ReadyPlanet.com


วิ่งราวทรัพย์สามารถรอลงอาญาได้ไหมคะ


อยากทราบเกี่ยวกับคดีวิ่งราวทรัพย์ ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร สามารถรอลงอาญาได้ไหมคะ วิ่งราวทรัยพ์ตอนเช้า และถูกพลเมืองดีช่วยกันจับไว้ได้ และรับสารภาพ ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน



ผู้ตั้งกระทู้ ืนานา (s-aimsaard_tom-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-10 18:55:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1982836)

ร่วมกันวิ่งราวทรัพย์โทษจำคุกให้รอการลงโทษ

 

ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้ความปรานีแก่จำเลยที่ 3 โดยรอการลงโทษจำคุกให้ แต่เห็นควรคุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 สำหรับจำเลยที่ 2 ขณะกระทำผิดอายุ 18 ปี 7 เดือน และเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน เห็นควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 3 ปี ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 2 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 3 ฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 ไว้มีกำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยที่ 3 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีแรก 2 เดือนต่อครั้ง ปีที่สอง 3 เดือนต่อครั้ง ตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่พนักงานคุมประพฤติกำหนด และให้จำเลยที่ 3 กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยที่ 3 เห็นสมควรมีกำหนดเวลาปีละ 24 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541

 

 

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2540 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักทรัพย์เอาสร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง จำนวน 1 เส้น ราคา 2,400 บาท และจี้ทองคำ จำนวน 1 อัน ราคา 600 บาท รวมราคาทรัพย์สิน 3,000 บาท ของนางสาววไลพร พูลช่วย ผู้เสียหาย โดยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์ 1 คันเป็นยานพาหนะ พาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้ครอบครองสร้อยคอทองคำพร้อมจี้ทองคำดังกล่าว โดยช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มาจากการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 พร้อมยึดได้รถจักรยานยนต์ 1 คัน เป็นของกลาง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และจำเลยที่ 3 นำสร้อยคอทองคำพร้อมจี้ทองคำดังกล่าวมอบพนักงานสอบสวนจึงยึดไว้เป็นของกลาง รถจักรยานยนต์ของกลางเจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำ ผู้เสียหายรับคืนไปแล้ว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336, 336 ทวิ, 357, 83, 33 และริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุขณะกระทำผิดเพียง 19 ปี แต่ก็เห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้ผิดชอบชั่วดีแล้วจึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ วางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 4 ปี 6 เดือน วางโทษจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 2 ปี จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนดคนละ 2 ปี 3 เดือน จำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี

จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้ความปรานีแก่จำเลยที่ 3 โดยรอการลงโทษจำคุกให้ แต่เห็นควรคุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 และลงโทษปรับด้วย อีกสถานหนึ่ง สำหรับจำเลยที่ 2 ขณะกระทำผิดอายุ 18 ปี 7 เดือน และเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน เห็นควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76

อนึ่ง ฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แต่ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่ สำหรับคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าและใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นจากการจับกุมแสดงว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ หาใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ไม่ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว จึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

พิพากษาแก้เป็นว่า ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76 แล้วให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 3 ปี ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 2 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยที่ 3 ฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 ไว้มีกำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยที่ 3 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีแรก 2 เดือนต่อครั้ง ปีที่สอง 3 เดือนต่อครั้ง ตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่พนักงานคุมประพฤติกำหนด และให้จำเลยที่ 3 กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยที่ 3 เห็นสมควรมีกำหนดเวลาปีละ 24 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

( อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทิน ปัทมราชวิเชียร - ศิริชัย สวัสดิ์มงคล )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-10 19:17:30


ความคิดเห็นที่ 2 (1982848)
พอจะมีทนายความที่ช่วยเรื่องนี้ได้ไหมค่ะ ให้โทษแค่รอลงการอาญาเพราะกระทำไปด้วยความคิดชั่ววูบเพราะลูกยังเล็กกลัวว่าจะติดคุกแล้วไม่ได้เลี้ยงลูก
ผู้แสดงความคิดเห็น นานา วันที่ตอบ 2009-09-10 20:05:12


ความคิดเห็นที่ 3 (1982851)

อำนาจในการทำคำพิพากษาเป็นอำนาจของศาล แต่การที่จะให้โทษหนักเป็นเบานั้นมีทางออก โทร 084-130-2058

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-10 20:11:37


ความคิดเห็นที่ 4 (2033984)

วิ่งชิงทรัพ โทษจำคุก9เดือนรอลงอาญาได้ไหมค่ะ  เพราะกำลังศึกษาอยู่และกระทำไปเพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบพอที่จะลดโทษได้ไหมค่ะ

ขอฎีกาแล้วจะลดโทษรอลงอาญาได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา วันที่ตอบ 2010-02-10 11:13:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล