ReadyPlanet.com


ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน


ทำไม ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  และหมายความว่าอย่างไร

มีความเป็นจริงเสมอไปหรือไม่ และมีข้อยกเว้นหรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ LPS :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-17 18:15:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1951868)

หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน


ถ้าผู้ขายไม่มีสิทธิที่จะขาย ผู้ซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 162/2477
ทำสัญญาซื้อทรัพย์จากผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ เจ้าของแท้จริงฟ้องขอให้เพิกถอนและคืนทรัพย์ได้

 

ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เช่าโรงสีพร้อมทั้งเครื่องจักรสีเข้าของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครไปตั้งสีเข้าในที่ของจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดตราด แลมีข้อสัญญากันว่าเครื่องอุปกรที่จำเลยสร้างเพิ่มเติมขึ้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิของโจทก์ด้วยบัดนี้จำเลยที่ 1 ได้ขายเครื่องจักร์โรงสีแลเครื่องอุปกรณ์ที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงฟ้องขอให้เลิกสัญญาเช่าระวางโจทก์กับจำเลยที่ 1 กับขอให้เพิกถอนสัญญา ซื้อขายระวางจำเลยที่ 1 ที่ 2 แลขอให้คืนกรรมสิทธิในเครื่องจักร์สีเข้านั้นแก่โจทก์

 

จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่า (1)จำเลยที่ 2 ควรได้กรรมสิทธิเพราะซื้อโดยสุจริตตาม ม.1332(2) โรงสีกับเครื่องจักร์ได้ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 ๆ ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิตาม ม.1315 ฉะนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อจากจำเลยที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ (3)แม้จำเลยที่ 1 จะได้ทำสัญญายกให้โจทก์ก็ใช้ไม่ได้เพราะเป็นอสังหาริมทรัพย์ แลทำสัญญากันเองไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตาม ม.456-525-1299

          

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามข้อต่อสู้ของจำเลยข้อ 1 ที่อ้าง ม.1332 นั้นเป็นเรื่องซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด ต่างกับเรื่องนี้เพราะเป็นการตกลงซื้อขายแก่กันฉะเพาะตัว ส่วนข้อ 2 เห็นว่าตามมาตรา 1315 นั้นบัญญัติแต่เรื่องสัมภาระของผู้อื่นที่บุคคลใดนำมก่อสร้างบนที่ดินของตนต่างกับคดีนี้เพราะเป็นเรื่องเช่าโรงสีแลเครื่งอจักร์เข้ามาปลูกชั่วคราว บทที่อ้างมาจึงไม่ตรงกับรูปคดีนี้ส่วนข้อ 3 บทกฎหมายที่อ้างขึ้นมาไม่ตรงกับคดีนี้เพราะคดีนี้ไม่ใช่เรื่องซื้อขายแลยกให้เป็นเรื่องเช่าต่างหาก คือจำเลยเช่าโรงสีแลเครื่องจักร์ของโจทก์ไปปลูกสร้าง ซึ่งจะต้องมีการซ่อมแซมเพิ่มเติมจึงได้มีสัญญากันไว้ว่า ถ้าจำเลยไม่เช่าแล้วยอมยกสิ่งที่ตนซ่อมแซมเพิ่มเติมขึ้นให้แก่โจทก์ จึงตัดสินให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระวางจำเลยทั้ง 2 นั้นเสีย ให้กรรมสิทธิโรงสีแลเครื่องจักร์เป็นของโจทก์



ข้อยกเว้นของหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน


ก. เจตนาลวง


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”


เช่น ก. มีหนี้สินมาก กลัวว่าเจ้าหนี้จะมาบังคับยึดรถยนต์ของตนไป จึงทำการขายรถยนต์ของตนให้ ข. โดย ก. กับ ข. รู้กันว่า การซื้อขายรถยนต์นี้ ไม่ได้ทำกันจริงจัง ทำไว้เพื่อป้องกันเจ้าหนี้ ก. มายึดรถยนต์เอาไปเท่านั้น การซื้อขายระหว่าง ก. และ ข. ย่อมเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังคงเป็นของ ก. อยู่ หากว่าต่อมา ข. แอบเอารถยนต์คันดังกล่าวไปขายให้ ค. ค. รับซื้อโดยสุจริต ไม่รู้ว่าการซื้อขายระหว่าง ก. กับ ข. เป็นโมฆะ ค. ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้น เพราะ ค. เป็นผู้ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น



ข. ตัวแทนเชิด


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 บัญญัติว่า “บุคคลใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้น จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน” เช่น ก. เอาแหวนของ ข. เที่ยวบอกขายคนทั่วไปอ้างว่า ข. ยอมให้เอามาขายได้ ข. รู้เห็นก็ไม่กล่าวทักท้วง ค. จึงซื้อไปโดยสุจริต แม้ความจริง ก. ไม่ใช่เจ้าของแหวน ไม่มีสิทธิเอาไปขาย ค. ก็ได้กรรมสิทธิ์



ค. กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2
ซึ่งบัญญัติว่า

 “ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว”


เช่น ก. ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ข. โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แต่ ก. ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ระหว่างนั้น ข. จะด้วยเจตนาอย่างไรก็ตาม ได้โอนทะเบียนที่ดินให้แก่ ค. ถ้า ค. รับซื้อไว้โดยสุจริต กล่าวคอ ไม่ทราบถึงการที่ ก. ได้กรรมสิทธิ์ไปแล้วและทั้ง ค. ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินนั้นด้วยการซื้อขาย ข. โดยสุจริตอีกด้วย ก. ผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์นั้นจะยกขึ้นต่อสู้ ค. ผู้ได้ที่ดินมาโดยการซื้อขาก ข. โดยสุจริตและได้จดทะเบียนแล้วไม่ได้ แม้ว่า ข. จะมิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นแล้วก็ตาม



ง. กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1303
ซึ่งบัญญัติว่า

 “ถ้าบุคคลหลายคน เรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แต่ต้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและได้ครอบครองโดยสุจริต”



คำพิพากษาฎีกาที่ 729/2486


เดิมเครื่องใช้ในร้านตัดผมเป็นของ ม. แล้วขายให้โจทก์โดยมิได้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ ม. ได้ทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ในวันเดียวกัน ต่อมา ม. เอาไปขายให้จำเลย จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์นั้นตลอดมา การชำระเงินซื้อขายชำระกันที่สถานีตำรวจ จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์

 

ข้อเท็ดจิงได้ความว่านายประพันธได้ขายเครื่องไช้ไนร้านตัดผมไห้แก่โจทโดยมิได้ส่งมอบการครอบครองไห้โจทแล้วต่อมานายประพันธได้เอาทรัพย์นั้นขายไห้แก่จำเลยโดยจำเลยรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้รับมอบการครอบครองมาเปนของจำเลยแล้ว โจทจึงมาฟ้องเรียกทรัพย์นั้นคืนมาจากจำเลย

          

สาลชั้นต้นพิจารนาแล้วพิพากสายกฟ้องโจทก์

          

โจทก์อุธรน์ สาลอุธรน์พิพากสากลับให้จำเลยส่งทรัพย์ไห้โจทก์ แต่ผู้พิพากสาสาลอุธรน์นายหนึ่งมีความเห็นแย้ง

          

จำเลยดีกา สาลดีกาเห็นว่า ทรัพย์สินที่พิพาทได้หยู่ไนความครอบครองของจำเลยโดยจำเลยได้การครอบครองทรัพย์นั้นมาโดยสุจริตทั้งได้เสียค่าตอบแทนไปแล้วรวมกับทรัพย์อื่นอีก 19 ชิ้นเปนเงิน 170 บาท จำเลยจึงมีสิทธิ์ไนทรัพย์เหล่านั้นดีกว่าโจทตามประมวนกดหมายแพ่งและพานิชมาตรา 1303 จึงพิพากสากลับไห้ยกฟ้องโจท ยืนตามสาลชั้นต้น

 



จ. กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329
บัญญัติว่า

“สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างภายหลัง”


เช่น ผู้เยาว์ทำสัญญาขายรถยนต์ให้ ก. โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนี้เป็นโมฆียะ ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์อาจบอกล้างได้ ในระหว่างที่ผู้แทนโดยชอบธรรมยังไมได้บอกล้าง ก. ได้เอารถยนต์คันนั้นไปขายให้ ข. อีกต่อหนึ่ง เมื่อ ข. รับซื้อมาแล้ว ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นจึงได้บอกล้างนิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้เยาว์กับ ก. ดังนี้ ข. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นโดยสมบูรณ์ แต่ถ้ามีการโอนกันหลายทอด เช่นต่อมา ข. ยังขายไปให้ ค. แม้ ค. จะรู้ ค. ก็ยังได้กรรมสิทธิ์ เพราะ ข. ผู้โอนมีสิทธิในรถยนต์คันนี้โดยสมบูรณ์แล้ว



ฉ. กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330
บัญญัติว่า

 “สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้นท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย”



คำพิพากษาฎีกาที่ 132/2477


ผู้ซื้อทิ่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไว้โดยสุจริต ถึงแม้จะยังไม่ได้โอนโฉนดมาเป็นของผู้ซื้อก็ดี ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้น เจ้าหนี้ไม่มีอำนาจยึด

  

คดีนี้จำเลยแพ้ความ ล.ศาลยีดที่นาจำเลยออกขายทอดตลาด ผู้ร้องได้ซื้อที่รายนี้ไว้ต่อมาเดือนเศษโจทก์ฟ้องจำเลยเพราะผิดสัญญายอมความกับโจทก์ โจทก์ชนะคดีจึงนำยึดที่นารายนี้ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์

          

ศาลฎีกาเห็นว่าที่รายนี้เป็นที่มีโฉนดผู้ร้องได้ซื้อไว้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลโดยสุจริต แม้จะปรากฎในภายหลังว่ายังมีทันได้โอนโฉนดกันก็ดี ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิตามป.พ.พ.ม. 1330 และตามนัยฎีกาที่ 271/2470 ที่ 331/2476 จึงพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์ถอนการยึด

 



ช. กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332
บัญญัติว่า

 “บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา”
ข้อยกเว้นตามมาตรานี้ หมายความว่า ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อ ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นโดยสมบูรณ์ หากแต่ทำให้เกิดสิทธิชนิดหนึ่งทำนองเดียวกับสิทธิยึดหน่วง คือ สิทธิที่จะยึดทรัพย์สินไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระราคาที่ตนต้องออกเงินซื้อไป

พฤติการณ์ที่จะทำให้ผู้ซื้อโดยสุจริตเกิดสิทธิเรียกให้ใช้ราคาจากเจ้าของอันแท้จริงมีอยู่เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ


1) การซื้อในการขายทอดตลาด
หมายถึงในการขายโดยวิธีประมูลราคาโดยเปิดเผยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 509 – 517


คำพิพากษาฎีกาที่ 213/2495


โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยเอาไว้แล้วเถียงกรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของโจทก์ เมื่อได้ความว่า จำเลยซื้อทรัพย์นั้นจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตแล้ว ศาลก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนให้ได้ เพราะโจทก์มิได้เสนอชดใช้ราคาตามหน้าที่ของตนตามมาตรา 1332

โจทก์ฟ้องว่า เรือโกลนไม้ตะเคียนทองพิพาท 1 ลำ เป็นกรรมสิทธิของโจทก์ จำเลยได้บังอาจชักลากเอาไปเสีย และกลับเถียงกรรมสิทธิ จึงขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่า เป็นเรือของโจทก์และให้ชักลากไปไว้ที่เดิม ฯลฯ

          

จำเลยให้การว่า จำเลยประมูลเรือพิพาทได้มาณะที่ที่ว่าการอำเภอ จึงเป็นกรรมสิทธิของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย

          

ศาลชั้นต้นเห็นว่า เรือพิพาทเป็นของโจทก์ เจ้าพนักงานเข้าใจผิด เอาไปขายทอดตลาด แม้จำเลยจะซื้อไปก็ไม่ได้กรรมสิทธิ พิพากษาว่าเรือพิพาทเป็นของโจทก์

          

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

          

โจทก์ฎีกา

          

ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเฉพาะแต่ในเรื่องกระทำละเมิด และเรียกทรัพย์คืน มิได้เสนอขอชดใช้ราคาตามหน้าที่ของตนตามมาตรา 1332 ประเด็นจึงมีแต่ว่า จำเลยซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริตหรือไม่คือจำเลยได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิเรือพิพาทหรือไม่ ซึ่งตามรูปเรื่อง จำเลยมิได้รู้ถึงกรรมสิทธิของโจทก์เลย ทั้งผู้เข้าซื้อทอดตลาดก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องสอบสวนการกระทำของเจ้าพนักงานว่าถูกผิดกับกฎหมายบทนี้อย่างใด ฉะนั้นแม้โจทก์จะมีกรรมสิทธิในเรือพิพาทจริง ก็ไม่อาจจะบังคับเรียกคืนเรือโกลนนั้นจากจำเลย ดั่งฟ้องได้

จึงพิพากษายืน

 



2) การซื้อในท้องตลาด


หมายถึงการซื้อขายในสถานที่ที่ประชาชนทั่วไปทราบกันดีอยู่แล้วว่า สินค้าชนิดนั้นย่อมมีขายในที่นั้นโดยมีผู้ขายหลายๆ คน ต่างคนต่างขาย ฉะนั้นเพียงแต่มีร้านอยู่ร้านเดียวตั้งอยู่ในทำเลที่มิใช่การค้าขายของชนิดนั้น ไม่ถือว่าเป็นท้องตลาดขายของชนิดนั้น แต่ถ้ามีหลายๆ ร้านขายของชนิดนั้นอยู่ในทำเลเดียวกัน ก็อาจถือได้ว่าเป็นท้องตลาดได้



คำพิพากษาฎีกาที่ 907/2490


คำว่า “ท้องตลาด” หมายถึงชุมชนแห่งการค้า ถ้าเพียงแต่ปรากฏว่าเป็นร้านค้า ยังไม่อาจถือว่าเป็นท้องตลาด

  

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อสายพานไว้จากพ่อค้าในท้องตลาดด้วยความสุจริต จำเลยพาตำรวจมายึดไปจากโจทก์ โดยอ้างว่า เป็นสายพานของจำเลยซึ่งถูกผู้ร้ายลักไปแล้วจำเลยได้รับสายพานนั้นคืนไปจากตำรวจ จึงขอให้จำเลยคืนสายพาน หรือใช้ราคา 2035 บาทให้แก่โจทก์

          

ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยคืนสายพานแก่โจทก์ ถ้าไม่คืนก็ให้ใช้ราคาสายพานพร้อมทั้งดอกเบี้ย

          

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 และได้ชำระราคาให้แล้ว ได้ติดต่อให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบทะเบียนและหลักฐานการโอน จำเลยที่ 1 ผัดผ่อนเรื่อยมาจนเลิกกิจการ ต่อมาโจทก์ทราบว่ารถยนต์คันนี้เดิมเป็นของจำเลยที่ 2 ขายให้จำเลยที่ 1 แต่ชื่อตามทะเบียนยังเป็นของจำเลยที่ 2 จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบทะเบียนรถแก่โจทก์ มิฉะนั้นก็ให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนยานพาหนะออกทะเบียนหรือใบแทนลงชื่อโจทก์เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

          

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ

          

ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ไม่สิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของอันแท้จริงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 2 ถ้าคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคา 25,000บาทแทน

          

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 และมาตรา 572 แล้วเห็นว่า การเช่าซื้อนอกจากผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดแล้ว ผู้ให้เช่ายังได้ให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในเมื่อผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวด้วย ดังนั้นในกรณีที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินครบถ้วนให้แก่ผู้ให้เช่าแล้ว ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในทำนองเดียวกันกับผู้ให้เช่าได้ขายทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่า จึงถือได้ว่าผู้เช่าซื้อซึ่งได้ใช้เงินครบถ้วนแล้วเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินตามความในมาตรา 1332

          

ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้นางเส็งเช่าไป จำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท จริงอยู่ โจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์ตามความในมาตรา 1332 แต่ตามความในมาตรานี้มิได้บัญญัติให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ หากแต่ให้มีสิทธิชนิดหนึ่งเท่านั้น คือ ให้มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์นั้นไว้ได้ ไม่ต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบทะเบียนและให้จัดการใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียน

          

ปัญหาต่อไปมีว่า โจทก์จะต้องคืนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อคดีได้ความว่า โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อโดยสุจริตจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น และได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว และถือว่าเป็นผู้ซื้อดังได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความในมาตรา 1332 คือโจทก์ไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชดใช้ราคาตามหน้าที่ของตน ศาลไม่อาจบังคับเรียกคืนทรัพย์สินนั้นจากโจทก์ได้

          

พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ไม่ขัดสิทธิจำเลยที่ 2 ที่จะเรียกทรัพย์รายนี้คืนตามสิทธิของตนต่อไป นอกจากที่แก้นี้ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

จำเลยฎีกา

          

ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่า "ท้องตลาด" ในบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 1332 หมายความถึงที่ชุมนุมแห่งการค้า เมื่อโจทก์อ้างว่าซื้อจากท้องตลาด โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบแต่ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่า ร้านที่โจทก์ซื้อสายพานมาอยู่ในท้องตลาด โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดใช้ราคาทรัพย์สินที่ซื้อมา จึงพิพากษากลัยให้ยกฟ้อง

 

 



3) การซื้อจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น


คำว่า “พ่อค้า” ในที่นี้หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพในการซื้อขายโดยถือเอากิจการค้าขายเป็นปกติธุระ ฉะนั้นผู้ไปซื้อทรัพย์สินใดมาขายเพียงครั้งหนึ่งคราวเดียวหรือสองสามคราว น่าจะยังไม่เป็นพ่อค้าจนกว่าจะได้ตกลงปลงใจประกอบอาชีพนั้นเป็นปกติธุระ และไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าประจำ อาจเป็นพ่อค้าเร่ก็ได้ แต่ต้องเป็นสินค้าที่พ่อค้านั้นขายเป็นปกติด้วย



คำพิพากษาฎีกาที่ 706/2492


จำเลยที่ 2 ตั้งร้านค้าของชำ และมีอาชีพทางรับเครื่องทองรูปพรรณทำด้วยเงิน ทอง นาก จากร้านขายทองเช่นนั้นไปจำหน่ายหากำไรบ้าง ขายเครื่องรูปพรรณของตนเองบ้าง จำเลยที่ 2 เคยติดต่อรับของจากร้านที่จำเลยที่ 1 ไปจำหน่าย ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นพ่อค้าขายของตามความหมายในมาตรา 1332 ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 นำเข็มขัดนากจากร้านของจำเลยที่ 1 มาขายให้โจทก์และโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอาชีพในทางตั้งร้านค้าสิ่งของทองรูปพรรณ จำเลยที่ 2 มีอาชีพในทางรับสิ่งของอันมีค่าเพียงเร่ขายเป็นปกติ จำเลยที่ 2 ได้นำเข็มขัดนาคมาบอกขายให้โจทก์เป็นราคา 2,000 บาท แต่ในที่สุดตกลงราคากัน 1,700 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานไปยึดเข็มขัดนาคจากโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 มาหลอกลวงรับเข็มขัดนาคของจำเลยที่ 1 ไปจำหน่าย แล้วไม่ใช้ราคาให้เจ้าพนักงานได้มอบเข็มขัดให้จำเลยที่ 1 ไป โจทก์จึงฟ้องขอให้คืนเข็มขัด หรือใช้ราคา 2,000 บาท จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 2 มาพูดหลอกลวงรับเอาเข็มขัดไปจากจำเลยที่ 1 ต่อมาเจ้าพนักงานจับเข็มขัดได้จากโจทก์ จึงคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์หามีสิทธิฟ้องเรียกคืน หรือให้จำเลยที่ 1ใช้ราคาไม่ จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1และให้จำเลยที่ 2 ใช้ราคา 1,700 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ให้จำเลยที่ 1 คืนเข็มขัดนาคถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 1,700 บาท

จำเลยฎีกา

          

ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ 2 ตั้งร้านขายของชำและมีอาชีพทางรับของเครื่องรูปพรรณที่ทำด้วยเงิน ทองนาค จากร้านขายของไปเที่ยวจำหน่ายเพื่อหากำไรบ้าง ขายเครื่องรูปพรรณของตนเองบ้าง และจำเลยได้ปฏิบัติการค้าเช่นนี้เป็นอาชีพตลอดมาเป็นเวลา 10 ปีแล้วฐานะของจำเลยที่ 2 มีอาชีพเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ก็ทราบดี เพราะจำเลยที่ 2 เคยไปติดต่อรับของไปจากร้านจำเลยที่ 1 ไปจำหน่ายพฤติการณ์ดังนี้พอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นพ่อค้าขายของรูปพรรณเมื่อจำเลยที่ 2 นำมาขายให้โจทก์ และโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์จึงไม่ต้องคืนเจ้าของอันแท้จริง เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่โจทก์ซื้อไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332

          

พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคา 1,700 บาท ให้โจทก์ตามฟ้องหรือจะเลือกคืนเข็มขัดนาคให้โจทก์ตามฟ้อง แทนการใช้ราคาก็ได้นอกนั้นยืนตาม

 



คำพิพากษาฎีกาที่ 1120/2495


สลากกินแบ่งของรัฐบาลจัดว่าเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ ผู้ใดถือสลากกินแบ่งย่อมถือว่าเป็นเจ้าของ เว้นแต่จะมีเหตุแสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นได้มีไว้โดยไม่สุจริต
ซื้อสลากกินแบ่งของรัฐบาลจากผู้มีอาชีพทางค้าขายสลากกินแบ่งโดยสุจริต ไม่ทราบว่าเป็นสลากของผู้อื่นที่รับไปจำหน่ายแล้วสูญหาย แม้เจ้าของจะได้แจ้งความและอายัดกับสำนักงานสลากกินแบ่งไว้แล้วก็ตาม ดังนี้ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิได้รับรางวัลเมื่อสลากถูกรางวัล

   โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อไปจำหน่าย 15 เล่ม ระหว่างทางเรือล่ม สลากศูนย์หายไปทั้งหมด ได้แจ้งความและอายัติต่อสำนักงานสลากกินแบ่งแล้ว ต่อมาปรากฎว่าสลากที่ศูนย์หายนั้นถูกรางวัลที่ 7 ฉะบับ จำเลยนำมาขอรับเงินรางวัลต่อสำนักงานสลากกินแบ่ง 3 ฉะบับ รวมเป็นเงิน 3000 บาท จึงขอให้จำเลยคืนสลากกินแบ่ง 3 ฉะบับนั้นแก่โจทก์ ฯลฯ

          จำเลยต่อสู้ว่า ซื้อมาโดยสุจริต

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1332 เพราะจำเลยซื้อสลากมาจากผู้มีอาชีพทางค้าขายสลากกินแบ่ง และไม่มีเหตุที่จะส่อให้เห็นว่า จำเลยซื้อไว้โดยทุจริต หรือืทราบการอายัติของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

          

ศาลฎีกาเห็นว่า สลากกินแบ่งรัฐบาลนี้ จัดว่าเป็นทรัพย์สินชะนิดหนึ่ง ซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ ผู้ใดถือสลากย่อมถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ เว้นแต่จะมีเหตุแสดให้เห็นว่า ผู้นั้นมีไว้โดยไม่สุจริต แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงมิได้ปรากฎว่าจำเลยมีสลากไว้โดยไม่สุจริตอย่างใด คดีจึงพออนุโลมเข้าใน ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1332 ได้ ฯลฯ

          จึงพิพากษาสยืน

 



คำพิพากษาฎีกาที่ 1130/2507


ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้ซื้อตามมาตรา 1332

 

 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 และได้ชำระราคาให้แล้ว ได้ติดต่อให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบทะเบียนและหลักฐานการโอน จำเลยที่ 1 ผัดผ่อนเรื่อยมาจนเลิกกิจการ ต่อมาโจทก์ทราบว่ารถยนต์คันนี้เดิมเป็นของจำเลยที่ 2 ขายให้จำเลยที่ 1 แต่ชื่อตามทะเบียนยังเป็นของจำเลยที่ 2 จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบทะเบียนรถแก่โจทก์ มิฉะนั้นก็ให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนยานพาหนะออกทะเบียนหรือใบแทนลงชื่อโจทก์เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ

          

ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ไม่สิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของอันแท้จริงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 2 ถ้าคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคา 25,000บาทแทน

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา

          

ศาลฎีกาพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 และมาตรา 572 แล้วเห็นว่า การเช่าซื้อนอกจากผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดแล้ว ผู้ให้เช่ายังได้ให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในเมื่อผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวด้วย ดังนั้นในกรณีที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินครบถ้วนให้แก่ผู้ให้เช่าแล้ว ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในทำนองเดียวกันกับผู้ให้เช่าได้ขายทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่า จึงถือได้ว่าผู้เช่าซื้อซึ่งได้ใช้เงินครบถ้วนแล้วเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินตามความในมาตรา 1332

          

ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้นางเส็งเช่าไป จำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท จริงอยู่ โจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์ตามความในมาตรา 1332 แต่ตามความในมาตรานี้มิได้บัญญัติให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ หากแต่ให้มีสิทธิชนิดหนึ่งเท่านั้น คือ ให้มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์นั้นไว้ได้ ไม่ต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบทะเบียนและให้จัดการใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียน

          

ปัญหาต่อไปมีว่า โจทก์จะต้องคืนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อคดีได้ความว่า โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อโดยสุจริตจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น และได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว และถือว่าเป็นผู้ซื้อดังได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความในมาตรา 1332 คือโจทก์ไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชดใช้ราคาตามหน้าที่ของตน ศาลไม่อาจบังคับเรียกคืนทรัพย์สินนั้นจากโจทก์ได้

          

พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ไม่ขัดสิทธิจำเลยที่ 2 ที่จะเรียกทรัพย์รายนี้คืนตามสิทธิของตนต่อไป นอกจากที่แก้นี้ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ค้นหารวบรวม วันที่ตอบ 2009-06-17 18:27:24


ความคิดเห็นที่ 2 (2392301)

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 814/2554
ช.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทแก่ อ. เมื่อ ช. ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของ อ. ต่อมา อ.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งห้า เมื่อ อ.ตาย ที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ทั้งห้า แม้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคน ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งห้าไปขายโดยทายาทผู้ได้รับมรดกไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า แม้จำเลยที่ 2 แม้จะซื้อที่ดินโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เพราะการจะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ จำเลยที่ 1 ผู้โอนต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว และการโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 วันที่ตอบ 2013-07-26 15:10:21


ความคิดเห็นที่ 3 (2392302)

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน(ซื้อรถยนต์จากผู้กระทำความผิด)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1344/2535
          เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท

 

(รูปภาพสำหรับ - สำนักงานทนายความ, และ ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

 

 

 

 

 

บริการของ สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ
สำนักงานกฎหมายพีศิริทนายความ ก่อตั้งโดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  รับว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภคและคดีอื่นๆ ทุกคดี รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย รับเป็นทนายความแก้ต่างต่อสู้คดี ข้อตกลง ตลอดจนข้อสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องเรียกเงินผิดสัญญากู้ยืมเงิน ผิดสัญญาจ้างทำของ  ฟ้องหย่า ฟ้องเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในคดีครอบครัว ฟ้องเรียกบุตรคืน ฟ้องถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากหญิงที่แสดงตนว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับคู่สมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว ฟ้องให้จดทะเบียนรับรองบุตร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องขอให้ศาลมีว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ฟ้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตร ฟ้องให้คู่หย่าปฏิบัติตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า  ฟ้องเรียกค่าทดแทนผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน ฟ้องบอกเลิกสัญญาหมั้นเรียกของหมั้นคืน ฟ้องคู่สมรสขอแยกกันอยู่ชั่วคราว ฟ้องขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนละครึ่ง ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตแทนการให้ความยินยอมขายที่ดินสินสมรส ฟ้องขอเพิกถอนการให้ที่ดินสินสมรส  ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินสินสมรส  ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในบัญชีธนาคาร  ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อน   ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วย  ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรเพื่อรับบำเหน็จตกทอดจากทางราชการ  ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากเป็นหมันไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้  ฟ้องคดีขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการให้ความยินยอมของมารดาในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง  ขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  คดีขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ติดต่อทนายความได้เลย ฟ้องหย่าคิดถึงทนายความลีนนท์ ติดต่อทนายความลีนนท์ ได้ที่หมายเลข 0859604258

 

 

 

ทนายความคดีครอบครัว ทนายความฟ้องหย่า

สำนักงานทนายความ โดย  ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับฟ้องคดีครอบครัว เช่น

ฟ้องหย่าโดยความยินยอม  

ฟ้องหย่าตามบันทึกข้อตกลง

ฟ้องหย่าให้โจทก์แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

ฟ้องหย่าให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ

ฟ้องหย่าเรียกคืนของหมั้น

ฟ้องหย่าแบ่งสินสมรส

ฟ้องหย่าอ้างเหตุอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น

ฟ้องหย่าอ้างเหตุเป็นชู้หรือมีชู้

ฟ้องหย่าอ้างเหตุร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

 __________________________________________________________

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อสำนักงานทนายความ,และ ทนายความ

สำนักงานกฎหมายและบัญชี อินเตอร์ คอนซัลแตนท์
หมวดหมู่ : ทนายความ
บริการ-ทางด้านกฎหมาย ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย รับว่าความทั่วราชอาณาจักร  กฎหมาย บัญชี ทนายความ, จดทะเบียนบริษัท,
ที่อยู่ - 399/48 ซอยทองหล่อ 21 สุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110

บริษัท กฎหมายเมืองทอง จำกัด
หมวดหมู่ : ทนายความ
บริการ-รับว่าความทั่วราชอาณาจักร,รับจัดตั้งบริษัท,รับทำบัญชีและยื่นภาษี,งานรับเหมาก่อสร้างและการให้บริการรักษาความปลอดภัย(รปภ.)
ที่อยู่ -อาคารซี 3 อิมแพคเมืองทองธานี ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120

บริษัท ศักยภาพกฎหมายและธุรกิจ จำกัด
หมวดหมู่ : ทนายความ
บริการทวงถามจัดเก็บหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ - ฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย ฯลฯ
ที่อยู่ - 267/4-5 ซอยลาดพร้าว 101 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กทม 10310

สำนักงานกฎหมาย อัมรา สามนกฤษณะ ทนายความ
หมวดหมู่ : ทนายความ
ที่อยู่ -  135/27 หมู่ 12 หมู่บ้านลิขิต 7 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
บริการ - ปรึกษาคดี ประกันตัวผู้ต้องหา ทำบัญชี จดทะเบียนบริษัท รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
หมวดหมู่ : ทนายความ
ที่อยู่ - สนง ศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม 10120
บริการ - ที่ปรึกษากฎหมาย (Legal Advice)


ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักงานสหนนท์กฎหมายและธุรกิจ
หมวดหมู่ : ทนายความ
ที่อยู่ - 155/131-3 ซอยรัตนาธิเบศร์ 18 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000
บริการ - รับว่าความทั่วราชอาณาจักร เร่งรัดติดตามหนี้สิน เช็คเด้ง, เงินกู้, ตั้งผู้จัดการมรดก, บังคับคดี, อุทธรณ์, ฏีกา ด้านกฎหมาย

ดนัยและเพื่อน สนง ทนายความ
หมวดหมู่ : ทนายความ
ที่อยู่ - 15 สมเด็จเจ้าพระยา 4 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม 10600
บริการ - ดนัย และเพื่อน สำนักงาน ทนายความ ให้บริการทางด้านกฎหมาย ทนายความ งานด้านบัญชีครบวงจร จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 วันที่ตอบ 2013-07-26 15:11:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล