ReadyPlanet.com


สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของรวม ?


1. สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม มีอะไรบ้างคับ 2. ดอกผลธรรมดามีองค์ประกอบ อะไรบ้าง อธิบายให้ผมพอเข้าใจน่ะคับ 3. ดอกผลนิตินัยมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง อธิบายให้ผมพอเข้าใจน่ะคับ ขอขอบคุณล่วงหน้าน่ะคับ


ผู้ตั้งกระทู้ Win :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-14 21:01:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1938479)

ในการดำรงชีวิตของคนเรานั้น ย่อมจะต้องมีทรัพย์สินเป็นของตนเอง เป็นสัดส่วน ของแต่ละคน แต่ก็อาจมีทรัพย์สินที่เป็นของส่วนรวม คือ เป็นเจ้าของร่วมกันอยู่บ้าง ถ้าเป็น สังหาริมทรัพย์ที่แบ่งแยกกันได้ง่าย ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้าเป็นทรัพย์สินที่แบ่งกันยากหรือแบ่ง กันไม่ได้ก็นำมาขายเปลี่ยนเป็นเงินมาแบ่งกันได้ไม่ยากนัก แต่ก็อาจมีปัญหาอีกว่า คนหนึ่ง อยากขาย คนอื่นไม่อยากขาย ถ้าเป็นทรัพย์ราคาไม่มากนัก คนที่ไม่อยากขายก็อาจรับซื้อไว้ เองเป็นเรื่องไม่ยากเช่นกัน แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ ร่วมกันจะมีปัญหายุ่งยากมาก ยิ่งถ้ามีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้น ฉะนั้นผู้ที่มีที่ดินแล้วประสงค์จะยกให้แก่ทายาท ไม่ว่าระหว่างมีชีวิตอยู่หรือทำเป็นพินัยกรรม ยกให้ ก็สมควรแบ่งไว้ให้เป็นสัดส่วน ถ้าให้เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก็จะมีปัญหาภายหลังมาก ก่อนอื่นผมขอให้ทราบหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีกรรมสิทธิ์รวมตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียชั้นหนึ่งก่อน ดังนี้

“ มาตรา ๑๓๕๗ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
มาตรา ๑๓๕๘ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สิน รวมกัน
ในเรื่องจัดการธรรมดา ท่านว่าพึงตกลงโดยคะแนนเสียงข้างมากแห่งเจ้าของรวม แต่เจ้าของรวมคน หนึ่ง ๆ อาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการธรรมดาได้ เว้นแต่ฝ่ายข้างมากได้ ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น แต่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอ
ในเรื่องจัดการอันเป็นสาระสำคัญ ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนข้าง มากแห่ง เจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งของค่าทรัพย์สิน
มาตรา ๑๓๖๒ เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามส่วน ของตนในการออกค่าจัดการ ค่าภาษีอากรและค่ารักษา กับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วย
มาตรา ๑๓๖๔ การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้า ของรวมหรือโดยขายทรัพย์สิน แล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สิน อย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวม คน หนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้ หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่ง ให้ขายโดยประมูลราคากันในระหว่างเจ้าของรวม หรือขายทอดตลาดก็ได้ ”
ในทางปฏิบัติ มันคงไม่ง่ายอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้เพราะมีปัจจัยอื่นเกี่ยวกับ
ความ ต้องการของเจ้าของรวมอีกมาก เช่น
๑. ในด้านการใช้ประโยชน์ของที่ดิน
๑.๑ ถ้าเป็นที่เศรษฐกิจ เช่น เรือกสวน ไร่นา อุตสาหกรรม บริษัทห้างร้าน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แล้วนำมาแบ่งปันกันตามส่วนของแต่ละคนไม่มีปัญหาอะไร แต่ ถ้าเป็นที่อยู่อาศัย หากเจ้าของร่วมคนหนึ่งต้องการปลูกบ้านหรืออาคาร ร้านค้าในสัดส่วนของ ตน ก็ต้องได้รับความยินยอมจากคนอื่นก่อน หรือถ้าจำเป็นจะต้องไปกู้เงินธนาคาร เจ้าของร่วม คนอื่นก็ต้องลงชื่อยินยอมหรือเข้าเป็นผู้จำนองร่วม แล้วแต่เงื่อนไขของธนาคาร โดยผู้กู้เงินต้อง นำเอาโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเฉพาะส่วนมอบไว้ให้กับธนาคารตามระยะเวลาที่ผ่อน
ส่งกับธนาคารด้วย ในระหว่างนี้เจ้าของร่วมคนอื่นก็ไม่สามารถจะทำอะไรกับตัวโฉนดที่ดินนั้น ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากธนาคารเสียก่อน ซึ่งเป็นการยากที่ธนาคารจะยินยอม และ มีกรรมวิธียิ่งยากอีก
๑.๒ การดูแลรักษาก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดวางหลักเกณฑ์ เอาไว้ หรือแล้วแต่จะตกลงยินยอมกัน ซึ่งก็ต้องอาศัยการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติซึ่งกันและกัน
๑.๓ เจ้าของกรรมสิทธิ์คนใดต้องการขายจำหน่ายสิทธิของตนเอง ถ้าเจ้าของ กรรมสิทธิ์คนอื่นไม่สามารถรับซื้อสิทธินั้นได้ ก็จะเกิดปัญหาว่า คนอื่นไม่ต้องการขาย ก็ขาย ไม่ได้ แต่ถ้าจะขายเฉพาะส่วนของตนเองแก่ผู้อื่นก็คงไม่มีใครอยากจะมาซื้อ เพราะต้องมา แบกภาระและเกี่ยวพันกับเจ้าของกรรมสิทธิ์อื่น
๑.๔ ถ้าจะแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ออกเป็นสัดส่วน เช่นแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็น ของแต่ละคนก็ต้องได้รับความร่วมมือยินยอมร่วมกันและปฏิบัติการแบ่งแยกตามระเบียบ ปฏิบัติงานของสำนักงานที่ดินรวมทั้งค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ซึ่งต้องพร้อม ใจกันออกค่า ใช้จ่าย

แหล่งที่มา---

http://www.navy.mi.th/navic/document/911209a.html

 

ดอกผลธรรมดา

มาตรา 148   ดอกผลของทรัพย์ได้แก่ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดาหมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัยหมายความว่าทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่ กำหนดไว้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-16 09:49:02


ความคิดเห็นที่ 2 (1938480)

คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับดอกผลธรรมดา  และดอกผลนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2530

ดอกผล แห่งทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้รับจำนองจะบังคับเอาได้นั้น ถ้า เงินค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองอันเป็นดอกผล นิตินัยแล้วจะต้องเป็นการเช่า ที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่ใช่ไม่มีการเช่า อยู่เลยแล้วคาดหมายว่าอาจให้เช่า และได้ค่าเช่าจำนวนหนึ่งในภาคหน้า ฉะนั้นค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองซึ่งโจทก์คาดว่าจะได้ในภาคหน้า ดังกล่าวจึงไม่ใช่ดอกผล ที่โจทก์ผู้รับจำนองจะพึงบังคับจำนองเอาตาม ป.พ.พ.มาตรา 721 ได้.

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์รับจำนองที่ดินจากนายไพฑูรย์ นวลมณีหุ้นส่วนหรือตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดวิเศษมณีรัตน์ โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองดังกล่าวไปยังนายไพฑูรย์ นวลมณี แล้วมีผลให้การจำนองครอบไปถึงดอกผลแห่งที่ดินและบ้านจำเลยเป็นผู้อยู่ในที่ดินและบ้านที่จำนองโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ถือว่าจำเลยเป็นผู้ได้ดอกผลแห่งทรัยพ์จำนองซึ่งอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เดือนละ 6,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองถึงวันฟ้อง ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ชำระเงิน 168,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จและให้จำเลยใช้เงินค่าดอกผลเดือนละ 6,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะมีการไถ่ถอนจำนองหรือออกไปจากทรัพย์จำนอง

จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดวิเศษมณีรัตน์นายไพฑูรย์ นวลมณี ไม่มีอำนาจนำไปจำนอง การจำนองจึงไม่ผูกพันที่ดินโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ไม่ชอบ ฟ้องเคลือบคลุมโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องดอกผลจากจำเลยเพราะจำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับห้างหุ้นส่วนจำกัดวิเศษมณีรัตน์ และศาลแพ่งได้พิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 11289/2522 ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิเศษมณีรัตน์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยปราศจากภาระติดพันใด ๆ แล้ว ที่ดินและบ้านพิพาทหากให้เช่าจะได้ไม่เกินเดือนละ 500 บาท ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาตามฎีกาของโจทก์เพียงว่า ค่าเช่าที่ดินและบ้านพิพาทที่จำนองซึ่งโจทก์คาดว่าจะได้นับแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ผู้จำนองเป็นต้นไป จะถือว่าเป็นดอกผลที่โจทก์พึงบังคับจำนองเอาจากจำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินและบ้านดังกล่าวได้หรือไม่ เห็นว่าคำว่าดอกผลที่โจทก์จะพึงบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 721 นั้น ต้องถือตามมาตรา 111ที่บัญญัติว่าดอกผลทั้งหลายของทรัพย์นั้น มีความหมายดังนี้1. ดอกผลธรรมดา กล่าวคือว่าบรรดาสิ่งทั้งปวงซึ่งได้มาเพราะใช้ของนั้นอันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ของมัน ดังเช่นว่าผลไม่ น้ำนม ขนและลูกของสัตว์ เหล่านี้ย่อมสามารถถือเอาได้เวลาเมื่อขาดตกออกจากสิ่งน้น ๆ 2. ดอกผลนิตินัย กล่าวคือว่าดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่าค่าปันผลหรือลาภอื่น ๆ ที่ได้เป็นครั้งคราวแก่เจ้าทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อที่ได้ใช้ทรัพย์ นั้น ดอกผลเหล่านี้ย่อมคำนวณและถือเอาได้ตามรายวัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยนั้นต้องเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ใช่ไม่มีการเช่าอยู่เลยแล้วคาดหมายว่าอาจให้เช่าและได้ค่าเช่าจำนวนหนึ่งจากทรัพย์จำนองในภายหน้าดังที่รับข้อเท็จจริงกันไว้ในคดีนี้แล้ว ฉะนั้นค่าเช่าที่ดินและบ้านพิพาทที่จำนองซึ่งโจทก์คาดว่าจะได้ตามฟ้องจึงไม่ใช่ดอกผลที่โจทก์จะพึงบังคับจำนองเอาจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 721 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา"

พิพากษายืน.

( ปชา วรธรรมพินิจ - จุนท์ จันทรวงศ์ - ถวิล ทองสว่างรัตน์ )

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-05-16 10:01:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล