ReadyPlanet.com


ฟ้องคดีมรดกที่อายุความเกิน10ปีได้ไหมคะ เผื่อจะมีหวัง


คือคุณตา เสียไปเมื่อ30ปีก่อนแล้วคุณยายก็กลายเป็นผู้จัดการมรดก คุณตาคุณยายมีลูกทั้งหมด5คนค่ะหลังจากคุณยายเสียคุณแม่เพิ่งรู้ว่าคุณยายโอนที่ดินและทรัพย์สินไปให้กับลูกๆคนโตไปหมดแล้วโดยคุณแม่เข้าใจว่าคุณยายมีสิทธ์ที่จะให้มรดกนี้แกลูกคนไหนเท่าไหร่ก็ได้ จนกระทั่งวันนึงที่ทางคุณป้ามีคดีความฟ้องบุตรบุญธรรมของคุณยายจึงทำให้คุณแม่ดิฉันรับรู้จากทนายที่เข้าไปช่วยคดีของคุณป้าว่า คุณยายนั้นเป็นเพียงแค่ผู้จัดการมรดกซึ่งก่อนหน้านี้คุณแม่ไม่รู้เรื่องเกียวกับสมบัติคุณตาคุณยายเลยเข้าใจว่าสมบัติอันนี้เป็นของคุณยายจนกระทั่งทนายเอามาบอกว่ายายเป็นเพียงผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งมรดกให้ลูกเท่าๆกัน  แต่ว่าตอนที่รู้นั้นก็เกินอายุความที่กำหนดไว้10ปีแล้ว และมรดกก็ถูกแบ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทุกวันนี้ที่ดิฉันอยากรู้ว่าสามารถเอาเรื่องนี้มาฟ้องเรียกสมบัติกลับคืนมาได้หรือไม่นั้น ก็เพราะคุณป้าดิฉันชอบพูดจาดูถูกว่าครอบครัวแม่จนไม่มีเงินทองเท่าเค้าเค้าเข้าใจว่าสมบัติที่เค้าได้นั้นมาอย่างถูกต้องเพราะคุณยายรักเค้าเค้าเลยได้สมบัติ

ดิฉันเรียนถามว่า คดีนี้สามารถฟ้องได้อยู่หรอไม่คะพอจะมีทางได้บ้างไหม



ผู้ตั้งกระทู้ อารยา :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-29 17:16:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1931408)

ลืมให้ข้อมูลว่าคุณยายได้เสียไป15ปีแล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อารยา วันที่ตอบ 2009-04-29 17:18:52


ความคิดเห็นที่ 2 (1931436)

เมื่อผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว ห้ามมิให้ทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่าห้าปีตามมาตรา 1733 วรรคสอง

 

มาตรา 1733 การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิดหรือข้อตกลง อื่น ๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ ใน มาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่ง มอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อย กว่าสิบวันก่อนแล้ว

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง

 

-------- กรณีที่จะฟ้องคดีมรดกต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือรู้หรือควรรู้ว่าเจ้ามรดกตาย แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เจ้ามรดกตายตามาตรา 1754 วรรคหนึ่งและวรรคสี่

 

 

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-29 18:49:31


ความคิดเห็นที่ 3 (1931462)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2537

 

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของนาย ท. เจ้ามรดกและมีทายาทคือนาง ท. ซึ่งเป็นมารดา กับจำเลยซึ่งเป็นภริยาของเจ้ามรดก ต่อมานาย ท. ถึงแก่ความตาย ที่ดินอันเป็นมรดกในส่วนที่ตกได้แก่นาง ท. จึงตกแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรของนาง ท.แต่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนายท. ได้โอนทรัพย์มรดกเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ เมื่อนายท.ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่29มกราคม2521และนางท.ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 แม้จะไม่ปรากฏว่านาง ท.ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของนายท. หรือไม่อันจะฟังว่าขาดอายุความหนึ่งปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคแรกก็ตาม แต่การที่ นาง ท. มิได้ฟ้องเรียกมรดกภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่นาย ท. ถึงแก่ความตายก็ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของนาง ท. คดีของโจทก์ทั้งสี่ก็ย่อมขาดอายุความด้วย

 

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 481 และ 482 เป็นสินส่วนตัวของนายเทาต่อมาเมื่อปี 2520 นายเทาได้จดทะเบียนลงชื่อจำเลยนางสาวเชาวณี และนางสาวชฎาพรมีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว นายเทาได้ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2521โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินทั้งสองแปลงจึงเป็นมรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งได้แก่จำเลยในฐานะภริยากับบุตรทั้งสองและนางทับซึ่งเป็นมารดาของนายเทา เฉพาะนางทับมีสิทธิได้จำนวน 1 ใน 16 ส่วน ต่อมา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 นางทับได้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ที่ดินอันเป็นมรดกในส่วนที่ตกได้แก่นางทับจึงตกแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตร เมื่อวันที่ 14กันยายน 2531 จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนายเทาได้โอนทรัพย์มรดกของนายเทาเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา และจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 1 ใน 16 ส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายเทาหรือเชาวน์สามี โดยนางทับมารดาและนางเทียบป้าของนายเทายกให้เป็นสินสมรส เมื่อนายเทาถึงแก่ความตายจนถึงวันที่นางทับถึงแก่ความตายเป็นเวลา 10 ปีเศษ นางทับก็ไม่เคยทวงถามและขอส่วนแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงนั้น ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 481 และ 482 ตำบลท่าพลับ อำเภอสนามจันทร์(ปัจจุบันอำเภอบ้านโพธิ์) จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้แก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 1 ใน 25 ส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสี่

โจทก์ทั้งสี่ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่แก้ไขแล้ว ข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสี่กับนายเทาหรือเชาวน์ เสมอตน เป็นบุตรของนางทับ เสมอตนจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเทา มีบุตร3 คน คือนางเชาวณี ระรวยทรง นายชฎิล เสมอตน และนางสาวชฎาพร เสมอตนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนางเทียบและนางทับยกให้นายเทาเมื่อปี 2471 ต่อมาเมื่อปี 2520 นายเทาได้จดทะเบียนให้จำเลยกับนางเชาวณีและนางสาวชฎาพรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง นายเทาถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่29 มกราคม 2521 หลังจากนายเทาถึงแก่ความตาย จำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แต่ผู้เดียวโดยนางทับไม่ได้เกี่ยวข้องนางทับถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายเทาและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ขอเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 519/2531 ของศาลชั้นต้น

ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า ทายาทมีสิทธิฟ้องเกี่ยวกับการจัดการมรดกได้ภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องเรียกมรดกเมื่อวันที่22 กันยายน 2531 จึงไม่ขาดอายุความนั้นพิเคราะห์แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรก บัญญัติว่า"ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" และวรรคท้ายบัญญัติว่า "ถึงอย่างไรก็ดีสิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย" คดีนี้นายเทาถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 และนางทับถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 นับแต่วันที่นายเทาถึงแก่ความตายถึงวันที่นางทับถึงแก่ความตายเป็นเวลา 10 ปีเศษ แม้จะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางทับได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของนายเทาหรือไม่ อันจะฟังว่าขาดอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754วรรคแรก ก็ตามแต่การที่ นางทับมิได้ฟ้องเรียกมรดกภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่นายเทาถึงแก่ความตาย ก็ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคท้าย โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิของนางทับ เมื่อสิทธิของนางทับในการที่จะฟ้องเรียกมรดกขาดอายุความแล้ว คดีของโจทก์ทั้งสี่ก็ย่อมขาดอายุความด้วยที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าคดียังไม่ขาดอายุความเพราะยังไม่พ้นเวลา 5 ปีตามมาตรา 1733 วรรคสอง นั้นเห็นว่า มาตรา 1733 วรรคสองบัญญัติว่า "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของนายเทา จึงจะนำบทบัญญัติในมาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับกับคดีนี้หาได้ไม่"

พิพากษายืน

( ชูชาติ ศรีแสง - นาม ยิ้มแย้ม - วินัย วิมลเศรษฐ )

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-29 19:20:42


ความคิดเห็นที่ 4 (1933627)
เช่นที่ทนายลีนนท์ชี้แจ้งนั้นแหละครับพี่น้อง*****
ผู้แสดงความคิดเห็น คุณปู่ยังหนุ่ม วันที่ตอบ 2009-05-05 22:03:24


ความคิดเห็นที่ 5 (2085266)

คือว่าเจ้ามรดกมีเมียสองคนเมียคนเเรกเป็นผู้จัดการมรดกโดยที่เมียน้อยเเละลูกเมียน้อยไม่ได้ไปเดินเรื่องอะไรเกี่ยวกับศาลเลย

เเละผู้จัดการมรดกก็โอนมรดกนั้นไห้เเก่ลูกเค้าที่เป็นทายาทเจ้ามรดกจนหมดโดยไม่โอนเข้าตัวเอง

เวลาผ่านมาสองสามปีเเล้วลูกเมียน้อยที่เจ้ามรดกรับรองตามกฏหมายจะไปเดินเรื่องทางศาลขอเเบ่งมรดกได้ป่าว

ภายในเวลาเท่าไร่ เเละระยะเวลานับเเต่ศาลตั้งผู้จัดการมรดกรึว่านับเเต่โอนมรดกเสร็จ

เเละถ้าพอจะยื่นเรื่องขอเเบ่งมรดกได้ด้องเตรียมไรบ้าง

เเละมีโอกาสชนะประมานกี่เปอร์เซ็น

เเละมีโอกาสเเพ้ไม้ ถ้าจะเเพ้จะเเพ้ที่ประเด็นไหน

เเล้วถ้าเราสู้คดีไปเเล้วเค้าจะมาอ้างทีหลังได้ป่าวว่าพึ่งเจอพินัยกรรม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สาวน้อยตกอับ วันที่ตอบ 2010-07-13 14:02:03


ความคิดเห็นที่ 6 (2274745)

แต่งงานมีครอบครัวแล้ว และปลูกบ้านในที่ของคุณแม่  มาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว (มีบ้านแม่ 1 หลังและบ้านเรา 1 หลัง)  ช่วยเหลือที่บ้านมาตลอด ฝากหลานเข้าเรียนหนังสือ รับส่งไปโรงเรียนทุกวันเป็นเวลา ร่วม 10 ปี  ต่อมาทะเลาะกับพี่น้อง และน้องชายไล่ครอบครัวเราออกจากบ้าน  (น้องเป็นคนโปรดของแม่)  จึงได้ย้ายออกมาเพราะไม่อยากมีเรื่องกัน มาหาบ้านอยู่ข้างนอกอยู่กับลูก แต่ยังคงเก็บบ้านที่สร้างเองไว้ มีของครบถ้วนและเวียนไปพักที่บ้านทุกเดือน      หากคุณแม่ยกที่ดินให้น้อง และน้องชายต้องการยึดบ้านเรา หรือให้รื้อบ้านของเราออกไป    อยากถามว่า สามารถฟ้องร้องหรือเรียกให้น้องชายจ่ายค่าบ้านที่สร้างไว้ได้หรือไม่ หรือทำอย่างไรได้บ้าง (ไม่ต้องการแย่งมรดก แต่ต้องการแค่เงินที่เราสร้างบ้านไว้คืนมา หากจะรื้อหรือยึดบ้านของเรา)

ผู้แสดงความคิดเห็น คนที่เคยถูกน้องชายไล่ออกจากบ้าน วันที่ตอบ 2012-05-21 16:57:53


ความคิดเห็นที่ 7 (2350985)

ตากับยายตายไปนานแล้ว ตากับยายมีพี่น้อง 3 คน ต่อมา ป้ากับน้า ได้ตายไปอีก เหลือแม่เพียงคนเดียวซึ่งยังไม่ได้แบ่งมรดกกันเลย แต่ป้ามีลูก 1คน กับหลานอีก 1คน โฉนดน่าจะอยู่กับป้าที่ตายไป ลูกป้าครอบครองอยู่ ประมาณ 20 ไร่ แต่ระยะเวลาล่วงเลยมา 20 กว่าปีแล้ว

อยากถามว่า แม่ที่มีชีวิตอยู่สามารถฟ้องร้องได้หรือเปล่า

ผู้แสดงความคิดเห็น นิรนาม วันที่ตอบ 2013-04-19 13:15:43


ความคิดเห็นที่ 8 (4089658)

 ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี

ไม่มีกฎหมายใดบังคับให้ทายาทที่มิได้ครอบครองทรัพย์มรดกด้วยตนเองแต่มีทายาทอื่นครอบครองแทนต้องฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี และการที่ทายาทบางคนได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นแล้วแม้ครอบครองแทนนานเพียงใด หากยังไม่ได้เปลี่ยนเจตนาการยึดถือครอบครอง ยังถือว่าเป็นการครอบครองแทนอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2557

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2016-11-05 13:09:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล