ReadyPlanet.com


เรื่องการเกษียณอายุ


กรณีที่อายุเกิน 60 ปีแล้วแต่ยังมีความสามารถทำงานต่อไปได้ และบริษัท (เอกชน) ยังไม่ได้มีจดหมายแจ้งให้ออกจากงาน จะสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ (ตามบัตรประชาชนไม่ได้ระบุวันและเดือนที่เกิด ระบุเพียงปีเกิด 2492) เนื่องจากถ้าต้องออกจากงานตอนนี้ ยังไม่มีเงินสำรองไว้เลี้ยงชีพหลังเกษียณ

และกรณีที่ขอลาออกจากงานก่อนบริษัทมีจดหมายแจ้งให้ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ จะได้รับเงินค่าชดเชยหรือไม่

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ อารักษ์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-07 21:23:02


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1981657)

1. ถามว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่????

ต้องดูสภาพการจ้างของนายจ้างครับ ว่ามีข้อกำหนดไว้อย่างไร  หากเขายังจ่ายเงินเดือนเราอยู่แสดงว่าเขายังจ้างเราอยู่ครับ

2. ลาออกจากงานด้วยความสมัครใจ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-07 22:34:42


ความคิดเห็นที่ 2 (1982034)

เห็นด้วยกับคุณลีนนท์ครับ หากเขายังจ่ายเงินเดือนเราอยู่ แสดงว่าเขายังจ้างเราอยู่ เป็นการไม่ฉลาดเลยครับที่เค้ายังไม่ให้เราออก แต่เราดันไปขอเขาลาออกก่อน ตามประมวลกฎหมายแรงงานไม่มีบัญญัติไว้ว่าจะต้องเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีนะครับ กรณีคุณอารักษ์บริษัทอาจมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าชดเชยเนื่องจากพนักงานขอลาออกเองนะครับ

ขอลาออกจากงานเองโดยที่บริษัทไม่ได้เลิกจ้างในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แถมยังไม่เงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณอีก คุณจะอยู่ลำบากนะครับ ผมนึกว่าคุณมานั่งทำงานเล่นๆ เพราะมีเงินเก็บเยอะจนไม่รู้จะทำอะไรเลยว่าง จึงหางานทำเล่นๆ ไม่เคยเจอกรณีแบบคุณอารักษ์เลยครับ

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตามคำพิพากษาของศาลแรงงาน จะมีแต่อายุเกิน 60 ปี แต่บริษัทอยากให้ทำงานต่อ แต่เจ้าตัวไม่อยากทำแล้ว จึงร้องขอต่อศาลโดยใช้สิทธิ์เกษียณอายุ

คุณอารักษ์คิดยังไงเหรอครับ ภาวะแบบนี้มีแต่บริษัทจะให้คนออกจากงาน ถ้าบริษัทยังไม่แจ้งให้ออก ไปขอลาออกก่อนทำไมล่ะครับ (ถ้าบริษัทไม่แจ้งจะถือว่าเป็นการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ) ผมล่ะงงกับคุณจริงๆ

คิดอะไรคิดให้รอบคอบนะครับ มองให้รอบด้าน อย่ามองแต่สิ่งที่เห็นเฉพาะหน้า หาความรู้ให้ดี อ่านให้มาก เพราะความไม่รู้นี่แหละครับ ทำให้เราเสียเปรียบมาเยอะแล้ว และพอเสียเปรียบก็ไม่ยอมปกป้องสิทธิ์ที่เราควรจะได้ บริษัทให้ทำยังไงก็ทำไปตามนั้น ซึ่งบางครั้งอาจขัดกับกฎหมายแรงงาน แต่ลูกจ้างไม่รู้ก็ได้แต่ยอมๆ ไป ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ์มาเยอะแล้วครับ

ยังไงก็เอาใจช่วยให้ได้ทำงานนานๆ นะครับ ถ้าเป็นไปได้คุยกับฝ่ายบุคคลไปเลย แต่ไม่ต้องกะเกณฑ์ว่าตัวเองจะขอทำในระยะเวลาเท่านั้นเท่านี้ จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะขอทำงานต่อไปเรื่อยๆ อย่าลืมครับ ตราบใดที่เค้ายังจ่ายเงินเดือนเรา แสดงว่าเค้ายังคงจ้างเราอยู่ แล้วบริษัทก็ไม่ได้รู้ด้วยหรอกครับว่าคุณไม่มีเงินใช้หลังเกษียณ คุณต่างหากที่รู้อยู่แก่ใจ แต่ดันไปบอกบริษัทปิดทางตัวเองซะอย่างนั้น

หลักการอยู่ที่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจะไม่ได้ค่าชดเชย แต่ถ้าบริษัทมีหนังสือให้ออกบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชย โชคดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น HR Center วันที่ตอบ 2009-09-08 22:58:57


ความคิดเห็นที่ 3 (1982095)

อย่าลืมเรื่องภาษีเงินได้ด้วยนะคะ

เผื่อบริษัทจะใจดีจ่ายค่าชดเชยให้ (แต่คงยากหน่อยเพราะคุณขอบริษัทลาออกเอง) ค่าชดเชยจะต้องนำมาคิดรวมกับรายได้ในปีนี้ ซึ่งหมายความว่า คุณจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าตัว หากสามารถต่อรองกับบริษัทได้ (หากมีเงินค่าชดเชยที่บริษัทจะจ่ายให้) ขอให้จ่ายเงินชดเชยในปีหน้า (หากทำได้) อาจจะทำให้การจ่ายภาษีเงินได้ของปีนี้และปีหน้าเบาบางลง เนื่องจากเราได้กระจายเงินได้ที่จะได้ในปีนี้ออกไปปีหน้า

ผู้แสดงความคิดเห็น นุช วันที่ตอบ 2009-09-09 09:15:15


ความคิดเห็นที่ 4 (1982104)

หากดูจากวันเดือนปีเกิดแล้ว ตามกฎหมายถือว่าคุณเกิดวันที่ 1 มกราคม นะครับ (เพราะหากมีแต่ปีเกิด ตามกฎหมายระบุให้นับวันเกิดเป็นวันแรกของปี)  หากบริษัทจะเลิกจ้างคุณจริง จะต้องส่งจดหมายแจ้งคุณล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งก็คือประมาณเดือนกันยายน 2551 และในกรณีที่บริษัทแจ้งให้คุณออกคุณจะได้เงินค่าชดเชยด้วย

แต่นี่เค้าให้คุณทำงานมาได้อีกปีหนึ่งเต็มๆ โดยที่ไม่ได้บอกอะไร (อาจถือว่าต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ) แต่คุณกลับขอบริษัทลาออกเอง ผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรล่ะครับ

เอาเป็นว่าถ้าเป็นไปได้อยากให้คุณลองคุยกับฝ่ายบุคคลอีกครั้ง อาจจะเสียหน้าหน่อยที่ต้องขอทำงานต่อ ผมหมายถึงทำต่อไปจนกว่าคุณจะพร้อมมีเงินเก็บหรือบริษัทมีจดหมายให้คุณลาออกนะครับ ไม่ใช่เพียงแค่สิ้นปีปฏิทิน ซึ่งคุณอาจต้องเลือกเอาระหว่างความอยู่รอดของคุณกับการเสียหน้าเล็กน้อย (เพราะความไม่รู้เลยไปขอลาออกก่อน) ด้านได้ อายอดครับ

ขอยืนยันนะครับ ไม่มีกฎหมายแรงงานมาตราใดระบุไว้ว่าอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วจะต้องออกจากงาน

เรามีสิทธิ์ต้องปกป้องสิทธิ์ของเราให้เต็มที่นะครับ อย่าไปยอมง่ายๆ เพื่อปากท้องและความอยู่รอดของคุณเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น ไม่เข้าท่า วันที่ตอบ 2009-09-09 09:32:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล