ReadyPlanet.com


มรดก


(1) การร้องขอจัดการมรดก จะต้องระบุรายละเอียดของทรัพย์สินด้วยหรือไม่ เช่น เลขที่บัญชี หรืออื่นๆ (หากมีการระบุไว้ และต่อมาภายหลังทายาทพบมีบัญชีของเจ้ามรดกเพิ่มขึ้นมา จะต้องทำอย่างไร) หรือว่า การร้องขอจัดการมรดกในครั้งแรกได้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินของเจ้ามรดกซึ่งจะพบในเวลาต่อมาได้คะ (2) หากขณะเจ้ามรดกจะตาย (บิดา) สั่งเสียเรื่องการแบ่งมรดกไว้โดยวาจา แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรม และขณะนั้น ทายาทสืบสันดานคือ ลูก 2 คน อีกคนหนึ่งเสียชีวิต อยากทราบว่า ผู้จัดการมรดก สามารถแบ่งมรดกตามที่เจ้ามรดกได้สั่งเสียไว้ (ซึ่งเจ้ามรดกได้ยกให้หลาน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดมรดกแทนพ่อ (เสียชีวิต) ได้หรือไม่ --- โดยที่มิได้มีพินัยกรรม จากกรณีดังกล่าว หากเจ้าหนี้รู้เหตุการเสียชีวิตของพ่อ (ซึ่งเป็นลูกหนี้) และรู้ว่า เจ้ามรดก (ปู่)ตามข้อ (2) ซึ่งยกให้หลาน (ลูกของทายาทที่เสียชีวิต) เจ้าหนี้จะสามารถเรียกชำระหนี้จากทรัพย์ที่ ลูกของทายาทที่เสียชีวิตได้หรือไม่ (เนื่องจากปู่รู้เหตุเสียชีวิตของลูกชาย จึงยกให้หลานแทน)



ผู้ตั้งกระทู้ น้องเนย :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-04 14:23:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1923022)

1. การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่จำต้องแสดงบัญชีทรัพย์ทั้งหมด แต่แสดงเท่าที่มีหรือที่มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดกก็สามารถจัดการส่วนที่ไม่ได้แสดงไว้ในคำร้องได้

2. การทำพินัยกรรม ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นการสั่งเสียเรื่องมรดกโดยทางวาจาจึงมิได้ทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไม่มีผลเป็นพินัยกรรมครับ

กรณีที่บิดาของหลานเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาของเขาได้ตามส่วนที่บิดาเขามีสิทธิได้รับ หากเสียชีวิตภายหลังเจ้ามรดกเขาก็มีสิทธิสืบมรดกนั้นจากบิดาของเขาได้อยู่แล้วเพราะขณะที่เจ้ามรดกตาย มรดกตกทอดแก่ทายาททันที แม้ยังไม่ได้แบ่งกัน แต่ทายาทมาเสียชีวิตเสียก่อนมีการแบ่งกัน ดังนี้ มรดก(ที่ไม่มีพินัยกรรม) ตกแก่ทายาทโดยธรรมไปแล้ว

สรุป---หลานมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาของเขาได้ หรือมีสิทธิสืบมรดกของบิดาของเขาแล้วแต่กรณีได้ครับ

ต้องพิจารณาว่าทรัพย์มรดกนั้นเป็นของลูกหนี้แล้วหรือยัง ถ้าเขาตายไปก่อนเจ้ามรดก เจ้าหนี้จะมายึดมรดกของปู่ไม่ได้เพราะปู่ไม่ได้เป็นลูกหนี้ ดังนั้นต้องมีข้อเท็จจริงที่มากกว่านี้จึงจะวินิจฉัยให้ได้ครับ มีคำถามเพิ่มเติมถามมาใหม่นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-04 15:36:07


ความคิดเห็นที่ 2 (1923071)

ข้อเท็จจริงคือ ปู่มีทรัพย์มรดกที่ตกแก่ทายาทโดยธรรม คือ ลูกทั้ง 3 คน แต่เนื่องจากบิดา เสียชีวิตก่อน ถามว่า กรณีนี้ ลูกของบิดาที่เสียชีวิตก่อนปู่ (คือหลาน) และรับมรดกแทนบิดา (ทรัพย์ซึ่งเป็นของปู่ และหลานรับแทนบิดาเนื่องจากขณะปู่ตาย หลานเป็นทายาทสืบสันดานของบิดา ซึ่งเป็นลูกของปู่) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้ จากทรัพย์นี้หรือไม่คะ หรือเรียกชำระได้เฉพาะทรัพย์ที่เป็นของบิดา (ซึ่งมีก่อนเสียชีวิต และเป็นทรัพย์มรดกของบิดาเอง)

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องเนย วันที่ตอบ 2009-04-04 18:20:40


ความคิดเห็นที่ 3 (1923074)

คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ขณะที่บิดาเสียชีวิต ทรัพย์ของปู่ยังไม่เป็นมรดก ดังนั้นบิดาจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเนื่องจากขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย บิดา ไม่มีสภาพบุคคลที่จะเข้ามารับมรดกได้ หลานจึงเข้ามารับมรดกโดยผลของกฎหมายครับ ดังนั้นมรดกเป็นของหลานไม่ใช่ของบิดาครับ

คำถามของคุณเป็นคำถามที่น่าสนใจครับ เพราะถ้าดูแบบผ่านเหมือนกับว่ามรดกน่าจะตกต่อกันไปเป็นสาย ๆ จากบิดาแล้วไปสู่บุตรไปเรื่อย ๆ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-04 18:54:30


ความคิดเห็นที่ 4 (1925025)

และเรื่องเจ้าหนี้ล่ะคะพี่ลีนนท์ สามารถเรียกบังคับชำระหนี้จากทรัพย์นี้ได้หรือไม่คะ (หมายถึงทรัพย์ส่วนที่ตกทอดแก่หลานน่ะค่ะ) และโดยทั่วไป เมื่อมีการแต่งตั้งผู้ร้องขอจัดการมรดกแล้ว ในกรณีไม่มีพินัยกรรม ทรัพย์ทั้งหมด ผู้จัดการมรดกสามารถแบ่งตามที่ทายาททุกคนตกลงได้หรือไม่คะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องเนย วันที่ตอบ 2009-04-10 15:25:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล