ReadyPlanet.com


การถอนหมั้น(การบอกเลิกสัญญาหมั้น)


ขอสอบถามค่ะ , เรื่องการถอนหมั้นกับฝ่ายชาย เนื่องจากได้หมั้นกันมาสักระยะหนึ่งโดยวาจากับทางผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่ฝ่ายชายไปมีผู้หญิง แบบไม่ได้เลี้ยงดูเป็นตัวเป็นตน เจอกันเป็นครั้งคราว แล้วหนูจับได้และยอมรับไม่ได้

จึงบอกเลิก เค้าก็รับปากถอนหมั้น  โดยไม่เรียกของหมั้นคืน  แต่เค้าไม่ยอมทำบันทึกเป็นอักษรไว้ เมื่อเค้าไม่ยอมบันทึก หนูจะมีแนวทางอื่นได้อย่างไรบ้างคะ เพราะหนูกลัวจะมีปัญหาในภายหลัง

เพราะตอนนี้ ฝ่ายชายก็ไปมาหาสู่กันอยู่ แต่มีระยะห่างกันมากขึ้นและหนูก็ไม่ได้คิดอะไรมากกว่าคนเคยรู้จักแล้ว

ถ้าวันหนึ่งหนูเจอคนใหม่ กลัวฝ่ายชายคู่หมั้นจะมาอ้างสิทธิเรื่องที่ได้หมั้นกันไว้หนูต้องทำอย่างไรคะ เพื่อป้องกันปัญหานี้

 ขอบคุณค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปาริษา :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-11 19:44:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2434665)

เมื่อชายคู่หมั้นไปมีหญิงอื่นตามที่บอกเล่ามานั้น เป็นกรณีที่เหตุสำคัญที่หญิงคู่หมั้นไม่สมควรจดทะเบียนสมรสกับชายคู่หมั้นเพราะเป็นความผิดของชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชายคู่หมั้น

การบอกเลิกสัญญาหมั้นควรทำเป็นหนังสือถึงชายคู่หมั้นเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเมื่อเป็นคดีขึ้นสู่ศาลและอาจใช้เป็นพยานหลักฐานกรณีมีข้อต่อสู้เรื่องอายุความเรียกค่าเสียหายหรือเรียกคืนของหมั้นครับ

มาตรา 1443 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของ หมั้นแก่ชาย

มาตรา 1447/2  สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1442 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น

 

การบอกเลิกสัญญาหมั้น

การจะเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้นได้นั้นก่อนอื่นต้องได้ความว่า มีการหมั้นกันตามกฎหมายแล้ว และต่อมาคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น หากชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น หญิงก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ กรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ชายก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนและเรียกคืนของหมั้นรจากหญิงได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-12-04 17:48:03


ความคิดเห็นที่ 2 (2434666)

ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส  เรียกคืนของหมั้นและสินสอด

แจ้งความว่าหญิงคู่หมั้นหลอกลวงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย จัดงานแต่งใหญ่โต คู่หมั้นมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว การเลิกรากันย่อมทำให้เป็นที่อับอายเสื่อมเสียแก่ฝ่ายหญิงมากกว่า เวลาไปสู่ขอก็ไม่ได้ตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของหญิงคู่หมั้น เพราะคู่หมั้นไม่ได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาตามประเพณีเท่านั้น ชายคู่หมั้นจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1366/2552)

 

ค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหมั้น

จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร.และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร. ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสียง และมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) -(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518)

 

ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน

ทำสัญญาหมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันนาน 8 เดือนโดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิด จากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณี เท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรส เกิดจากความผิดของฝ่ายใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2542)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-12-04 17:52:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล