเภอ และ เจ้าพนักงานที่ดิน อำเภอ ก็ ไม่มี อำนาจฟ้อง บังคับ ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 2602, 7961 และ 11860 หรือ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน ดังกล่าวได้ จำเลย ซึ่ง ไม่มี บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ให้ อำนาจ ไว้ และ ไม่ใช่ คู่สัญญาหรือ เจ้าหนี้ ของ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จึง ไม่มี อำนาจ ที่ จะ ฟ้องขอ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 ส่วน การ ขออนุญาต สร้าง วัด ก็ เป็น เรื่อง การแสดง เจตนา ของบุคคล ที่ ประสงค์ จะ สร้าง วัด และ เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ บุคคล นั้นไม่ใช่ กรณี ที่ เกิดจาก นิติกรรม หรือ บทบัญญัติ ของ กฎหมาย จึง ไม่อาจจะ บังคับ ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ไป ขออนุญาต สร้าง วัด ได้ ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน "

พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

( ชูชาติ ศรีแสง - จิระ บุญพจนสุนทร - วินัย วิมลเศรษฐ )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-06 16:07:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล