ReadyPlanet.com


ลายเซ็นปลอม


ในเรื่องของสัญญาเงินกู้ หากแนวคำให้การของจำเลย ปฏิเสธในเรื่องของลายเซ็นปลอมแล้ว ว่า ลายเซ็นของผู้กู้ มิใช่ลายเซ็นของจำเลยแล้ว อยากทราบว่า ในเรื่องภาระของการพิสูจน์ จะตกอยู่กับจำเลย หรือฝ่ายโจทก็คะ


ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-10 17:57:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1973037)

เมื่อจำเลยปฏิเสธว่าลายมือชื่อในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม เมื่อโจทก์อ้างสัญญากู้ยืมมาฟ้องเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-11 16:27:37


ความคิดเห็นที่ 2 (1973039)

ภาระการพิสูจน์ (ม.84)
มาตรา 84 วางหลักไว้ว่า “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง
แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว
(2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแก่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”
คำอธิบาย
1. ภาระการพิสูจน์ เป็นความหมายเดียวกับ “หน้าที่นำสืบ” ตาม ม.84
2. หลักกฎหมายของ ม.84 คือ “ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นนำสืบ”
3. เป็นการนำสืบ “ข้อเท็จจริง” เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ หรือคำให้การของจำเลย
4. แต่มีข้อยกเว้น 2 ประการ ที่คู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบข้อเท็จจริง กล่าวคือ
(1) ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป เช่น – วันเสาร์วันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ
- วันที่ 23 ตุลาคมเป็นวันปิยมหาราช
- พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก
- กลางคืนสว่าง กลางคืนมืด
(2) ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กฎหมายปิดปาก” ไม่ให้เถียงเป็นอย่างอื่น ซึ่งมีได้หลายกรณี เช่น
- ตัวแทนเชิด ปพพ. ม.821 , 822 (ปิดปากโดยการกระทำหรือการแสดงออก)
- ยอมให้เพื่อนใช้ชื่อของตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน ปพพ. ม.1054 (ปิดปากโดยเอกสาร)
- คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ปวอ.46 (ปิดปากโดยคำพิพากษาของศาล)
(3) ข้อเท็จจริงนั้นคู่ความยอมรับกันแล้ว
เมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งนั้นยอมรับ เรียกว่า “คำรับในศาล”
หมายถึง การรับในคดีที่กำลังฟ้องร้องกัน
- เมื่อยอมรับกันเช่นนั้น ผลคือ ประเด็นแห่งคดี นั้นเป็นอันยุติ ไม่ต้องนำสืบพยาน
- คำรับในศาล อาจเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ ซึ่งมีผลทางกฎหมายต่างกันเพียงเล็กน้อย
* เกิดจากการรับกันในคำคู่ความ เช่น คำฟ้อง คำให้การ มีผลเท่ากับไม่มี
ประเด็นข้อพิพาทเกิดขึ้นเลย
* เกิดในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาคดี มีผลทำให้ประเด็นข้อพิพาทที่มี
อยู่นั้นระงับสิ้นไป

- คำรับในศาล อาจเกิดขึ้นในลักษณะเป็นคำรับโดยชัดแจ้งก็ได้ หรือโดยปริยายก็ได้
ซึ่งคำรับโดยนั้นไม่มีปัญหาใดๆ …แต่คำรับโดยปริยายจะต้องมีลักษณะพิเศษ ดังนี้
* คำฟ้องของโจทก์ข้อใด ถ้าจำเลยมิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งไว้ในคำให้การ
ถือว่าจำเลยยอมรับในข้อนั้น ตาม ม.177 ว.2
* คำฟ้องของโจทก์ข้อใด ถ้าจำเลยปฏิเสธโดยไม่ชัดแจ้ง มีผลเท่ากับไม่ได้
ปฏิเสธ
* ข้อที่จำเลยยกขึ้นปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วก็ดี หรือข้ออ้างที่จำเลยยกกล่าวขึ้น
ใหม่ก็ดี จำเลยจะต้องแสดงเหตุไว้ด้วย ตาม ม.177 ว.2 ความท้าย มิฉะนั้น
จำเลยจะนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนไม่ได้
* เหตุผลที่จำเลยยกขึ้นสนับสนุนข้ออ้างข้อโต้เถียงของตนนั้น จะต้องเป็น
เหตุผลที่กฎหมายยอมรับ
* การให้การต่อสู้ไว้ทุกๆ จุดนั้น จะต้องระวังอย่าให้มีลักษณะเป็นคำให้การ
สองแง่สองง่ามที่ขัดกันเองอยู่ในตัว
(4) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นพิสูจน์เพียงว่า
ตนได้ปฏิบัติตามนั้นครบถ้วนแล้ว

แหล่งที่มา http://nitistou.wordpress.com/

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2009-08-11 16:28:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล