ReadyPlanet.com


-ขอคำแนะนำเกี่ยวกับคดีความครับ


มาตรา 50 ผู้ใด ทำ ใช้ หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือกระทำการเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นมีชื่อหรือมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้านหรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่งเป็นคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

มาตรา 51 ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปรียบเทียบได้

มาตรา นี้ อายุความกี่ปีครับ



ผู้ตั้งกระทู้ wampire :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-11 11:48:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1983142)

มาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

คำตอบอยู่ที่ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

 

ตามคำถาม มาตรา 50 มีความผิดต้องระวางโทษกว่าหนึ่งปีแต่ไม่กว่าเจ็ดปี จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม อนุมาตรา (3)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-11 16:05:55


ความคิดเห็นที่ 2 (1983285)

อายุความ นับถึงวันตัดสิน หรือวันรับฟ้องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น wampire (wampire_3638-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-12 08:48:58


ความคิดเห็นที่ 3 (1983348)

คำว่า อายุความ หมายถึง อายุความในการฟ้องร้องคดีครับ หากคดีที่มีการตัดสินแล้วย่อมมีอะไรให้ต้องฟ้องอีกจึงไม่อาจมีอายุความได้

นอกจากนี้การใช้สิทธิฟ้องคดีทำให้อายุความสดุดหยุดลง

มาตรา 193/12   อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการ อย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น

 

มาตรา 193/13   สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาแรกที่อาจทวงถามได้เป็นต้นไปแต่ถ้าลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาหนึ่งจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่ได้ทวงถามนั้นให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลานั้นสิ้นสุดไปแล้ว

 

มาตรา 193/14   อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ยให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
(2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
(3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
(4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-12 11:15:56


ความคิดเห็นที่ 4 (1983371)

อายุความนับแต่วันที่มูลคดีที่ฟ้องร้องกันเกิดขึ้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-12 12:12:18



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล