ReadyPlanet.com


บุคคลล้มละลาย


ในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว  หมายความว่า หากมีทรัพย์สินใดๆ  ก็จะถูกยึดไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ใช่หรือไม่คะ  และการเป็นบุคคลล้มละลายที่เขาว่า 3 ปีหมายถึงอะไรคะ  และ หากเกิน 3 ปีแล้ว หนี้ยังไม่สามารถชำระได้หมด  บุคคลนี้นจะมีสถานภาพเป็นอย่างไรคะ  และจะหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้ตอนไหนคะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เอ๋ :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-22 18:43:10


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1986840)

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้โดยไม่ต้องรอคำพิพากษาของศาลให้ลูกหนี้ล้มละลาย

มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

 

 

มาตรา 67 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว และยังไม่ได้สั่งปลดจากล้มละลาย

(1) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่ายจากเงินที่ลูกหนี้ได้มาในระหว่างล้มละลายและลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้น แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดพร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย

(2) ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินอย่างใดลูกหนี้จะต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ โดยแสดงรายละเอียดเท่าที่สามารถจะทำได้ภายในเวลาอันสมควร และไม่ว่าในกรณีใด ลูกหนี้จะต้องแสดงบัญชีรับจ่ายเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกระยะหกเดือน

(3) ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอนุญาตเป็นหนังสือและถ้าจะย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งตำบลที่อยู่ใหม่เป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาอันสมควร

 

 

อ่านเองก็คงเข้าใจนะครับ

 

มาตรา 81/1 ภายใต้บังคับมาตรา 81/2 บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่

(1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็นห้าปี

(2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม (3) ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนดสิบปีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้

(3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี

ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 76 มาตรา 77 และมาตรา 78 มาใช้บังคับกับการปลดจากล้มละลายตามมาตรานี้โดยอนุโลม

 

 

มาตรา 77 คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่

(1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล

(2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้

 

 

เห็นว่ากฎหมายเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วและตอบคำถามที่ถามมาได้เลยจึงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-22 21:54:11


ความคิดเห็นที่ 2 (2009375)

      3 ปีที่จะปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้ ลูกหนี้ต้องได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ว่า มาให้การสอบสวน ภายใน 7 วันนับแต่ได้รับหมายให้มาให้การสอบสวน และจะต้องไปให้การไต่สวนโดยเปิดเผยต่อศาล ภายหลังเจ้าพนักงานพิัทกษ์ทรัพย์ได้รายงานให้ศาลได้ทราบแล้ว  ศาลก็จะกำหนดให้ไปศาล ในครั้งนี้  จพท.จะรายงานไปยังศาลที่ท่านมีภูมิเนาอยู่  มิฉะนั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานศาลขอให้หยุดนับระยะเวลาไว้ ครั้งนี้ก็จะทำให้ ระยะเวลาในการปลดจากล้มละลาย จะเพิ่มขึ้น เป็น 5 ปี หรือหากภายหลังพบว่าลูกหนี้ทุจริตโดยให้การเป็นเท็จ/ปิดปิดทรัพย์สิน อาจเพิ่มเป็น 10 ปีได้

    กรณีที่ต้องการที่จะไม่ให้ตนเองต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว  ซึ่งกรณีนี้จะไม่ใช้เป็นการปลดจากล้มละลายเช่นความข้างต้น แต่จะเป็นการที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากเป็นบุคคลล้มละลายเลย ตามมาตรา ๑๓๕แห่งพรบ.ล้มละลาย ฯ ทำได้โดยลูกหนี้เข้าทำสัญญาขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ซึ่งทำได้โดยลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายหลังได้มาให้การอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน ๗ วัน หรือที่จพท.อนุญาต  โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพยจะเสนอคำขอประนอมหนี้ ต่อบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายว่าจะเห็นชอบ หรือไม่ ในวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก หรือครั้งที่เลื่อนมา  หากต่อมาบรรดาเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบด้วย จพท.ก็จะรายงานศาลให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ต่อไป

     แต่หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบแล้ว ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้นั้นจนครบถ้วน และจพท.ก็จะไม่รายงานศาลให้ลูกหนี้้ล้มละลาย แต่ต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ว่าชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ และต้องไม่เป็นการให้เปรียบเจ้านี้บางราย ระยะเวลาปลดจากการล้มละลาย ๓/๕/ หรือ ๑๐ ปีก็จะไม่นำมาใช้ แต่ลูกหนี้จะต้องมีความสามารถำระหนี้ของตนที่ขอประนอมหนี้ได้ด้วย มิฉะนั้น อาจถูกศาลให้ล้มละลายในภายหลังได้

     การเป็นบุคคลล้มละลาย บางสถาบันการเงินติดแบล็คลิสไม่ให้กู้ยืมอีก แม้ว่าคุณจะได้ปลดจากล้มละลาย ๓/๕/๑๐ ปีก็ตาม เพราะการปลดจากล้มละลายดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการเข้าชำระหนี้ของลูกหนี้เอง แต่เกิดจากผลของกฎหมายเพื่อเอื้อประโยน์ให้ลูกหนี้ที่ประกอบกิจการสามารถฟื้นตัวออกไปประกิบกิจการได้อีก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของระเทศ ทั้งนี้เป็นไปตาม ตามมาตรา ๑๓๕ (๒) ลูกหนี้ไม่สมควรเป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้แสดงความคิดเห็น มิกซ์ วันที่ตอบ 2009-11-23 19:31:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล