ReadyPlanet.com


อยากสอบถามเรื่องการแจ้งความเท็จ


อยากสอบถามเรื่องการแจ้งความเท็จครับ เรื่องมีดังนี้

กระผมมีเรื่องทะเลาะกับเพื่อน และเพื่อนของผมเค้าหาว่าผมไปโพสต์ข้อความด่าเค้าในเว็บไซด์

เค้าตรวจสอบไอพีมา ปรากฎว่าตรงกันกับไอพีของกรม กรม หนึ่ง ที่ผมทำงานอยู่  ซึ่งไอพีตัวนี้

จะเป็นไอพีรวม ไม่ว่าจะใช้เครื่องไหนในกรมโพสต์ก็จะขึ้นไอพีนี้  แต่เค้ามากล่าวหาว่าผมเป็นคน

โพสต์  เค้าเลยไปแจ้งความ และตำรวจก็ให้ผมรับเป็นผู้ต้องหา ให้เซ็นและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้

แต่ผมได้อ่านดูในข้อความของตำรวจ จะมีคำว่า ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ไม่ขอให้การใด ๆ ในชั้น

สอบสวน ขอให้การทั้งหมดในชั้นศาล  ด้วยความไม่รู้เรื่องของผม ผมเลยต้องเซ็นไป เพราะตำรวจกดดันมาให้เซ็น

และเพื่อนของผมคนนี้ เค้าทำหนังสือไปถึงอธิบดีกรม เพื่อให้ตรวจสอบไอพีตัวนั้น ปรากฎว่า ไม่มีหนังสือตอบกลับ

จากกรม และทางที่ทำงานของผมก็ไม่เห็นเรียกผมไปสอบถามในเรื่องที่เค้ายื่นหนังสือไปเลย  โทรไปถามตำรวจเจ้า

ของคดี ตำรวจก็บ่ายเบี่ยง ผลัดวันประกันพรุ่งเรื่องหลักฐานไปเรื่อยครับ (หลักฐานการตรวจสอบไอพีจากกรมที่ผมทำงานอยู่)   ซึ่งผมก็รอหลักฐานมา 2 เดือนแล้ว ยังไม่มีหลักฐานอะไรมาเลย ว่าผมทำผิด

กรณีแบบนี้ผมสามารถแจ้งความกลับ หรือแจ้งว่าเค้าแจ้งความเท็จได้หรือเปล่าครับ  ขอคำปรึกษานิดนึงครับ  และถ้าหาก

ว่าแจ้งได้ ผมสามารถแจ้งกับตำรวจเจ้าของคดีนั้นได้เลยหรือเปล่าครับ หรือว่าแจ้งกับตำรวจคนไหนก็ได้

 

ปล. ผมทำงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี  แต่เพื่อนผมที่ไปแจ้งความเค้าทำงานที่นนทบุรี  เค้าเลยแจ้งความที่นนทบุรี

กรณีนี้ผมสามารถแจ้งได้ที่ไหนครับ นนทบุรี หรือ ปทุมธานี ครับ ขอบคุณครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เทอดศักดิ์ (theman_city-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-01 10:40:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1980094)
เรื่องยังอยู่ระหว่างสอบสวนครับ ยังไม่ได้สรุปว่าสิ่งที่ผู้เสียหายกล่าวหามาเป็นความเท็จหรือไม่ คุณจึงยังไม่เป็นผู้เสียหายในข้อหาที่คู่กรณีแจ้งความเท็จ ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-02 17:57:06


ความคิดเห็นที่ 2 (1980363)

แล้วในกรณีนี้ สมมุติว่าเค้าไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ แล้วตำรวจสั่งไม่ฟ้อง

เราสามารถฟ้องกลับได้หรือเปล่าค่ะ  ในข้อหาทำให้เราเสื่อมเสียชื่อเสียง

ที่มากล่าวหาว่าเราเป็นผู้ต้องหา

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์ วันที่ตอบ 2009-09-03 15:07:36


ความคิดเห็นที่ 3 (1980421)
หากเข้าหลักเกณฑ์แจ้งข้อความอันเป็นเท็จก็ฟ้องได้ครับ มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำผิดกฎหมาย โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและแจ้งข้อความอัน เป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เห็นเหตุการณ์ที่รถยนต์ชนกัน แต่ได้อ้างต่อจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าเห็นเหตุการณ์ขณะรถยนต์ชนกันโดยชี้จุดที่รถยนต์ชน กันให้จำเลยที่ 3 ดู ซึ่งไม่ตรงกับจุดที่รถยนต์ชนกันจริง และต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่จำเลยที่ 3 ว่า ก่อนเกิดเหตุตนได้ขับรถตามหลังรถยนต์บรรทุกมา เห็นรถยนต์โดยสารตู้แล่นแซงรถอื่นเข้าไปชนกับรถยนต์บรรทุกในเส้นทางรถของรถ ยนต์บรรทุก ซึ่งความจริงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 157, 172, 189, 83, 90, 91 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ศาล ชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137, 172 ให้ลงโทษบทหนักที่สุดตามมาตรา 172 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 172 ด้วย โจทก์ฎีกา ศาล ฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองหาได้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุรถชนกันไม่ การที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างและให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยทั้งสองเห็นเหตุการณ์ขณะที่รถชนกัน จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน และการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวอาจทำให้โจทก์ผู้เป็นบิดาของนาง เสาวลักษณ์และนางสุภาพรรณผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องจากเหตุรถชนกันดัง กล่าวได้รับความเสียหายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 ( ม.ร.ว.ชัยวัฒน์ ชมพูนุท - นิยม ติวุตานนท์ - ศักดิ์ สนองชาติ ) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2526
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-03 18:10:10


ความคิดเห็นที่ 4 (1980969)

ตำรวจบอกว่า หลักฐานจากกรม (ที่กระผมทำงานอยู่)  ส่งมาแล้ว ระบุมาเลยว่าผมคือผู้ครอบครองไอพีตัวนั้น

แบบนี้เป็นไปได้หรือครับ เพราะว่าเป็นไอพีรวมของทั้งกรม ผมลองไปโพสต์ดูจากหลาย ๆ เครื่องก็เป็นไอพี

เดียวกันหมด  แล้วทางกรมจะมีหนังสือตอบกลับมาให้ตำรวจได้อย่างไรว่าผมคือผู้ครอบครองไอพีตัวนั้น

ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้งกรมมีทั้งหมดทั่วประเทศ 2 หมื่นกว่าคน แบบนี้มันไม่ยุติธรรมนะครับ หากใครโพสต์

อะไรด่าใครไป พอไอพีตัวนี้ขึ้นมา ก็สรุปเป็นผมคนเดียวเลยสิครับ

 

แล้วกรณีนี้ เราสามารถขอตำรวจเจ้าของคดีดูหลักฐานที่ส่งมาจากกรมได้หรือเปล่าครับ หรือว่าต้องไปดูได้ทีเดียว

ในวันขึ้นศาลเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์ วันที่ตอบ 2009-09-05 15:49:32


ความคิดเห็นที่ 5 (1981001)

เรื่องการพิสูจน์ว่าคุณกระทำความผิดนั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ครับ เขาคงมีหลักฐานพอที่จะยืนยันได้ หากยืนยันไม่ได้ศาลก็ต้องยกฟ้อง หากเราไม่ได้กระทำความผิด เชื่อว่าไม่สามารถเอาผิดกับเราได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-05 18:26:40


ความคิดเห็นที่ 6 (1981425)

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมเข้าไปดูหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วครับ

ทางกรมระบุมาทำนองว่า ตามหนังสือที่ทางตำรวจส่งไปนั้น จากการตรวจสอบแล้ว

ปรากฎว่าเป็นไอพีของกรม........ จริง

และผู้รับผิดชอบไอพีตัวนี้คือ คุณ.................(ซึ่งระบุชื่อผมมาเลยครับ)

ผมสงสัยอยู่จุดนึงตรงที่  ทำไมทางกรมต้องระบุชื่อผมมาด้วย ทั้ง ๆ ที่เป็นไอพีรวมของกรม

เจ้าหน้าที่ทุกคนของกรมต้องใช้ไอพีนี้หมด  หรือว่าทางตำรวจส่งหนังสือไปถามทางกรม ว่าผมใช้ไอพีตัวนี้หรือเปล่า

ซึ่งทางกรมก็ต้องตอบมาเช่นนั้น  เพราะผมคือเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกรม ก็ต้องใช้ไอพีตัวนี้อยู่แล้ว  ถ้าหากตำรวจแนบ

ชื่อเจ้าหน้าที่ของกรม (ท่านอื่น) ไป ทางกรมก็ต้องตอบกลับมาตามชื่อที่ตำรวจแนบไปอยู่แล้ว 

กรณีนี้ผมสามารถขอหนังสือรับรองจากกรมที่ผมทำงานอยู่ได้หรือเปล่าครับ ว่า ไอพีตัวนี้ เป็นไอพีของกรม เจ้าหน้าที่ในหน่วย

งานทุกคนของกรม ต้องใช้ไอพีตัวนี้  ถ้าหากผมได้หนังสือทำนองนี้มา รับรองว่าผมชนะแน่ครับ  และถ้าหากว่าผมชนะ และตำรวจ

ไม่สามารถส่งเรื่องถึงขั้นศาลได้ แบบนี้ผมแจ้งความกลับได้ทันทีเลยหรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เทอดศักดิ์ วันที่ตอบ 2009-09-07 11:33:01


ความคิดเห็นที่ 7 (1981554)

เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ ว่าในหน่วยงานที่มีคอมพิวเตอร์อยู่หลายตัว และแต่ละตัวอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ประจำโต๊ะทำงานของใคร หรือมีผู้ใช้ในเวลาที่ทางผู้ควบคุมที่มีหน้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถระบุตัวได้ เนื่องจาก ไอพี แต่ละเครื่องจะแตกต่างกันนะครับ เหมือนกับที่ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ซึ่งแต่ละโต๊ะแต่ละเครื่องก็มี ไอพี ที่แตกต่างกันครับ

สำหรับเรื่อง ไอพี นี้ ทางคุณก็มีสิทธิที่จะถามค้านทางพยานโจทก์ในเรื่องนี้ได้ครับ ว่าไอพี ที่ระบุนั้นเป็น ไอพีรวม หากคุณแน่ใจว่าเป็นอย่างนั้นครับ

หากพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ ไม่สั่งฟ้องคุณก็มีสิทธิที่จะฟ้องข้อหาแจ้งความเท็จได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-07 17:00:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล