ReadyPlanet.com


สัญญาเงินกู้ที่สามีแจ้งธนาคารว่าเป็นโสด สมบูรณ์หรือไม่


กรณีสามีมีทะเบียนสมรส แต่แจ้งกับทางธนาคารว่า สถานภาพ "โสด" เพื่อไม่ต้องการให้ภรรยามีภาระหนี้สินผูกพัน เรียนถามว่า สัญญากู้เงินที่แจ้งว่า สถานภาพ"โสด"นั้น ถือว่า สมบูรณ์หรือไม่คะ หรือโมฆะ หรือโมฆียะไหมคะ จะมีผลอย่างไรบ้างคะ



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-10 13:27:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1982794)

การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส การกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงินจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส ดังนั้นหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-10 16:35:58


ความคิดเห็นที่ 2 (1982796)
บังคับคดีเอากับสินสมรสส่วนของลูกหนี้

 

การจัดการสินสมรส

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551

 

 

การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส การกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงินจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส ดังนั้นหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

 

 

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 36231 เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีภริยากัน เมื่อเดือนมีนาคม 2546 โจทก์ได้รับหมายเรียกของศาลชั้นต้น ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 178/2545 ซึ่งแจ้งให้โจทก์ส่งต้นฉบับโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวต่อศาล โจทก์ไปขอตรวจดูสำนวนจึงได้ทราบความจริงว่าในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงมีการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาดที่ดินโฉนดดังกล่าว โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 2 โดยระบุในสัญญาว่า ได้นำโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรสดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และเป็นนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 แต่เป็นลายมือชื่อปลอม สัญญากู้ยืมจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 400,000 บาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจะไม่สมบูรณ์ก็เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสอง และมิได้เกี่ยวข้องกับสินสมรสของโจทก์ เพราะมิใช่นิติกรรมอันเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในนิติกรรมและมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิ พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่โจทก์ฎีกาว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสของโจทก์ที่ต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 บัญญัติว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้

(4) ให้กู้ยืมเงิน

บทบัญญัติมาตรานี้มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงิน กรณีจึงหาต้องด้วยมาตรา 1476 ไม่

ที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 36231 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเอกสารสำคัญในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 178/2545 ซึ่งศาลได้มีหมายเรียกแจ้งให้โจทก์นำส่งต้นฉบับต่อศาลเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ซึ่งหากให้โจทก์นำส่งโฉนดที่ดินตามคดีดังกล่าวต่อศาลตามคำสั่งแล้ว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า การบังคับคดีในคดีแพ่งหมายแดงที่ 178/2545 นั้น หากโจทก์มิได้เป็นหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 การบังคับคดีก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิโจทก์ได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 จะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

( สมศักดิ์ อเนกพุฒิ - ศิริชัย จิระบุญศรี - ศุภชัย สมเจริญ )

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538770513&Ntype=63

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-10 16:37:18


ความคิดเห็นที่ 3 (1985984)

กลฉ้อฉล ละทีนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น aa วันที่ตอบ 2009-09-20 01:41:33


ความคิดเห็นที่ 4 (1986013)

ในกรณีของคุณนั้นในเรื่องสัญญาสมบูรณ์ แม้สามีของคุณมีวัตถุหประสงค์ที่จะไม่ให้คุณมีภาระหนี้สินก็จริงอยู่ แต่ถ้าเจ้าหนี้ทราบภายหลังว่าลูกหนี้มีคู่สมรสและการกู้ยืมเงินดังกล่าวได้นำเงินกู้มาใช้ในกิจการที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 1490 แล้ว คุณเองก็จะปฏิเสธไม่ได้ครับ

 

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-20 09:12:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล