ReadyPlanet.com


การรับรองบุตร


    สวัสดีครับ  ผมขอรบกวนให้ความกระจ่างด้วยครับ  คือว่าผมเกณฑ์ทหารอยู่  แต่ตอนนี้ได้ลากลับมาที่บ้าน  เพื่อมาเยี่ยมแฟนและลูก   ผมอยากทราบว่าผมสามารถที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรได้รึเปล่าครับ.


ผู้ตั้งกระทู้ uk (kukamsai-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-02 21:21:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1958051)

หากลูกโตพอที่จะรู้เรื่องและให้ความยินยอมได้ และแม่เด็ก (ภรรยา) ไม่ขัดข้องก็จดได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-02 22:48:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1958145)

บิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ส่วนบิดานั้นจึงเป็นผู้อื่นแม้เป็นบิดาที่แท้จริง เพราะกฎหมายไม่รับรองคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง การที่จะให้บุตรนอกกฎหมาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมี 3 วิธีคือ

 

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรทำได้ที่ไหน

 

การจดทะเบียนรับรองบุตร ให้บิดานำหลักฐานไปยื่นคำร้องที่ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ เขต คือ
1.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของบิดาและมารดา
2. สำเนาสูติบัตรของบุตร
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบุตร

การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจาก มารดาเด็ก และตัวเด็กเอง กรณีเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นต้องฟ้องศาลเพื่อให้มีคำพิพากษา ตามมาตรา 1547 ตอนท้ายข้างต้น

 

การให้ความยินยอมจากตัวเด็กเองนั้น เด็กต้องมีอายุเท่าใด

เด็กที่จะให้ความยินยอมได้จะต้องไม่เป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา แต่กฏหมายมิได้กำหนดว่าเด็กอายุเท่าใด จึงจะไม่เป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา อยู่ที่ดุลย์พินิจของนายทะเบียนว่าเด็กสามารถให้ความยินยอมได้ โดยพิจารณาจากความสามารถในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนและเด็ก ซึ่งเด็กนั้นควรรู้ผิดชอบตามปกติสามัญ ดังนั้นหากนายทะเบียนเห็นว่าเด็กสามารถให้ความยินยอมได้แล้ว จึงจะสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรให้ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-03 10:08:21


ความคิดเห็นที่ 3 (1961124)

ขอจดทะเบียนรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ในเวลาที่บุตรและมารดาบุตรเสียชีวิตแล้ว

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องกับนางดวง คำสุวรรณ อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน ๗ คน มีจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ คำสุวรรณ เป็นบุตรคนที่หกของผู้ร้อง ต่อมานางดวงและจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ถึงแก่ความตาย ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทของจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ ผู้ร้องเป็นทายาทเพียงคนเดียวที่จ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ได้ทำหนังสือระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จดทะเบีบนรับรองจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ คำสุวรรณ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง โดยขอให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของภริยาและบุตรผู้ร้อง ซึ่งไม่อาจให้ความยินยอมตามกฎหมายได้

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะบิดาจะจดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตร ซึ่งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลได้ ให้ยกคำร้องค่าคำร้องเป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๓ ทวิ

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวตรวจวินิจฉัยว่า นางดวงมารดาของจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์และจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ผู้เป็นบุตรถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๘ วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิพากษาว่าจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์เป็นบุตร อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น

พิพากษาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแล้วดำเนินการต่อไปตามรูปคดี.

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-11 11:32:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล