ReadyPlanet.com


โอนมรดกที่ดิน สปก.4-01 ก


คุณแม่ มีที่ดิน สปก 4-01 ก จำนวน 43 ไร่ มีพี่น้อง 5 คน ได้ไปที่สำนักงานปฎิรูปที่ดินเรื่องการโอนสิทธิรับมรดกแล้วแต่ไม่สามารถทำได้เพราะสาเหตุใดคะ หรือว่ามีเกณฑ์การแบ่งมรดกแบบไหน หรือมีวิธีการอย่างไรบ้าง


ผู้ตั้งกระทู้ มาริโอ๊ะ (kobpani-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-26 13:55:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1956009)

เจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และเกษตรกรผู้นั้นต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม ดังนั้นผู้ทื่ไม่ใช่เกษตรกร หรือเป็นเกษตรการแต่มีที่ดินทำกินแล้ว จะไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับมรดกตกทอด แต่อย่างไรก็ตามคุณน่าจะสอบถามเหตุผลจากทางเจ้าหน้าที่ได้นะครับ

 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในนามผู้ว่าราชการจังหวัด มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจลงนามอนุญาตในนามของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 โจทก์เป็นบุตรของนายพุฒกับนางข่าย ราชอินทร์ เมื่อปี 2513 นางข่ายถึงแก่ความตาย ต่อมาปี 2535 นายพุฒได้ทำการสมรสกับจำเลยที่ 3 แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2540 นายพุฒได้ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 นายพุฒได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ก) สารบัญทะเบียนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเลขที 6226 อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวา เมื่อนายพุฒถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม คือโจทก์และจำเลยที่ 3 คนละครึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 โจทก์ติดต่อขอรับมรดกในที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธ อ้างว่าคำสั่งของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินให้คณะปฏิรูปที่ดินจังหวัดอนุญาตให้สิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตกแก่จำเลยที่ 3 เท่านั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 ปฏิเสธที่จะแบ่งที่ดินให้โจทก์ ขอให้พิพากษาว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิรับมรดาในฐานะทายาโดยธรรมในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ก.) สารบัญทะเบียนที่ดินเลขที่ 6226 เล่ม 63 หน้า 26 อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตำแหน่งที่ดินแปลงที่ 11 ระวาง ส.ป.ก.ที่/กลุ่มที่ 2979 จำนวนเนื้อที่คนละ 6 ไร่ 3 งาน 24.5 ตารางวา ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้มีอำนาจออกหนังสืออนุญาตการให้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจัดแบ่งที่ดินและออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตามหนังสือดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จำนวนที่ดินคนละ 6 ไร่ 3 งาน 24.5 ตารางวา

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า นายพุฒได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ดินพิพาทโดยเช่าจากทางราชการ สิทธิการเช่าดังกล่าว หากจะตกทอดทางมรดกย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 30 วรรคหกแห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ.2518 และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ในหมวด 2 การตกทอดทางมรดกของสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ ข้อ 11 ว่า “เมื่อเกษตรกรถึงแก่กรรมให้สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อตกทอดแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรก” เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นคู่สมรสของนายพุฒเกษตรกรในขณะถึงแก่กรรม จึงเป็นผู้ได้รับตกทอดสิทธิการเช่า ทั้งได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทกับเกษตรกรผู้ถึงแก่กรรมมาก่อน กรณีเข้าระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้ดำเนินการออกหนังสืออนุญาตให้แก่จำเลยที่ 3 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติถูกต้องตามข้อกฎหมายและระเบียบของราชการแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท นอกจากนี้เมื่อปี 2526 โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้วจำนวน 22 ไร่ และเพียงพอแก่การครองชีพแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงไม่อาจออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาคณะคดีปกครองวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่า โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินหรือไม่ในข้อนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่า นอกจากนี้ได้ความว่า เมื่อปี 2526 (ที่ถูก 2536) โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้วจำนวน 22 ไร่ (ที่ถูก 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา) และเพียงพอแก่การครองชีพแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทได้เนื่องจากเป็นการขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 นั้น เห็นว่า ในทางพิจารณาโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินแต่อย่างใด ทั้งยังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมรับว่าโจทก์ได้รับที่ดินจำนวน 21 ไร่ โดยมีหลักฐานเป็น ส.ป.ก. 4-01 ก ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของนายพุฒ โจทก์ได้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวนเนื้อที่ 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีได้ออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา ตามสารบัญทะเบียนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเลขที่ 6231 เล่ม 63 หน้า 31 อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตามเอกสารหมาย ล.4 และ ล.5 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 4 บัญญัติความหมายของคำว่า “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเองหรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อย ไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิดตและจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น และคำว่า “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกรบรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ข้อ 6 ระบุว่า ผู้รับโอนและผู้รับมรดกตามระเบียบนี้จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) ผู้นั้นรวมทั้งบุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองเพียงพอแก่การครองชีพอยู่ก่อนแล้ว... ดังนี้ แสดงว่าเจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก็เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้นั้นจะต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้วจำนวน 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลง จึงถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองและมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอดของนายพุฒ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 นั้นชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ และไม่จำต้องวินิฉัยว่าโจทก์มีสิทธิจะได้รับมรดกที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะถึงแก้ได้รับมาก็ไม่สิทธิรับโอนอยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลฎีกาของโจทก์ฟังไม่

ขึ้น”

พิพากษายืน

( วิชัย วิสิทธวงศ์ - วิชัย ชื่นชมพูนุท - สุเทพ เจตนาการณ์กุล )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-27 21:47:37


ความคิดเห็นที่ 2 (2034282)

ยายมีที่ 85 ไร่  มีลูก 5 คนยายอยากจะแบ่งให้  ต้องทำอย่างไรบ้างติดต่อใครเดือดร้อนจริงๆคะ ที่ดินอยู่ในเขต อ.เดชอุดม

ผู้แสดงความคิดเห็น คนทุกข์ยากที่ไม่รู้ วันที่ตอบ 2010-02-11 09:18:20


ความคิดเห็นที่ 3 (2051440)

ถ้าต้องการไปโอนที่ดิน สปก.4-01 ต้องทำอย่างไร และต้องไปที่ไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ( เจ้าของที่ดินเสียชีวิตแล้ว ( พ่อ ) )

ผู้แสดงความคิดเห็น สมคิด (nai-dot-fon-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-04-01 12:29:57


ความคิดเห็นที่ 4 (2146735)

อายุกี่ปี ที่รับโอนมรดก ส.ป.ก. ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น สมใจ วันที่ตอบ 2011-01-20 10:11:25


ความคิดเห็นที่ 5 (2153704)

ขอปรึกษาหน่อยค่ะ     ข้อที่ 1 ที่ดินสปก.นี่เป็นของอา ถ้าจะเปลี่ยนเป็นชื่อหลานเนี่ย จะต้องไปที่ศาลากลางจังหวัดตากเพราะอยู่ อำเภอแม่ระมาด ที่ดินประมาณ 32 ไร่ จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างคะ แล้วจะเสียเงินเท่าไรคะ แล้วถ้าเปลี่ยนชื่อแล้ว จะได้ใบสปก.เลยไหมคะรึว่าเขาจะส่งไปให้ตามหลัง   ข้อ 1 มีแค่นี้ค่ะ 

ข้อที่ 2 มีที่ดิน สปก.อีกใบนึง คือมันเป็นชื่อเจ้าของเดิม แล้วเขาขายให้เราโดยที่เราไม่ใช่ญาติเขาแต่ว่าใบ สปก.อยู่กับเราแล้วแต่ยังเป็นชื่อเจ้าของเดิม ถ้าเราจะทำเรื่องเปลี่ยนเป็นชื่อเรา จะต้องทำยังไงบ้างคะ ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ ช่วยตอบด่วนเลยได้ไหมคะรออยู่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนรอคอย วันที่ตอบ 2011-02-15 14:18:46


ความคิดเห็นที่ 6 (2171783)

 

การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01


ที่ดิน ส.ป.ก.4-01นั้น จะโอนสิทธิที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม การให้ผู้อื่นมีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก.4-01 ก็ต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน  ที่ด้านหลังของเอกสาร ส.ป.ก.4-01 ระบุเป็นตัวอักษรสีแดงว่าห้ามแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น และด้านล่างมีข้อความว่าเกษตรกรผู้ได้รับเอกสาร ส.ป.ก.4-01 มีหน้าที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเนื้อที่ที่ได้รับจาก สปก.

             คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8222/2553

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-04-23 08:47:29


ความคิดเห็นที่ 7 (2171785)

คำถาม-คำตอบที่เกี่ยวข้อง

 

1.ถ้าผู้มีชื่อในทะเบียนทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นที่มิใช่ทายาทโดยธรรม ทายาทตามพินัยกรรมดังกล่าวถือเป็นการตกทอดทางมรดกหรื่อไม่ หรือต้องคืนที่ดินดังกล่าวกลับเป็นของรัฐ?

ตอบ--เป็นที่ดินของรัฐ จะนำไปทำพินัยกรรมไม่ได้ครับ

  2.กรณีสำนักสงฆ์ เข้าไปตั้งอยู่ในที่ดินสปกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมไม่ทราบและมาทราบภายหลัง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกสามารถฟ้องขับไล่สำนักสงฆ์ได้หรือไม่?

ตอบ--ที่ดินของรัฐให้เกษตกรทำกิน เมื่อไม่ทำการเกษตรตามเงื่อนไข รัฐเรียกคืนได้ครับ ส่วนเจ้าของเดิมมีสิทธิครอบครองแล้วไม่ใส่ใจทำกินก็ควรนำที่ดินไปจัดสรรให้ผู้อื่นที่ยากจนต่อไปครับ

3. ที่ดิน สปก. ที่ผู้มีชื่อปล่อยทิ้งไม่ได้ทำประโยชน์ จะกลับไปเป็นของรํฐภายในกี่ปี?

ตอบ--เป็นของรัฐอยู่แล้วแต่จะเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทางสำนักงานปฏิรูปทราบเรื่อง แต่เขาจะดำเนินการหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 

มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะ ทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอด ทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน

คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยร่างกฎกระทรวง ฯ มีสาระสำคัญคือ

1.1 การตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1.2 การโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เมื่อผู้ได้รับสิทธิในที่ดินประสงค์จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกรโดยสถาบันเกษตรกรที่มีสิทธิรับโอนที่ดินต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด รวมทั้งเมื่อผู้ได้รับสิทธิในที่ดินมีความประสงค์ยกให้ ส.ป.ก. หรือจะขายที่ดินคืนให้กับ ส.ป.ก. แล้วแต่กรณี

1.3 เมื่อได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินแล้ว หากปรากฏว่า ทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกรแล้วแต่กรณี ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ให้โอนที่ดินกลับคืน ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. ทำความตกลงจัดซื้อที่ดินกับทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกร และในกรณีที่ทายาทโดยธรรม หรือสถาบันเกษตรกรแล้วแต่กรณี ไม่ยินยอมตกลงในการจัดซื้อที่ดินของ ส.ป.ก. ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตาย ให้ที่ดินตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ทายาทโดยธรรมนำหนังสือที่ ส.ป.ก. จังหวัดออกให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนรับมรดก ณ ที่สำนักงานที่ดิน นั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินต้องดำเนินการสอบสวน และจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกทุกคน ส่วนการให้สถาบันเกษตรกรนำหนังสือที่ ส.ป.ก. จังหวัด ออกให้ไปยื่นเพื่อรับโอนสิทธิ ณ สำนักงานที่ดิน เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่กำหนดให้คู่กรณี (หมายถึงทั้งสองฝ่าย) นำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ไปประกอบการพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-04-23 09:03:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล