ReadyPlanet.com


ขอแนะนำหน่อยครับ


 

เรื่องบ้านครับ 

ผมอยู่บ้านนี้มา17ปีครับ  แล้วยังมีโฉนดอยู่ครับ แต่ว่าโฉนดนี้เป็นของผู้อื่น แล้วเค้าว่าจะโอนให้ แต่เค้าก็หายไปเลยครับ  ผมคุยหลายครั้งแล้วว่าจะโอนให้ แต่ก็เงียบครับ   แล้วในระยะ17ปีเค้าไม่ได้มายุ้งเกี่ยวกับบ้านที่ผมอยู๋มาตั้งแต่เด็กเลยครับ

-ผมจะต้องทำอย่างไรดีครับ *****-ขอบคุณมากครับ-******



ผู้ตั้งกระทู้ วีระพงค์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-23 15:54:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1998201)

เขาให้เราอยู่ฟรีไม่คิดค่าเช่าก็เป็นประโยชน์กับเราอยู่แล้วนี่ครับ ไม่ทราบว่าคุณอยากได้อะไรมากกว่านั้นหรือครับ???

ไม่มีของฟรีในโลกครับ ทำไมเขาจึงว่าจะโอนให้ครับ ลูกหลานของเขาไม่มีเลยหรือว่าอย่างไรครับ ผมไม่มีข้อมูลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-23 22:14:19


ความคิดเห็นที่ 2 (1998515)

ขอบคุณครับ 

คือว่าย่าผมจะยกที่ดิน2ที่ครับจะให้พ่อผม1ที่แล้วให้น้าอีกที่ครับแต่ว่าพ่อผมไม่ได้เอาเอกสารมาย่าก็เลยให้น้าก่อน แล้วน้าก็บอกว่าว่างเมื่อไหร่ก็มาเอานะ  จนมาถึงวันนี้ละครับ  ผมก็เลยจะสร้างใหม่ไปดูโฉนดแล้วเป็นน้า พ่อผมต้องการโฉนดด้วยครับ ผมก็ไปหาน้า2-3รอบแล้วครับ เค้าบอกว่าจะโอนให้ เค้าก็ยังเซ็นต์มอบอำนาจให้มาแล้วด้วยครับ แล้วเค้าก็หาย  

//*** ขอบคุณมากครับ---**

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพง วันที่ตอบ 2009-10-25 10:01:55


ความคิดเห็นที่ 3 (1998530)

จากข้อมูลของคุณ ผมเข้าใจว่า ย่ามีที่ดิน 1 แปลง ต้องการยกให้น้าครึ่งหนึ่ง แล้วยกให้พ่อครึ่งหนึ่ง แต่ ย่าได้โอนที่ดินทั้งแปลงให้น้า ไปก่อน โดยน้าสัญญาว่าจะไปโอนส่วนของพ่อให้ทีหลัง แต่ยังไม่ได้โอน และตามหาน้าไม่ได้ อย่างนี้ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ แล้วส่วนของน้าปัจจุบันใครเป็นผู้ครอบครองอาศัยล่ะครับ แล้วน้าเขาทิ้งที่ดินเลยหรือว่าอย่างไร

ถ้ามีหนังสือมอบอำนาจแล้วก็น่าจะใช้หนังสือมอบอำนาจโอนไปเลยก็ได้ ลองไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ ที่ดินดู (สำนักงานที่ดิน)

หรือในกรณีที่พ่อของคุณครอบครองที่ดินดังกล่าว หรือตัวคุณเองครอบครองที่ดินดังกล่าวอย่างเป็นเจ้าของ โดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คุณก็ได้กรรมสิทธิ์แล้ว โดยการครอบครองปรปักษ์ อย่างนี้คุณมีสิทธิ์ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งว่าคุณได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว

เนื่องจากข้อมูลที่ให้มายังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ คำตอบของผมก็เลยไม่ครบถ้วนตามไปด้วย ลองเล่ามาใหม่นะครับ

 

แล้วตอนนี้ย่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-25 10:50:51


ความคิดเห็นที่ 4 (1998951)

** ขอบคุณอีกทั้งครับ  ***---  ย่าผมเสียแล้วครับ --

มีที่ดิน2แปลงครับ **แปลงที่1เป็นบ้านที่ผมอยู่และอาศัย17ปีครับ.. **แปลงที่2 ที่ดินว่างเปล่าครับ..

-คือว่าตอนที่ผมไปติดต่อทางน้าเค้าได้ทำโฉนดหายและเปลื่ยนชื่อครับ ทางผมก็ดำเนิดการทำเรื่องแจ้งให้หมดแล้วครับ แล้วตอนนี้น้าได้ใบแทนโฉนดไปแล้วครับ แล้วก็ยังติดต่อไม่ได้ครับ

** ลืมบอกไปครับว่าในใบโฉนดแต่ก่อนชื่อเป็นพระสงค์แต่ตอนนี้เค้าไม้ได้เป็นพระแล้วครับ**

-ขอถามครับ แล้วก็ถ้าเค้าเอาโฉนดไปเข้ามูลนิธิ มันจะเป็นอย่างไรครับ.  

**ขอบคุณครับ**

ผู้แสดงความคิดเห็น วีรพงศ์ วันที่ตอบ 2009-10-26 16:46:12


ความคิดเห็นที่ 5 (1998982)

คุณถามว่า ถ้าเขาเอาโฉนดไปเข้ามูลนิธิ แล้วจะเป็นอย่างไร

ถ้าคุณครอบครองมาได้ 9 ปี แล้วเอาไปโอนให้มูลนิธิ จำทำให้การครอบครองปรปักษ์ของคุณ อาจมีปัญหาต้องนับใหม่หากนับได้อีก 8 ปี เป็น 17 ปี คุณก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ครับ

แต่อย่างไรก็ตาม น่าจะหาทนายความดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งว่าที่ดินแปลงที่อยู่นี้เป็นกรรมสิทธิ์ของคุณโดยการครอบครองปรปักษ์ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-26 17:51:28


ความคิดเห็นที่ 6 (1999027)

**ขอคุณครับ**

-ถ้าเค้าเอาไปเอามูลนิธิปีไหนเราจะต้องนับปีถัดไปเป็นแรกไหม่ใช่ไหมครับ ***

-แล้วถ้าผมอยู่เกิน10ปีแล้วเค้าเอาไปเข้ามูลนิธิละครับ**

-ถ้าผมอยู่มา17ปีแล้ว แล้วจะดำเนินการฟ้องศาลไปแล้วเค้าจะมีสิทธิ์โต้แย่งหรือครับ**

**ขอบคุณพี่ทนายลีนนท์ มากครับ**

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพงศ์ วันที่ตอบ 2009-10-26 20:09:44


ความคิดเห็นที่ 7 (1999066)

ถ้าอยู่เกิน 10 ปี แล้ว บริจากที่ดินให้มูลนิธิ คุณมีสิทธิดีกว่า แต่ถ้ามูลนิธิซื้อโดยมีค่าตอบแทนที่ดิน คุณจะยกขึ้นต่อสู้ไม่ได้ครับ

ถ้าอยู่มา 17 ปี และไม่ได้ยกให้มูลนิธิ คุณมีสิทธิดีกว่า แต่จะถามว่าเขามีสิทธิโต้แย้งหรือไม่นั้น แน่นอนครับ หากเขาจะโต้แย้งเขาก็มีสิทธิอยู่แล้วเพราะชื่อในโฉนดเป็นชื่อของเขา ก็ต้องไปต่อสู้กันในชั้นศาลครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-26 21:12:04


ความคิดเห็นที่ 8 (1999305)

ขอขอบคุณครับผม

**ผมอย่าทราบว่าถ้าเรานำเรื่องขึ้นศาลแล้วเรามีสิทธิ์ชนะป่าวครับ แล้วเรื่องที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้

คุณลีนนท์เข้าใจนะครับ แล้วในความคิดเห็นของคุณลีนนท์ดำเนินการอย่างไรครับ

***ขอขอบคุณ่ครับ***

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพง วันที่ตอบ 2009-10-27 13:13:17


ความคิดเห็นที่ 9 (1999320)

เบื้องต้นคุณวีระพง ต้องไปตรวจดูสารบบที่สำนักงานที่ดินว่า ที่ดินแปลงนี้ปัจจุบันมีชื่อผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เพราะคุณอ้างเรื่องมูลนิธิ มานั้นมันเกี่ยวข้องกับที่ดินอย่างไร มีข้อมูลอะไร

หากคุณอยู่มา 17 ปี คุณก็มีสิทธิชนะคดีครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-27 13:30:38


ความคิดเห็นที่ 10 (2000021)

ขอบคุณครับ-

-แล้วที่ดินแปลงนี้ปัจจุบันมีชื่อผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คือชื่อไครหรอครับ 

- เจ้าขอโฉนดหรือว่าชื่อเจ้าของทะเบียนบ้านครับ

-บ้านหลังนี้ไม่เคยเสียภาษีเลย เราไปเสียภาษีย้อนหลังได้ป่าวครับ ผมไม่รู้ว่ามีการเสียภาษีบ้านครับ

-คือว่าเค้าเป็นประธานมูลนิธิครับ  แต่ว่าไปสอบถามทางที่ดินแล้วครับ ยังเป็นชื่อของเค้าครับ  

ขอบคุณครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น วีรพง วันที่ตอบ 2009-10-28 16:37:05


ความคิดเห็นที่ 11 (2000190)

สรุปแล้ว บ้านที่คุณอยู่ 17 ปี เป็นบ้านของน้า ใช่ไหมครับ ผมเริ่มไม่เข้าใจแล้วครับ ตอนแรกก็เข้าใจว่า ที่ดินย่าให้คุณแต่ยังไม่ได้โอน แล้วคุณก็ไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่ย่ายกให้ แต่เป็นชื่อของน้า

คุยไปคุยมา บ้านเป็นของน้า และมีชื่อเป็นเจ้าของบ้าน หากเป็นอย่างนี้คงยากครับ คุณเป็นผู้อาศัย จะอยู่ 100 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-28 17:53:20


ความคิดเห็นที่ 12 (2000605)

ผมก็เริ่มงงครับ   ** เอาเป็นว่าบ้านหลังนี้ผมอยู่มา17ปีพร้อมที่ดินนะครับ แล้วในใบทะเบียนบ้านมีชื่อผมและพ่อครับ 2คน

--แล้วชื่อโฉนดก็เป็นของเค้า..

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพง วันที่ตอบ 2009-10-29 14:42:38


ความคิดเห็นที่ 13 (2000726)

หากบ้านมีชื่อคุณและพ่อ คนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าบ้าน และเป็นเจ้าของบ้านที่ปลูกสร้างมาเอง ในที่ดินที่มีชื่อน้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็ถือว่าคุณหรือพ่อครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาที่จะเป็นเจ้าของ เมื่อครอบครองเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-29 17:15:37


ความคิดเห็นที่ 14 (2000856)

ขอบคุณมากนะครับ

แล้วถ้าผมมีปัญหาอีกจะเข้ามาถามนะคับ 

ขอบคุณมากนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วีระพง วันที่ตอบ 2009-10-30 01:30:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล