ReadyPlanet.com


คำสั่งจากแรงงาน


อยากสอบถามว่า ถ้าเราไม่ได้พบเจ้าพนักงามนตรวจแรงงานตามคำสั่งตามเอกสาร จะเป็นอะไรหรือไม่ เนื่องจากไม่ทราบเพราะทำงานอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหนังสือมีมาสามฉบับ คนข้างบ้านรับไว้ให้ ในฉบับสุดท้ายได้แจ้งไว้เป็นลักษณะเหมือนคำสั้งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด บอกว่า ถ้าไม่พอใจในคำวินิจฉัยตามคำสั่งนี้ให้นำเรื่องไปสู่ศาลได้ภายใน30วัน มิฉะนั้นให้คำสั่งนี่เป็นที่สุด แต่มันเลยมาแล้ว เพราะเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ ไม่ทราบว่าต้อ งทำตามคำสั้งหรือเปล่า เพราะบางอย่างไม่ใช่ข้อเท็จจริง และจริงๆแล้วทางสำนักงานมีหน้าที่ได้ขนาดไหน หรือว่าต้องรอให้ศาลสั่งจึงจะเป็นที่สุด เพราะผมจะได้มีโอกาสชี้แจงได้บ้าง รบกวนสอบถามครีบ



ผู้ตั้งกระทู้ เอ :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-14 15:07:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1950436)

ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานมีโทษทางอาญาด้วยครับ

แต่คำสั่งที่ถึงที่สุดของพนักงานตรวจแรงงาน นั้นจะบังคับคดีทันทีไม่ได้ต้องมีคำพิพากษาของศาลแรงงานเสียก่อน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงจะมีสิทธิตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้

ข้ออ้างว่า ขณะได้รับคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานนั้น นายจ้างอยู่ต่างประเทศนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า การส่งคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว คงยากที่จะต่อสู้ได้ครับ

 

เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้

 

 

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขาย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ9,150 บาท ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2541 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างเนื่องจากขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ 16 ขอเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์จำนวน 54,900 บาท ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งตามคำสั่งที่ 4/2541 แต่จำเลยไม่ยอมจ่าย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย 54,900 บาท ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง

จำเลยยื่นคำให้การ ศาลแรงงานกลางเห็นว่า จำเลยไม่ดำเนินการนำคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ถือว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด คำให้การของจำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะรับไว้พิจารณา มีคำสั่งไม่รับคำให้การ

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 54,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาสืบพยานเพื่อความเป็นธรรมแก่นายจ้างลูกจ้าง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 4/2541 ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างสามารถย้ายสถานที่ประกอบการได้โดยลูกจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยพิเศษ แต่พนักงานตรวจแรงงานกลับสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 และโจทก์สมัครใจเลิกสัญญากับจำเลยนั้น เห็นว่าคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 4/2541 ให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 124ซึ่งมาตรา 125 ได้บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง

ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด

ปรากฏตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยไม่นำคดีมาสู่ศาล ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งที่ 4/2541 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามกฎหมายข้างต้นจำเลยจะดำเนินการในศาลแรงงานกลางอีกไม่ได้ ซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้คดีด้วย ทั้งนี้โดยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้าย ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีว่าคำสั่งที่ 4/2541 ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตุที่จำเลยมิได้เลิกจ้างอันทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง แต่เป็นกรณีโจทก์ไม่ประสงค์ไปทำงาน ณ สำนักงานใหญ่ตามที่จำเลยแจ้งย้ายสถานประกอบกิจการแก่โจทก์ตามมาตรา 120 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับเพียงค่าชดเชยพิเศษเท่านั้น อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ไม่รับคำให้การของจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษายืน

( กมล เพียรพิทักษ์ - พิมล สมานิตย์ - วิรัตน์ ลัทธิวงศกร )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542

 

อ่านเพิ่มเติมประกอบ

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538633590&Ntype=13

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-14 16:03:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล