ReadyPlanet.com


ฐานค่าจ้างที่ใช้คำนวนจ่ายค่าชดเชยตอนเกษียณอายุ


อยากทราบฐานค่าจ้างที่ใช้คำนวนจ่ายค่าชดเชยตอนเกษียณอายุค่ะ  เนื่องจากพนักงานมีค่าจ้างเป็นเงินเดือน เดือนละ 10,000.-บาท  และมีคอมมิชชั่นที่จ่ายทุกเดือน (ไม่เท่ากัน แล้วแต่ยอดขาย) ต้องนำคอมมิชชั่นมาคำนวนเพื่อเป็นฐานจ่ายค่าชดเชยตอนเกษียณหรือไม่ค๊ะ ถ้านำมาคำนวนด้วยจะคิดอย่างไร พนักงานงานทำงานมากมากกว่า 10 ปี  ตอนนี้ใกล้เกษียณแล้วค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ nonny (boat_jj-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-17 09:59:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1985273)

รายได้ที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างที่ไม่มีจำนวนที่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงาน ไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย จึงไม่สามารถนำมาคำนวนจ่ายค่าชดเชยครับ แต่ค่าคอมมิชชั่นที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อตกลงกันแน่นอนในสัญญาจ้างถือเป็นค่าจ้างด้วยจึงต้องนำมาคำนวณเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชยด้วย ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 5394-5404/2547

มีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ 084-130-2058

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-17 18:21:39


ความคิดเห็นที่ 2 (1985382)

การจ้างที่คำนวนค่าจ้างตามจำนวนเที่ยวที่ทำเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชยด้วย ดูคำพิพากษาศาลฎีกาประกอบครับ

 

คดีทั้งสิบเอ็ดสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ว่าโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๑ ตามลำดับ

          โจทก์ทั้งสิบเอ็ดสำนวนฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างที่ขาดเป็นเงิน ๑๒,๒๔๐ บาท ๑๓,๖๘๐ บาท ๔๑,๐๘๒ บาท ๙,๒๖๔ บาท ๑๕,๐๑๕ บาท ๑๗,๖๑๕ บาท ๑๗,๖๑๕ บาท ๑๗,๘๕๖ บาท ๒๙,๐๙๕ ๑๑,๕๐๕ บาท ๑๒,๔๘๐ บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๑ และให้จำเลยจ่ายค่าจ้างนับถัดจากวันฟ้องต่อไปไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด

          จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ให้แก่โจทก์ที่ ๑ เป็นเงิน ๑,๒๒๐ บาท โจทก์ที่ ๒ เป็นเงิน ๑,๒๙๐ บาท โจทก์ที่ ๓ เป็นเงิน ๑๐,๒๒๒.๓๓ บาท โจทก์ที่ ๔ เป็นเงิน ๑,๒๗๐ บาท โจทก์ที่ ๕ เป็นเงิน ๕,๗๓๕ บาท โจทก์ที่ ๖ เป็นเงิน ๗,๓๘๐ บาท โจทก์ที่ ๗ เป็นเงิน ๓,๒๙๐ บาท โจทก์ที่ ๙ เป็นเงิน ๑๐,๒๓๒ บาท โจทก์ที่ ๑๐ เป็นเงิน ๓,๙๒๐ บาท และโจทก์ที่ ๑๑ เป็นเงิน ๒,๖๒๕ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของเงินที่ต้องจ่ายแก่โจทก์ แต่ละคนนับแต่วันฟ้อง (วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๕) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสียและให้ยกฟ้องของโจทก์ที่ ๘

          โจทก์ทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ บัญญัติความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ไว้ว่า คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตาม ผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เมื่อเงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยว จำเลยได้จ่ายให้โจทก์ทุกคนเมื่อโจทก์ทุกคนทำตามหน้าที่ของตนซึ่งจำเลยกำหนดอัตราไว้แน่นอนว่าเที่ยวหนึ่งจะจ่ายให้เท่าใด สามารถคำนวณได้ตามจำนวนเที่ยวที่ทำได้ในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานอันมีลักษณะชี้ชัดว่า จำเลยมุ่งหมายจ่ายให้โจทก์ทุกคนเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน มิใช่จงใจจ่ายไปเพื่อจูงใจให้โจทก์ขยันทำงาน ฉะนั้นเงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยวจึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามความหมายของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕

          พิพากษายืน

 

 

( สถิตย์ อรรถบลยุคล - อรพินท์ เศรษฐมานิต - ปัญญา สุทธิบดี )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายสละ เทศรำพรรณ

ศาลอุทธรณ์

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5394 - 5404/2547


http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-18 07:08:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล