ReadyPlanet.com


การครอบครองปรปักษ์


บิดายกที่ดินส.ค.1(บิดาเป็นผู้แจ้งการครอบครองตามป.ที่ดินปี2497)ให้น้องชาย พี่ชาย(เป็นพี่ชายต่างมารดา)ก็ทราบดีและพี่ชายก็ได้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นแล้วโดยที่ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้เลย  จนกระทั่งทางการได้ออกน.ส.3ก แต่มารดาได้ใส่ชื่อพี่ชายไว้แทนและการออกน.ส.3กดังกล่าวมิได้ออกจากส.ค.1แต่ระบุว่าได้รับที่ดินดังกล่าวมาจากบิดาโดยการให้ต่อมา ก็ได้เปลี่ยนเป็นโฉนดพี่ชายก็บอกให้เปลี่ยนชื่อจากพี่ชายเป็นน้องชายแต่เจ้าหน้าที่บอกต้องใส่ชื่อตามเอกสารน.ส.3ก เท่านั้น  โฉนดดังกล่าวก็ยังเป็นชื่อของพี่ชายอยู่โดยที่พี่ชายก็มิได้มายุ่งเกี่ยวที่ดินแปลงดังกล่าว ส่วนน้องชายก็ครอบครองที่ดินโดยเจตนาเพื่อตนมาตลอดตั้งแต่ออกโฉนดมากว่า 10 ปีแล้ว ต่อมาพี่ชายเสียชีวิต(พี่ชายมีน้องสาวที่เป็นบิดามารดาเดียวกัน 1 คน) น้องสาวที่เป็นพี่น้องบิดามารดาเดียวกันก็ขอเป็นผู้จัดการมรดกศาลอนุญาต  ส่วนน้องชายที่ครอบครองที่ดินไม่มีสิทธิของการเป็นทายาท  จะยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่  ซึ่งทางผู้จัดการมรดกเขาอ้างว่าที่ดินเป็นของแม่เขาทางเราไม่มีสิทธิเราอยู่โดยอาศัยสิทธิของแม่เขาอยู่แต่เขาไม่มีหลักฐานใดๆยื่นยันว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของแม่เขา  แต่ทางเรามีเอกสารที่ยืนยันว่าที่ดินแปลงนี้เราไม่ได้อาศัยสิทธิแม่เขาเลย  บิดาเป็นผู้ครอบครองและได้แจ้งการครอบครองเมื่อปี 2498 ซึ่งแม่ของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นนานแล้ว  กรณีดังที่กล่าวมาข้างต้นเราพอมีสิทธิยื่นคำร้องครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ ส.ค. 1 เรานำมาอ้างเรื่องที่ว่าเราไม่ได้อาศัยสิทธิของแม่เขาได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้รอความหวัง :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-04 15:50:16


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1946709)

เขาจะอ้างโดยอาศัยสิทธิของแม่เขาได้อย่างไร เมื่อไม่มีเอกสารสิทธิที่แสดงว่าแม่มีสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ถ้าเขาจะอ้างก็น่าจะอ้างว่าอาศัยสิทธิของพี่ชายเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจะดีกว่าครับ

อย่างไรก็ตามตอบคำถามคุณว่ายื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ ตอบว่าได้ครับ ส่วนข้อเท็จจริงก็ไปว่ากันไปในชั้นศาลครับ

การอ้าง ส.ค. 1 จะมีประโยชน์หรือไม่นั้นต้องให้ทนายความที่รับว่าความให้พิจารณาดูประกอบกับเหตุผลอื่นด้วยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-04 17:13:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล