ReadyPlanet.com


เรื่องการให้ความยินยอม ในการหมั้นกับสมรส คับ


ตัวอย่างเช่น นาย1อายุ21ทำการหมั้นนางสาว 2 อายุ17 โดยมีการส่งมอบของหมั้นเป็นแหวน 1วง และบิดามารดาของนางสาวสองยินยอม แต่ต่อมา นางสาว 2ได้ไปมีความสัมพันกัน นาย3 อายุ21 ปีได้ร่วมประเวณีกันจนนางสาว2ท้อง นาย3จึงพานางสาวสองไปจดทะเบียนสมรสโดยบิดามารดาของนางสาว 2ไม่ยินยอมแต่อย่างใด เช่นนี้ บิดาของ นางสาว2 จะเพิกถอนการสมรสของ นางสาว2กับนาย3 ได้ หรือไม่ คับ


ผู้ตั้งกระทู้ กั๊ก :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-30 21:02:53


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1944729)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1454  กำหนดให้ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำมาตรา 1436 มาใช้บังคับคือต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา  การสมรสที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมเป็นโมฆียะ

ดังนั้นตามคำถามบิดาของนางสาว 2 จึงเพิกถอนการสมรสของนางสาว 2 กับ นาย 3 ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2009-05-31 07:42:26


ความคิดเห็นที่ 2 (1944822)
ออ คับ ขอบคุณ คับพอดี เพื่อนมันเถียงกะผม อิอิ
ผู้แสดงความคิดเห็น กั๊ก วันที่ตอบ 2009-05-31 15:22:18


ความคิดเห็นที่ 3 (2399442)

ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย

มาตรา 1436  ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นนั้น มาตรา 1436 ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา  ในการณีที่ผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา เพราะบิดา และมารดาทั้งสองคนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ จึงต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองคน
(2)  บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว  ในกรณีที่มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพ หรือ ฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ ผู้เยาว์ก็มีสิทธิทำการหมั้นโดยได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวได้ กล่าวคือ

(ก) มารดา หรือบิดา ถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว บิดา หรือมารดาที่เหลืออยู่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์เพียงคนเดียวจึงมีอำนาจที่จะให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์ทำการหมั้นโดยลำพังคนเดียว
(ข)  มารดา หรือบิดา ไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ กรณีการไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้เป็นกรณีเกี่ยวกับการให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่กับบิดา หรือมารดา แต่เพียงฝ่ายเดียวตาม มาตรา 1566 วรรคสอง คือ การที่มารดา หรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับ บิดา หรือมารดา หรือบิดา และมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ว่าให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว นอกจากนี้ การที่มารดา หรือบิดา เป็นคนวิกลจริตจนไม่สามารถให้ความยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ทำการหมั้นได้ หรือเจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่าสลบไสลไม่ได้สติสรัง เหล่านี้ก็ถือได้ว่าไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้เช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้บุตรผู้เยาว์ขอความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่เป็นปกติอยู่แต่ผู้เดียวให้ตนทำการหมั้นได้
(ค) โดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ พฤติการ์ที่ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาให้ตนทำการหมั้นได้นั้นหมายถึง กรณีที่มารดาหรือบิดาอาจจะยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ แต่มารดา หรือบิดานั้นได้หายไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด อันเป็นการไม่แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว หรือเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่ยอมส่งข่าวคราวกลับมาเลย เช่นนี้ บุตรผู้เยาว์ก็ขอความยินยอมจากบิดา หรือมารดาที่ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้

การที่ผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดาเพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้นี้เป็นทำนองเดียวกับการที่ผู้เยาว์มาร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ตนทำการสมรสเพราะไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอมตาม มาตรา 1456 สำหรับกรณีที่บิดามารดา แยกกันอยู่ไม่ว่าจะตกลงแยกกันอยู่ระหว่างกันเอง หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่เป็นการชั่วคราวก็ตาม เนื่องจากบิดาและมารดายังมิได้หย่าขาดจากกัน  บิดา และมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่ ฉะนั้น หากผู้เยาว์จะทำการหมั้นก็จะต้องได้รับความยินยอจากบิดาและมารดาทั้งสองคน จะได้รับความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่ตนอยู่ด้วยเพียงคนเดียวไม่ได้

(3)  ผู้รับบุตรบุญธรรม ในการ๊ที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เพราะบิดา มารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/28 ฉกะนั้น เมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่เพียงผู้เดียว
(4)  ผู้ปกครอง  ในกรณีที่ไม่มีบิดามารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว เพราะเมื่อบิดาและมารดา ถึงแก่ความตายไปในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ หรือบิดาและมารดาประพฤติชั่วร้ายต่อบุตรผู้เยาว์จนถูกถอนอำนาจปกครองจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองโดยคำสั่งศาล ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วนั้นไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น ผู้เยาว์ที่บิดา และมารดาถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคนหากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน  เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์จึงมาขอความยินยอมจากผู้ปกครองให้ทำการหมั้น ผู้เยาว์เช่นว่านี้จะมาขออนุญาตศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้เพราะกฎหมายไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ จะอนุโลมใช้ มาตรา 1456 ในกรณีขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสไม่ได้

สำหรับกรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว บุตรผู้เยาว์หากจะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมแต่เฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียวเท่านั้น

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งหมายความว่าผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม มาตรา 175 (1) แม้ในระหว่างเป็นผู้เยาว์ก็บอกล้างได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกเริ่ม ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในสัญญาหมั้นนั้นได้ เมื่อตนได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ตาม มาตรา 177 สำหรับบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง ก็อาจจะให้สัตยาบันสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะซึ่งทำให้การหมั้นนั้นสมบูรณ์มาแต่แรกเริ่มได้ตาม มาตรา 177 แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องการให้ความยินยอม กล่าวคือ ถ้ากรณีที่จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาทั้งสองคนนั้น การให้สัตยาบันก็ต้องให้ทั้งสองคนเป็นต้น แต่สำหรับเรื่องบอกล้างสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นไปตาม มาตรา 175 (1) คือบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งมีสิทธิบอกล้างการหมั้นที่เป็นโมฆียะนี้ได้โดยลำพัง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-12 18:10:19



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล