ReadyPlanet.com


ลบทะเบียนปืน ที่ซื้อมาจากคนร้อนเงิน มีความผิดร้ายแรงหรือไม่


มีญาติคนหนึ่งถูกจับในข้อหา ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ปลอมเอกสาร หรือใช้เอกสารปลอม แต่ว่า ญาติคนนั้นไปซื้อปืนราคาถูกจากเพื่อนมา แต่ไม่อยากให้สืบได้ว่าปืนเป็นของใครก็เลยลบเลขทะเบียนปืนออก และพกไปข้างนอก แต่โดนตำรวจจับได้ อยากถามว่า อย่างนี้ผู้ต้องหาจะโดนจำคุกกี่ปี เป็นความผิดข้อหาอะไร

 



ผู้ตั้งกระทู้ บุญธรรม :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-26 10:16:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1968168)

หมายเลขทะเบียนปืนเป็นหมายเลขที่ทางราชการออกให้เพื่อแสดงว่าปืนนั้นเป็นปืนที่ได้รับอนุญาตจากราชการแล้ว

เมื่อญาติคุณไปขูดลบจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อนำไปใช้(แสดง)ก็เป็นการใช้เอกสารปลอมอีกข้อหาหนึ่ง

**ญาติคุณหากว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนจากนายทะเบียน ผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯข้อหามีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

**เมื่อได้พกพาไปก็จะผิดข้อหาพาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะสถาน โดยไม่ได้รับอนุญาต ฯ

**ข้อหาหลังนี้หากสามารถแก้ตัวได้ว่ามีความเป็นเร่งด่วน หรือเพื่อจะคุ้มครองทรัพย์สิน และถ้าศาลฟังก็อาจจะไม่ลงโทษๆได้

**แต่จะติดกี่ปีแล้วแต่ดุลพินิจของศาลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-07-26 14:16:59


ความคิดเห็นที่ 2 (1968532)

การขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานออกทั้งหมดเป็นเพียงการทำลายเอกสารไม่ใช่การปลอมเอกสาร เพราะไม่มีเอกสารเหลืออยู่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง การลบทะเบียนปืน จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และแม้จะนำอาวุธปืนดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-27 16:30:40


ความคิดเห็นที่ 3 (1968533)

จำเลยมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และยังขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนอีกด้วย นับเป็นการกระทำความผิดอย่างอุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ทั้งหากจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวก่อเหตุใด ๆ ขึ้น ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงส่อแสดงถึงพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตของจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย จำเลยจะอ้างว่ามีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวนั้น ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

การที่จำเลยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานออกทั้งหมดเป็นเพียงการทำลายเอกสารไม่ใช่การปลอมเอกสาร เพราะไม่มีเอกสารเหลืออยู่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 ประกอบมาตรา 265 และ 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม, 8 ทวิวรรคหนึ่งและ 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จึงให้ลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ตามมาตรา 268 วรรคสอง จำคุก 2 ปี ฐานมีอาวุธปืน จำคุก 8 เดือน ฐานพาอาวุธปืนเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 14 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก1 ปี 7 เดือน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาตรวจวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า นอกจากจำเลยมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแล้ว จำเลยยังได้ขูดลบเครื่องหมายทะเบียนของอาวุธปืนดังกล่าวอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าอาวุธปืนนั้นเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนอีกด้วย นับเป็นการกระทำความผิดอย่างอุกอาจไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายทั้งหากจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวก่อเหตุใด ๆ ขึ้น ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง ส่อแสดงถึงพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตของจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาว่า จำเลยมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวนั้นเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่การที่จำเลยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานออกทั้งหมดเป็นเพียงการทำลายเอกสารไม่ใช่การปลอมเอกสาร เพราะไม่มีเอกสารเหลืออยู่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และแม้จะนำอาวุธปืนดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2545

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-07-27 16:31:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล