ReadyPlanet.com


สิทธิการเบิกเงินค่ารักษาในกรณี บุตรบุญธรรมเป็นข้าราชการ


คือ ผมสงสัยนิดนึงอ่ะคับ 1.ในกรณี บุตรบุญธรรมเป็นข้าราชการ ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเบิก ค่ารักษา ต่างๆได้ หรือเปล่าคับ 2.แม้จะมีผู้รับบุตรบุญธรรม แต่พ่อแม่เดิม ก็สามารถ เบิก ค่ารักษาได้เหมือนเดิม ใช่หรือเปล่าคับ ถ้าเกิด ผู้รับบุตรบุญธรรม เบิกค่ารักษาได้ ต้องรับบุตรบุญธรรมคนนั้น ก่อน บุตรบุญธรรมเป็นข้าราชการ หรือ รับภายหลัง บุตรบุญธรรมเป็นข้าราชการ หรือได้ ทั้งสอง กรณีครับ



ผู้ตั้งกระทู้ กั๊ก :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-01 23:05:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1932422)

มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุ การรับบุตร บุญธรรมนั้น

การที่ผู้รับบุตรบุญธรรมจะมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ตามคำถามนั้น เห็นว่า ไม่ได้แน่นอนเพราะ แม้แต่ ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเองก็เบิกไม่ได้ ดังนั้นผู้รับบุตรบุญธรรมจึงไม่สามารถเบิกได้ และเมื่อพิจารณาถึงมาตรา 1598/29 ข้างต้นที่ระบุว่า ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม ดังนั้นสิทธิอื่นที่รัฐจัดหาให้จึงต้องตีความเคร่งครัดกว่า เพื่อประโยชน์ในการบริหารงบประมาณแผ่นดิน แต่อย่างไรก็ตามอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างอื่นก็ได้

สวัสดิการรักษาพยาบาล คืออะไร

สวัสดิการรักษาพยาบาล คือ ประโยชน์ตอบแทนที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่บุคลากรของรัฐที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พนักงานของรัฐสังกัดกระทรวง สาธารณสุข รวมถึงบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดามารดา คู่สมรสและบุตรชอบด้วยกฎหมายในลักษณะสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยหวัดบำนาญ เมื่อผู้นั้นเจ็บป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัยและได้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล โดยรัฐบาลเป็น ผู้อออกค่าใช้จ่ายในการรักษาให้

มาตรา 6 ทวิ “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้และบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยในคราวเดียวกันและผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุหรือุบัติภัยในคราวนั้น ให้บุคคลในครอบครัวของผู้นั้นซึ่งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้เฉพาะการเจ็บป่วยในครั้งนั้น”

บุคคลในครอบครัว หมายความว่า

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว

บุตรชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะได้รับสิทธิช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่คลอดจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ ซึ่งการบรรลุนิติภาวะย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือ

1. การสมรส โดยชายและหญิงอายุ 17 ปี บริบูรณ์

2. อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์

(หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0526.5/27642 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543)

- บุตรที่บิดามารดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาลในฐานะบุคคลในครอบครัว

(กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0526.5/241 ลงวันที่ 12 กันยายน 2541)

- บุตรบุญธรรม ไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตาม พระราชกฤษฎีกา

- การยกเลิกบุตรบุญธรรมทำให้อำนาจปกครองบุตรกลับมาเป็นของบิดา หากบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในฐานะบุคคลในครอบครัว

(กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0526.5/2212 ลงวันที่ 2 กันยายน 2541)

- บุตรที่เกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายผู้เป็นสามี ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิง (กระทรวงการคลังที่ กค 0526.5/1566 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539)

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ก่อให้เกิด สิทธิ / หน้าที่ ตาม ป.แพ่ง เท่านั้น แต่การเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้

ในหลักการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดนิยาม ของบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ หมายความว่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวกับผู้มีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะที่กฎหมายรองรับไว้
ดังนั้น ในกรณีที่บิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้บุตรได้ บุตรนั้นจึงหมายถึงบุตรของผู้มีสิทธิตามกฎหมายที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงบุตรที่เกิดจากผู้อื่นที่มิใช่ของ ผู้มีสิทธิและบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

กรณีสวัสดิการข้าราชการ รัฐบาลจ่ายให้เพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือดร้อนของข้าราชการด้านค่าใช้จ่าย ซึ่งหากข้าราชการที่สามารถรับบุตรคนอื่นมาอุปการะได้ ต้องเป็นผู้มีฐานะเพียงพอไม่เดือดร้อนด้านรายจ่าย หรือกรณียกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลที่รับบุตรเราไปมีฐานะเพียงพอที่จะดูแลลูกเราแทนเราได้แล้ว ดังนั้นกรณีดังกล่าวรัฐจึงไม่จ่ายให้ค่ะ มิฉะนั้นแล้ว บุตรเราและบุตรคนอื่นที่ไม่มีสิทธิเบิกสวัสดิการก็จะเป็นบุตรบุญธรรมกันหมดทั้งประเทศ

1. ผู้ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว (บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงได้) ที่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง โดยติดต่อนายทะเบียนที่ต้นสังกัดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ได้แก่

1. ข้าราชการ , ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพลพลภาพ

2. บุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ ซึ่งได้แก่

ก. บุตร ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิ แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว และจำกัดจำนวนบุตร เบิกได้เพียง 3 คน โดยนับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ วันที่ตอบ 2009-05-02 11:41:59


ความคิดเห็นที่ 2 (2067675)

กรณีนาง ก มีอาชีพเป็นลูกจ้างประจำ ได้หย่ากับสามีแล้วและได้ไปชอบพอกับนาย ข นาง ก จึงยกบุตรให้นาย ข ซึ่งบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ กำลังเรียนหนังสือ อยากถามว่า นาง ก เมื่อยกบุตรให้คนอื่นแล้วสามารถจะนำใบเสร็จค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาลมาเป็นฝ่ายเบิกด้วนตนเองได้หรือไม่  ถ้าไม่ได้จะให้เหตุผลด้วยประการใดและจะร่างหนังสือขอเรียกเงินอย่างไร ซึ่งมาทราบภายหลังว่า นาง ก ได้ยกบุตรไปให้คนอื่น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทักษ์ชยา วันที่ตอบ 2010-05-24 17:55:54


ความคิดเห็นที่ 3 (2098373)

กรณี ภรรยา หรือบุตร เข้ารับการรักษาพยาบาล ก่อนการสมรส ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสในเดือน หรือปีเดียวกัน อยากทราบว่าจะมีสิทธิ์รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลหรือไม่ ถ้าได้รับ จะได้รับตั้งแต่เมื่อไหร่

ผู้แสดงความคิดเห็น นริศ วันที่ตอบ 2010-08-22 20:02:35


ความคิดเห็นที่ 4 (2220805)

บุตรเกิดปี พ.ศ.๒๕๓๔ ยังเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ข้าราชการประจำกระทรวงกลาโหม วันที่ตอบ 2011-09-28 13:54:36


ความคิดเห็นที่ 5 (2289314)

 ในกรณีที่ดิฉันสมรสกับสามี  ซึ่งสามี(ข้าราชการ)  เคยมีบุตร  จำนวน  2  คน  แล้ว และเพิ่งมามีบุตรกับดิฉัน  เป็นคนที่  3  ของสามี  แล้วสิทธิการเบิกจ่ายต่างๆ  

 หากดิฉันมีต่อเป็นบุตรคนที่  4  ของสามี  จะมีสิทธิการเบิกจ่ายได้หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา วันที่ตอบ 2012-07-25 15:45:53


ความคิดเห็นที่ 6 (2307259)

ผมว่า การที่บุตรบุญธรรมไม่ได้รับสิทธิในค่ารักษาพยาบาลนั้นถ้าดูตามหลักการแล้วมันก็จริง แต่ในระเบียบข้อกฎหมายน่าจะมีข้อยกเว้นบ้าง เพื่อช่วยเหลือบุตรข้าราชการชั้นผู้น้อย ที่เขามีความตั้งใจอย่ากจะช่วยเหลือและเป็นการแบ่งเบารายจ่าย และเพื่ออนาคตของเด็กบ้าง หรือรัฐฯ พอมีแนวทางอื่นที่จะพอช่วยเหลือได้ก็น่าจะดี

ผู้แสดงความคิดเห็น ด. วันที่ตอบ 2012-10-11 22:32:50


ความคิดเห็นที่ 7 (2348405)

 ในกรณีที่ตัว ของข้าพเจ้าเองซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากตัวข้าพเจ้าแม่ที่แท้จริงของข้าพเจ้าเมื่อได้คลอดข้าพเจ้าออกมาแล้วได้ทิ้งข้าพเจ้าไว้ที่ รพ. และหนีหายไปไม่กลับมาแลดูข้าพเจ้าเลย พ่อและแม่บุญธรรมของข้าพเจ้าสงสารเลยนำตัวข้าพเจ้ามาเลี้ยงดู โดยไม่มีเอกสารระบุยื่นยันว่า พ่อแม่ที่แท้จริงได้ยกข้าพเจ้าให้เป็นบุตรบุญธรรม เพราะว่าเมื่อได้คลอดเสร๊จแล้วก็หนีไปเลย  จนบัดนี้ข้าพเจ้าได้รับข้าราชการ เป็นทหาร สิทธิของข้าพเจ้าไม่สามารถเบิกการรักษาได้ ใช้ได้แต่ประกันสุขภาพ ข้าพเจ้าเคยสอบถามผู้รู้ เขาบอกว่าต้องมีเอกสารการยกข้าพเจ้าให้เป็นบุตรบุญธรรมจากพ่อแม่ที่แท้จริงของข้าพเจ้าจึงจะสามารถใช้สิทธิเบิกการรํกษาจ่ายตรงได้  ข้าพเจ้าอยากทราบว่าเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเล่ามาหรือไม่ มีวิธีใดบ้างที่ข้าพเจ้าจะใช้สิทธิจ่ายตรงได้ทั้ง ๆ ที่ข้าพเจ้าก็รับราชการ

ผู้แสดงความคิดเห็น อลิศรา วันที่ตอบ 2013-04-09 10:34:53


ความคิดเห็นที่ 8 (3848870)

มี ลูก 1 คน แล้วมีหลาน อีก 1 คน รับเป็นบุตร บุญธรรม  เบิกค่ารักษา ค่าเล่าเรียน ได้หรือเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แดง วันที่ตอบ 2015-07-29 13:34:14


ความคิดเห็นที่ 9 (3881263)

กรณีผู้มีสิทธิเป็นข้าราชการ และผู้มีสิทธิยินยอมที่จะไปเป็นบุตรบุญธรรมของพ่อบุญธรรม กรณีนี้สิทธิการเบิกค่ารักษาของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดยังคงสิทธิเหมือนเดิมหรือไม่ หรือสิทธิเบิกค่ารักษาเป็นของบิดา มารดา บุญธรรม ขอบคุณค่ะ

 

ตอบ-

 

- บุตรที่บิดามารดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาลในฐานะบุคคลในครอบครัว

ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลภัสรดา อมรสิน วันที่ตอบ 2015-10-09 16:36:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล